รัตนุ ยาวะประภาษ

เกิดมาเพื่อเป็นนักหนังสือพิมพ์ และตายอย่างนักหนังสือพิมพ์

เกิดมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักแปล นักกวีร้อยแก้ว แต่ตายอย่างนักหนังสือพิมพ์  รัตนะ ฉายแววเป็นนักหนังสือพิมพ์เมื่อเข้าเรียนบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างที่เรียน เป็นสาราณียกร ของสโมสรนิสิตจุฬาฯ มีหน้าที่รับผิดชอบทำหนังสือของมหาวิทยาลัย ด้วยความเป็นคนรักการทำหนังสือ ระหว่างที่เป็นนิสิตจุฬาฯ ได้ทำหนังสือพิมพ์ควบคู่การเรียนไปด้วย แต่เหมือนว่าชีวิตการเป็นนักหนังสือพิมพ์จะดึงดูดใจมากว่า จึงสลัดเครื่องแบบนิสิตออกเป็นนักหนังสือพิมพ์อย่างเต็มตัวในเวลาต่อมา

กระโจนทำหนังสือพิมพ์  เดลิเมล์  แล้วเวียนว่ายไปอยู่ตามหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ นับตั้งแต่  ภาพข่าวสยามนิกร   ดาราไทย   ชาวกรุง  สุภาพบุรุษประชามิตร  และสุดท้ายมาปักหลักทำหนังสือ หลักไท  ซึ่งเป็นหนักสื่อวิเคราะห์เจาะลึกฉบับแรก และฉบับเดียวของเมืองไทย

เขาเคยถูกจับเข้ากลุ่มนักเขียนนามอุโฆษ ในนามกลุ่มมนุษย์ 4 แบบ คือ  รงค์ วงษ์สวรรค์   อาจินต์ ปัญจพรรค์   นพพร บุณยฤทธิ์ 

เขาเป็นคนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนชาตินิยม โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทยและเลขไทย จะดูเคร่งครัดเป็นพิเศษ แม้แต่ในหนังสือ หลักไท  ก็สั่งให้มีการใช้เลขไทยทั้งหมด

ก่อนที่จะจบชีวิต คนที่หนังสือหลักไทยบอกว่า  เขาได้ตรวจต้นฉบับหนังสือหลักไทย ครบรอบ 9 ปีด้วยตัวเอง พร้อมได้กับว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น งานครบรอบ 9 ปีของหนังสือหลักไท ซึ่งจะจัดขึ้นที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ในค่ำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2534

เนื่องจากในงานจะมีการมอบรางวัล  บุคคลแห่งปี  แก่ผู้ทำคุณงามความดีให้กับสังคม ที่ได้จัดมาร่วม 10 ปี และในคอลัมน์  จดหมายจากบรรณาธิการ ของหนังสือหลักไทฉบับสุดท้าย ที่เขียนขึ้นมา  รัตนะ ยาวะประภาษ  บอกว่า   หลักไท เมื่อมาถึงสัปดาห์นี้ก็เต้มเก้าปีแล้ว และเริ่มย่างเข้าปีที่ 10 นี้ไม่นับรวม  สภาพบุรุษ-ประชามิตร  อีก 3 ปีครึ่ง อันถือเป็นงานบุกเบิกของเรา 

{xtypo_quote}เวลาร่วมสิบสามปีที่ผ่านไปมันเหมือนจักรกลที่เดินไม่หยุด ปานจะบดกระดูกของพวกเราให้ละเอียดเป็นภัสมธุลีทีเดียว เมื่อเรามายืนอยู่ในวันนี้ แม้จะเหน็ดเหนื่อย และบักโกรก แต่มองที่ดวงตาของเราสิมันมีประกายของความสุข ความสำเร็จที่ไม่มีใครเขาจะคาดคิดกันมาก่อน {/xtypo_quote}

สำหรับบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวเหมือน เขาจะล่วงรู้ว่านั้นคืองานเขียนชิ้นสุดท้ายของตัวเอง

จึงเฟ้นเลือกเขียนเรื่อง เสรีภาพของข่าวสาร  อันเป็นการแสดงจุดยืนครั้งสุดท้ายในชีวิตของการเป็นนักหนังสือพิมพ์ของตัวเองว่า  ความใฝ่ฝันของคนในวงการนี้ คือการมีเสรีภาพอย่างแท้จริงในการทำข่าวนั้นเอง 

แล้วเช้ามืด ตรงกับวันที่หนังสือพิมพ์  หลักไท  ครบรอบวันเกิด 9 ปีเต็ม เขาก็จบชีวิตลงด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ระหว่างเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเปาโล ทำให้ไม่มีโอกาสไปร่วมงานวันเกิดหนังสือที่ตัวเองปลุกปั้นมาด้วยความภาคภูมิใจ