ผาหินผู้ไม่หวั่นไหวต่ออามิสสินจ้าง
ก่อนเข้าสู่วงการเขารับราชการในสังกัดกรมช่างโยธาทหารอากาศ และได้สมัครเข้าศึกษาต่อเกี่ยวกับวิชาการหนังสือพิมพ์ ภาคค่ำ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ครบหาเพื่อนผองมากมาย และด้วยความที่ชอบอ่านหนังสือ จึงชักชวนกันเข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ เมื่ออายุ 23 ปีโดยทำหนังสือรายเดือน กะดึงทอง ก่อนย้ายไปหนังสือพิมพ์ สยามนิกร แล้วไต่เต้าเติบโตในหน้าที่การงานเรื่อยมากระทั้งรับตำแหน่งเป็นบรรณาธิการ
ระหว่างที่อยู่ สยามนิกร เขา ยังร่วมเพื่อนๆลงทุนทำหนังสือประเภทนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ในแนว นิตยสาร นิวสวีค ด้วย ใช้ชื่อหัวว่า สยามวิจารณ์รายสัปดาห์ แต่หนังสื่อวางแผงได้แค่ปีเศษก็ต้องปิดตัวเองลง
ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ สมัย แฮรี เฟรดเดอริค เป็นบรรณาธิการ หลังจากมีการเปลี่ยนตัวบรรณาธิการ เขา จึงลาออกไปลุยงานอยู่หนังสือพิมพ์ ชาวไทย รายวัน นานนับสิบปี กระทั้งหนังสือพิมพ์ได้ปิดตัวลง จึงย้ายกลับไปทำหนังสือในเครือของบางกอกโพสต์ ชื่อ สปอร์ตเวิลด์
ปี 2521 เขา เป็นคอลัมนิสต์วิพากษ์วิจารณ์การเมืองให้กับหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ และภายหลังยกสต๊าฟออกครั้งใหญ่ในปีถัดไป เขาก็เกษียณตัวเองจากงานประจำ แล้วหันไปรับหน้าที่รวบรวมบทวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์รายวันและสัปดาห์ แล้วแปลงลงคอลัมน์ In Print ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เรื่อยมา กระทั้งปลายปี 2535 จึงยุติ
ประสบการณ์อันยาวนานในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ ทำให้ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาการหนังสือพิมพ์ ตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี เขาได้ร่วมประชุม และให้ความเห็นมิได้ขาด แถมยังได้ร่วมเขียนคำอธิบายศัพท์บางส่วนด้วย จนช่วยให้งานบัญญัติศัพท์สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
กระทั้งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดและสมองในวัย 66 ปี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 ระหว่างงานสวดพระอภิธรรมศพ ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้มีการตั้งกองทุนส่งเสริมจรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ โชติ ที่ตลอดชีวิต ได้ให้ความสำคัญชื่อตรงต่อวิชาชีพหนังสือพิมพ์อย่างเคร่งครัด และเคยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการจรรยาบรรณของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยหลายสมัย แล้วมอบกองทุนดังกล่าวให้สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหาร และดำเนินการ เพื่อใช้สนับสนุนกิจกรรามที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ที่มีความเที่ยงธรรม มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับความเย้ายวนของผลประโยชน์ต่างๆ
สาทิส อินทรกำแหง สาธยายว่า เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ยึดมั่นอุดมการณ์ ยากที่จะหาได้ง่ายๆ สมัยที่นักหนังสือพิมพ์ซื้อตัวกันง่ายๆ เขายืนหยัดในความถูกต้อง และยืนยันในความถูกต้องว่า เป็นนักหนังสือพิมพ์แล้วจะไม่ข้องแวะกับอาชีพอื่น หรือละเมอเพ้อพกไปกับอามิสสินจ้างใดๆ สมบูรณ์ วรพงษ์ พูดถึงความเป็นแม่แบบของนักหนังสือพิมพ์ของ โชติ
{xtypo_quote} เป็นคนขวานผ่าซากทำให้เชื่อในหลักการของหนังสือพิมพ์ว่า หนังสือพิมพ์ที่ดีไม่ต้องพาดหัวให้ตื่นเต้น สมัยนั้นหนังสือพิมพ์เมืองไทยพาดหัวกันตื่นเต้นมีอะไรเหลือเกิน บ่อยครั้งทีเดียวที่พาดหัวเหล่านั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเนื้อข่าวเลย พาดหัวให้มันตื่นเต้น เพื่อหลอกให้คนซื้อ ความคิดที่ทวนกระแสที่ต้องต่อสู้กับอุปสรรค์ต่างๆอย่างยากเย็นแสนเข็ญ เพื่อที่จะชักนำให้ประชาชนคนไทยได้เดินทางไปตามแนวทางที่ถูกต้อง และเพื่อยกระดับและคุณธรรมของหนังสือพิมพ์ให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด {/xtypo_quote} {xtypo_quote} ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไร เขาก็อยู่อย่างนั้นไม่เคยเปลี่ยน มีความเห็นอย่างไรก็เชื่ออยู่อย่างนั้น ในขณะที่เพื่อนฝูงในวงการหนังสือพิมพ์เปลี่ยนไปมากมายเสียยิ่งกว่าจิ้งจกเปลี่ยนสี แต่เขาไม่เคยเปลี่ยน {/xtypo_quote}