ทวีป วรดิลก

อาชีพหนังสือพิมพ์ทำงานเพื่อคนอื่น

ในวัยแค่ 21 ขวบ ทวีป  รับหน้าที่บรรณาธิกรของวารสารธรรมจักรของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาได้เป็นบรรณาธิการแผนกวรรณคดีของอักษรสาส์นแทน อัศนี พลจันทร์  หรือ  นายผี  ช่วงนี้เองที่บทกวีของเขาได้มีส่วนโน้มนำให้คนคิดถึง อุดมคติ ในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม พูดถึงความรักความเมตตาปรานีต่อกัน อันเป็นสะพานทอดไปสู่สันติสุขในโลก จนเกือบทำให้เขาถูกจับข้อหากบฏ ที่เรียกว่า  กบฏสันติภาพ  ในปี 2495

เขาเข้าสู่วงการนักหนังสือพิมพ์เต็มตัว ทั้งที่หนังสือพิมพ์ไทย สยามนิกร สุภาพบุรุษ-ประชามิตร และเสียงอ่างทอง จนเมื่อมีการกวาดจับนักคิด นักเขียน และนักการเมืองในช่วงต้นทศวรรษ 2500  ทวีป ถูกจับข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ในปี 2503 หลังได้รับการปลดปล่อย  ทวีป หันมาประกอบวิชาชีพทนายความ

เป็นคนที่ผ่านหนังสือพิมพ์มาโชก มองปัญหาเสรีภาพในการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ได้อย่างแหลมคมว่า  ขึ้นอยู่กับว่าเรามองเสรีภาพนี้อย่างไร เพราะเสรีภาพ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบ เราเรียกร้องเสรีภาพอย่างเดียวมันไม่พอ เราต้องมีความรับผิดชอบในการใช้เสรีภาพด้วย 

ขายังได้ผ่านการทำหนังสือพิมพ์มาหลายฉบับในยุคที่เผด็จการครองเมือง คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มีภาพความรู้สึกในยุคนั้นว่า เผด็จการแต่ละยุคมันคนละอย่างกัน นักหนังสือพิมพ์ต้องอดทนมาก และยังตั้งนิยมเผด็จการทั่วโลกมีลักษณะสากล คือ คอรัปชั่น บ้ากาม และฆ่าคน

 สัมผัส พึ่งประดิษฐ์  ทนายความนักต่อสู้ ในฐานะศิษย์เก่าเตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง (ต.ม.ธ.ก.) รุ่น 7 ที่เคยร่วมกับ  ทวีป ออกหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย กล่าวย้อนรำลึกถึงคุณูปการ ในงาน  โดมในดวงใจของทวีปวร 

{xtypo_quote}นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจ 8 พ.ย. 2490-5พ.ย. 2495 เป็นเวลา 5ปีเต็มๆ มรสุมของอำนาจคณะรัฐประหารที่ซัดกระหน่ำใส่โดม ลูกแม่โดม แทบตั้งตัวไม่ติดหลายระลอก จนมีการออกหนังสือพิมพ์  ธรรมจักรรายปักษ์  เพื่อหนุ่นการต่อสู้ของบวนการนักศึกษา โดย  ทวีป มีส่วนสำคัญในการออกหนังสือพิมพ์ฉบับนี้{/xtypo_quote}

 พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร  นักหนังสือพิมพ์ และศิษย์เก่าวารสารศาสตร์ ต.ม.ธ.ก.รุ่น 2504 กล่าวว่า  รู้จักงานของเขาจากการเป็นนักข่าวละอ่อนเดินตามด้วยความภาคภูมิใจว่า อาชีพนักหนังสือพิมพ์เป็นอาชีพที่มีเกียรติ นับเป็นความโชคดีที่ได้เข้ามาทำงานในหนังสือพิมพ์ ที่พวกพี่ๆต่อสู้ แล้วถูกจับกุม  

ผมซึมซับการทำงานและการต่อสู้จากเขา ที่เปรียบได้กับสัญญาลักษณ์  การต่อสู้   นักคิด   นักเขียน  ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อคนอื่น โดยรากฐานมาจากนักหนังสือพิมพ์ เขาพูดเสมอว่านักหนังสือพิมพ์มีงานในอาชีพอยู่อย่างเดียว คือ  ทำงานเพื่อคนอื่น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง  ทั้งยังเป็นตัวอย่างให้กับผมในการทำงานต่อสู้ ตั้งแต่ในการออกหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย การเขียนใบปลิว เพื่อการต่อสู้

สิ่งที่เขาทำคือความมั่นคงในงานของการต่อสู้ การยึดมั่นในการเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ดี มีประโยคที่เป็นอมตะว่า สั่นแต่มั่นคง เพราะท่านดื่มเหล้ามากจนกระทั้งมือสั่น เขาเป็นคนมั่นคงในทุกเรื่อง ตั้งแต่การทำงานต่อสู้ รวมถึงจิตวิญญาณ  เชื่อว่าวิญญาณ สัญลักษณ์ ความมั่นคงในความเป็นนักหนังสือพิมพ์ของทวีปจะยังคงจำหลักอยู่ตลอดต่อไป 

จวบจนอายุ 77 ปี วันที่ 8 เมษายน 2548 เขาถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว และทิ้งมรดกนักหนังสือพิมพ์ต้องทำงานเพื่อคนอื่นไว้ให้แก่พวกเราเป็นกรอบในการทำงานต่อไป