รายงาน กลุ่มที่ 4 เรื่อง เคเบิลทีวี… สื่อทางเลือกใหม่ของสังคม

คณะผู้จัดทำ กลุ่ม 4 หลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)
1. นางสาวอุไรวรรณ  พิศเพ็ง  หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
2. นางสาวพัชรินทร์  อิ่มพิทักษ์  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
3. นายอภิชาติ  ช้างงาแก้ว  หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น
4. นางสาวกาญจน์สุดา  เอื้ออารีวรกุล  เคเบิล (ฟากฟ้า) จำกัด
5. นายประกิจ อาษา   มหาวิทยาลัยสยาม
6. นายธวัช  จตุรภัทรไพบูลย์   สำนักงานศาลยุติธรรม
7. นางสาวธนัท  สุวรรณกิตติ  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
8. นางาสาววิริยา  จรุงเจริญโรจน์  บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
9. นางสาวยอดขวัญ รุจนกนกนาฎ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

(ดาวโหลดเนื้อหาทั้งหมด)

/////////////////////////////////////////////////////

เคเบิลทีวี... สื่อทางเลือกใหม่ของสังคม
คำนำ


ในปัจจุบันกิจการให้บริการโทรทัศน์ สามารถแยกประเภทได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กิจการโทรทัศน์สาธารณะ หรือที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่เรียกกันว่า ฟรีทีวี (FreeTV) กับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสามชิก หรือที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่เรียกกันว่า เคเบิลทีวี (Cable TV)

มีปัจจัยสำคัญหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตัดสินใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกเคเบิลทีวี เช่น ความต้องการที่จะได้รับชมการถ่ายทอดสดรายการสำคัญประเภทต่างๆ จากต่างประเทศ ความต้องการจะได้รับฟังเสียงภาษาต่างชาติในรายการจากต่างประเทศโดยมีคำบรรยายเป็นภาษาไทยบริเวณ

ด้านล่างของจอโทรทัศน์  หรือการที่ผู้รับชมไม่ต้องการที่จะรับชมโฆษณาใดๆ ในระหว่างช่วงเวลาคั่นรายการ ดังเช่น โทรทัศน์สาธารณะหรือฟรีทีวีต้องมี เป็นต้น ในอดีตมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่ใช้ในการควบคุม กำกับ และดูแลกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก หรือเคเบิลทีวี ไม่อนุญาตให้เคเบิลทีวีทำการแพร่ภาพโฆษณา หรือบริการธุรกิจ อันเนื่องมาจากมีแนวคิดที่ว่า เคเบิลทีวีมีรายได้หลักมาจากการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแล้ว จึงมิควรมีรายได้จากการทำการโฆษณาหรือ บริการธุรกิจอื่นใดอีก

อีกทั้งหากอนุญาตให้แพร่ภาพโฆษณาทางเคเบิลทีวีได้ นอกจากจะเกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นสมาชิกผู้รับชมแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการธุรกิจสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากฟรีทีวีไม่อาจเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการใดๆ จากผู้รับชมได้

ดังนั้น จากมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติไว้ดังกล่าวจึงเกิดประเด็นปัญหาตามมาหลายประการเช่น กฎหมายดังกล่าวขัดกับหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการประกอบธุรกิจของ เอกชนหรือไม่ หรือจะเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้บริโภค ซึ่งเป็นสมาชิกเคเบิลทีวี เป็นต้น

นอกจากนั้น จากการศึกษาและวิจัยในครั้งนี้ก็ยังพบว่า กฎหมายฉบับปัจจุบันทีใช้ในการควบคุมกำกับ และดูแล ธุรกิจเคเบิลทีวีในประเทศไทย ยังมีปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนหรือครอบคลุมเพียงพอต่อความเจริญก้าวหน้าในยุคสมัยนี้

ดังนั้น ในขณะนี้รัฐบาลจึงมีความพยายามในการพิจารณาเพื่อแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการควบคุม กำกับและดูแล ธุรกิจเคเบิลทีวี ซึ่งการพิจารณาเพื่อแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายก็ได้ผ่านการพิจารณากันมาแล้วหลายครั้ง และพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวบทกฎหมาย โดยการอนุญาตให้

เคเบิลทีวี ดำเนินการหารายได้โดยการทำการโฆษณาได้ เพียงแต่จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุม กำกับ และดูแลให้เหมาะสมและมีความเป็นธรรมที่สุดกับทุกฝ่าย

ดังนั้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้ จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงมาตราการทางกฎหมายและหน่วยงานที่ใช้ในการควบคุม กำกับและดูแล การประกอบธุรกิจเคเบิลทีวีในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยอยู่ภายใต้กระบวนการของการทำงานที่ให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งการไม่เอาเปรียบผู้บริโภคด้วย