รูปแบบการสื่อสารด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
โดย
นางสาวเทียมใจ ทองเมือง
งานเอกสารวิชาการส่วนบุคคลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอบรม
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ ๑
สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๒
(สามารถโหลด ไฟล์ต้นฉบับงานวิจัยได้ที่นี้)
///////////////////////////////
เรื่อง : รูปแบบการสื่อสารด้านสิทธิเสรีภาพสื่อ
ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ผู้ศึกษา : นางสาวเทียมใจ ทองเมือง
กรรมการที่ปรึกษา : รศ. มาลี บุญศิริพันธ์
ปี :๒๕๕๒
บทคัดย่อ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่ก่อตั้งโดยการรวมกันของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๔๙๘-พ.ศ. ๒๕๔๓) และสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๔๐๘-พ.ศ. ๒๕๔๓) โดยภารกิจหลักของสมาคมฯคือภารกิจทางด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อ โดยในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อของสมาคมฯ นั้น ได้มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งค่อนข้างหลากหลาย จึงเห็นสมควรที่จะศึกษารูปแบบการสื่อสารด้านสิทธิเสรีภาพสื่อของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่ามีรูปแบบใดบ้าง แต่ละรูปแบบใช้ในสถานการณ์ใด
ผู้ศึกษาได้กำหนดวัตถุประสงค์ ไว้ ๓ ข้อคือ ๑. เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมการสื่อสารด้านสิทธิเสรีภาพสื่อของสมาคมฯ ว่ามีกี่รูปแบบและแต่ละรูปแบบดำเนินการอย่างไร ๒. เพื่อศึกษาว่าสมาคมฯใช้รูปแบบกิจกรรมการสื่อสารรูปแบบใดมากที่สุด และ๓. เพื่อเปรียบเทียบว่ารูปแบบกิจกรรมการสื่อสารรูปแบบใดที่สอดคล้องเหมาะสมกับในการสื่อสารด้านสิทธิเสรีภาพสื่อ
ผูศึกษาใชวิธีการประมวลและวิเคราะหเอกสาร จากหนังสือวันนักข่าว ซึ่งเป็นหนังสือรายงานผลการดำเนินงานของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, เอกสารแถลงการณ์และจดหมายเปิดผนึกต่างๆ รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวของ (Content Analysis of Written Material) โดยใชวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)
ผู้ศึกษาพบว่า สมาคมฯ ใช้รูปแบบการสื่อสารด้านสิทธิเสรีภาพอย่างหลากหลายถึง ๑๕ รูปแบบ โดยหากพิจารณาจากความถี่ในการจัดกิจกรรมพบว่ากิจกรรมการสื่อสารที่ใช้ศักยภาพของบุคคลากรในวงการสื่อมวลชนโดยตรงนั้น เป็นกิจกรรมที่อาจกล่าวได้ว่ามีความสอดคล้องกับความเป็นองค์กรวิชาชีพสื่ออย่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เช่น กิจกรรมการออกแถลงการณ์, จดหมายเปิดผนึก, การจัดทำบทบรรณาธิการร่วม,การจัดรายการวิทยุ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะในการจับประเด็น สรุปประเด็น ทักษะการเขียน และทักษะการรายงาน นับเป็นข้อได้เปรียบในฐานะที่เป็นองค์กรสื่อซึ่งมีทั้งบุคคลากรที่มีศักยภาพในการสื่อสารและมีทั้งช่องทางในการสื่อสารให้ใช้เป็นจำนวนมาก
ผู้ศึกษาได้เสนอแนะให้สมาคมฯมีการจัดทำโครงการติดตามและประเมินผลกิจกรรมด้านการสื่อสารที่ผ่านมา เพื่อประเมินผลว่ากิจกรรมที่ดำเนินการไปนั้น บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง และเพื่อติดตามความคืบหน้าของข้อเรียกร้องต่างๆ