กลุ่มคนเสื้อแดง:ในสงครามแย่งพื้นที่สื่อ-นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร

กลุ่มคนเสื้อแดง:ในสงครามแย่งพื้นที่สื่อ

โดย นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร

งานเอกสารวิชาการส่วนบุคคลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอบรม
หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 1
สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2552

(ดาวน์โหลดไฟล์ ฉบับได้ที่นี้)

///////////////////////////////////

เรื่อง : กลุ่มคนเสื้อแดง:ในสงครามแย่งพื้นที่สื่อ
ผู้ศึกษา :    นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร
กรรมการที่ปรึกษา :    ดร.กนกกาญจน์ อนุแก่นทราย
ปี : 2552

บทคัดย่อ

สื่อมวลชน เป็นกลไกหนึ่งของโครงสร้างส่วนบทของสังคม ที่ทำหน้าที่ในกระบวนการตอกย้ำทางความคิด หรืออาวุธทางปัญญาที่สามารถผลักดัน”ทิศทางทางสังคม”ตามที่ต้องการของฝ่ายได้แน่นอนว่าฝ่ายหรือกลุ่มใดจะประสบความสำเร็จในสงครามแย่งพื้นที่ทางความคิดได้นั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนตอกย้ำผ่านวาทกรรมและการปฏิบัติ ที่สามารถทำให้สังคม”เห็นด้วย”ได้มากน้อยแค่ไหน

ผู้เขียนจึงมีความสนใจอย่างมากว่าในการชุมนุมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเสื้อแดง ช่วง เดือนเมษายน 2552 นั้นสามารถแย่งพื้นที่สื่อมวลชนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะจะเป็นการสะท้อนได้ว่า อุดมการณ์ที่พยายาม ส่งผ่านถึงสังคมนั้นได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน

ในการศึกษานั้นได้ผู้เขียนศึกษาหนังสือพิมพ์มติชน ตั้งแต่ฉบับวันที่ 8 เมษายน ถึง15 เมษายน 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มคนเสื้อแดง มีการเคลื่อนไหวเด่นชัดที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามศึกษาว่า วาทกรรมที่ฝ่ายกลุ่มคนเสื้อแดงและรัฐบาลนั้น มีอะไรบ้าง

จากการศึกษาพบว่ากลุ่มคนเสื้อแดง ได้ใช้แนวทางความรุนแรงในการเคลื่อนไหว,การบุกเพื่อล้มการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียน อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวสามารถแย่งพื้นที่สื่อได้พอสมควร อีกทั้งวาทกรรม”อำมาตยาธิปไตย”และ”สองมาตรฐาน” สามารถบรรจุในเชื่อของประชาชนได้ไประดับหนึ่ง สะท้อนผ่านมุมมองของนักวิชาการชั้นนำ ที่ออกมาเห็นสอดคล้องในประเด็นดังกล่าว

ขณะเดียวกันการศึกษายังพบว่าการใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว รวมทั้งข้อสงสัยว่าการเคลื่อนไหว เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงนั้น ได้ส่งผลด้านลบต่อกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างมาก ซึ่งเป็นอีกเหตุ ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการเคลื่อนไหวดังกล่าว

ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าในสถานการณ์แข่งขันข่าวสารที่รวดเร็วและรุนแรง รวมทั้งวาทกรรมมากมาย เช่นปัจจุบันนั้น สื่อมวลชน ต้องตั้งคำถามในเชิงวิพากษ์ให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อไม่ให้ตกเป็น”เครื่องมือ”หรือ กลไก ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะเดียวกันแนวทางการส่งเสริมการเคลื่อนไหวแบบสันติวิธี ของภาคประชาชน เพื่อ เพื่อทำสงครามทางความคิดโดยไม่เกิดความรุนแรงนั้น น่าจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาความรุนแรงในระยะยาว