ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวผ่านระบบเอสเอ็มเอส (SMS) ของสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นในส่วนภูมิภาค-นายสันติ กิติพิมล

เรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวผ่านระบบเอสเอ็มเอส  (SMS) ของสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นในส่วนภูมิภาค
ผู้ศึกษา :    นายสันติ  กิติพิมล
กรรมการที่ปรึกษา :      ดร.สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล
ปี  :  2552        

บทคัดย่อ


ปัจจุบันการรับข่าวผ่านทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเอสเอ็มเอส    เป็นที่นิยมแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันคาดว่ามีผู้รับข่าวผ่านระบบนี้น่าจะมีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านราย  โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้บริการในกรุงเทพฯและปริมณฑลและตามหัวเมืองใหญ่     ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าการขยายให้การบริการสู่ภูมิภาคจะเป็นการสร้างการรับรู้ข่าวสารให้ครอบคลุมทุกพื้นที่     ซึ่งจะทำให้เกิดการเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข่าวสาร

ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวจากสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นผ่านระบบเอสเอ็มเอส  ลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการเปิดรับกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าว    โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุดในการสอบถามผู้ใช้บริการข่าวผ่านระบบเอสเอ็มเอสของสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นที่มีภูมิลำเนาในส่วนภูมิภาค จำนวน 161,000 คน ที่ใช้บริการข่าวตั้งแต่1 เดือนขึ้นไป

ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน   ส่วนที่หนึ่งลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ด้านอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี  ส่วนการศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับปริญญาตรี การประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน/ ห้างร้านของเอกชนเป็นส่วนใหญ่        และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท

ส่วนที่2 ปัจจัยในการเปิดรับข่าวด่วน  ปัจจัยส่วนบุคคลคือต้องการรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน,เป็นวิธีที่สะดวกในการรับรู้ข่าวสารและทดแทนการเปิดรับข่าวสารจากสื่อประเภทอื่น  ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่       บริการที่มีผู้นิยมใช้ จึงใช้ตามด้วยและต้องการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัว และสุดท้ายปัจจัยด้านการตลาดคือ     สามารถรับข่าวสารได้รวดเร็ว,ข่าวมีความสดและเนื้อหาข่าวมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ

ส่วนที่3 พฤติกรรมการเปิดรับข่าวพบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามเปิดรับข่าวคิดค่าเฉลี่ย7 ครั้งต่อวัน

ส่วนที่4 ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอแนะคือ ควรระวังความผิดพลาดในการพิมพ์ข้อความต้องการให้ลดจำนวนข่าวอาชญากรรมลงและลดตัวย่อเพราะไม่เข้าใจความหมาย,ขอให้ส่งข่าวเฉพาะกลางวันและเป็นข่าวที่มีความจำเป็นเท่านั้นและอยากมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่Call centerได้ง่ายและสะดวก

ส่วนที่5 การทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้รับข่าวที่มีเพศและอายุแตกต่างกัน จะมีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีอาชีพต่างกัน จะมีปัจจัยด้านสังคมแตกต่างกัน และผู้ที่ที่มีอาชีพและรายได้แตกต่างกันก็จะมีปัจจัยด้านการตลาดแตกต่างกัน

สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับ  ผู้วิจัยหวังว่าสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นจะได้ทราบถึงลักษณะประชากรศาสตร์ ความสัมพันธ์ในปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการรับข่าว เพื่อนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการ ที่สำคัญสื่อมวล ชนอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการให้บริการข่าวผ่านระบบเอสเอ็มเอส เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารเต็มรูปแบบ


(ดาวโหลดไฟล์ต้นฉบับได้ที่นี้)