ประกาศสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เรื่อง การประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี
หนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ ข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติดีเด่น
ข่าวสิ่งแวดล้อมดีเด่น และรางวัลสารคดีเชิงข่าวดีเด่น
ในสถาบันอุดมศึกษาของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๓
หลักการและเหตุผล
ในสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดสอนวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์อย่างกว้างขวาง โดยมีสถาบันการศึกษาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดได้พยายามจัดหลักสูตรการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการทำหนังสือพิมพ์ในสถาบันการศึกษาของตัวเอง และเพื่อฝึกฝนให้นิสิตนักศึกษามีความรู้ความชำนาญในงานวิชาชีพหนังสือพิมพ์ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เห็นว่าการส่งเสริมให้มีการจัดทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา จะเป็นเครื่องมือและกระบวนการในการช่วยให้นักศึกษาเข้าใจบทบาทและภาระกิจที่แท้จริงของนักหนังสือพิมพ์มากขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีการประกวดรางวัล “พิราบน้อย” (เริ่มปีที่ พ.ศ. ๒๕๓๖) ควบคู่ไปกับการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ”นักข่าวพิราบน้อย”
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของนิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
๒. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา กับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๓. เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนโครงการฯ
ประเภทรางวัล
๑. รางวัลหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติในสถาบันอุดมศึกษา “รางวัลพิราบน้อย”
๑.๑ รางวัลดีเด่น-โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท ๑ รางวัล
๑.๒ รางวัลชมเชย-โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท ๒ รางวัล
๒. รางวัลข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติในสถาบันอุดมศึกษา “รางวัลพิราบน้อย”
๒.๑ รางวัลดีเด่น-โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท ๑ รางวัล
๒.๒ รางวัลชมเชย-โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๗,๕๐๐ บาท ๒ รางวัล
๓. รางวัลข่าวสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา “รางวัลพิราบน้อย”
๓.๑ รางวัลดีเด่น-โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท ๑ รางวัล
๔. รางวัลสารคดีเชิงข่าวดีเด่น “รางวัลริต้า ปาติยะเสวี”
๔.๑ รางวัลดีเด่น-โล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท ๑ รางวัล
///////////////////////////////////////////////////
ประกาศสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เรื่อง การประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี
หนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ ข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติดีเด่น
ข่าวสิ่งแวดล้อมดีเด่น และรางวัลสารคดีเชิงข่าวดีเด่น
ในสถาบันอุดมศึกษาของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๓
หลักเกณฑ์การพิจารณา
๑.หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ
๑.๑ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Aims & Objectives)
(๑) โอกาสในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษา
(๒) ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา
๑.๒ เนื้อหาสาระ (Theme & Contents)
(๑) การนำเสนอเนื้อหาของข่าว , บทความ , รายงาน
(๒) ความหลากหลายของสาระ และภาพรวม
(๓) การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ความถูกต้อง เหมาะสม
(๔) การจัดวางเนื้อหา และหลักการบรรณาธิกรณ์
๑.๓ แนวคิดรูปเล่ม (Lay-out & Illustration Concept)
(๑) แนวคิดหลัก (Concept)
(๒) เอกลักษณ์ (Identity)
(๓) รูปเล่มเพื่อการสื่อสาร (Lay-out for Communication)
๑.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณ (Moral & Code of Ethics)
(๑) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
(๒) ความพร้อมในการเข้าสู่วิช่าชีพ
๑.๕ พัฒนาการ (Development)
(๑) การนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้
(๒) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ
๒.๑ คุณภาพ (Quality)
(๑) ความถูกต้องและความเป็นจริง
(๒) ความสมดุล
(๓) ความเป็นปัจจุบัน
(๔) ความสมบูรณ์ (๕Ws ๑H)
(๕) ความถูกต้องและเหมาะสมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
๒.๒ คุณค่า (Value)
(๑) เรื่องใกล้ตัว
(๒) ผลกระทบเชิงมูลค่า หรือเชิงสังคม
(๓) เรื่องที่ผิดไปจากปกติวิสัย
๒.๓ ผลงาน (Performance)
(๑) ศักยภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์
(๒) หรือได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับหนึ่ง
๒.๔ จรรยาบรรณ (Code of Ethics)
(๑) สำนึกในจริยธรรม
(๒) สะท้อนความรับผิดชอบในการนำเสนอ
๓. ข่าวสิ่งแวดล้อม
๓.๑ แนวทางการพิจารณาเช่นเดียวกับข่าวฝึกปฏิบัติ
๓.๒ พิจารณาผลกระทบในการนำเสนอด้านสิ่งแวดล้อม
๔. สารคดีเชิงข่าวดีเด่น
๔.๑ พิจารณาจากรูปแบบการนำเสนอในลักษณะสารคดีเชิงข่าว
๔.๒ พิจารณาเนื้อหาและประเด็นในการนำเสนอเช่นเดียวกับข่าวฝึกปฏิบัติ
การส่งผลงาน เข้าประกวด
๑. จักต้องเป็นหนังสือพิมพ์หรือข่าวในหนังสือพิมพ์ในสถาบันอุดมศึกษาที่จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษา ในหลักสูตรวิชาการหนังสือพิมพ์ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ฉบับสุดท้ายไม่เกินวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
๒. หนังสือพิมพ์ ส่งได้ไม่เกินสถาบันละ ๑ ฉบับ ส่งฉบับละ ๑๐ สำเนา
๓. ข่าวแต่ละประเภท ส่งได้ไม่เกินสถาบันละ ๓ ข่าว ส่งข่าวละ ๑๐ สำเนา
๔. กรณีส่งข่าวเดียวกันเข้าประกวดทั้ง ๒ ประเภทข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติในสถาบันอุดมศึกษา หรือรางวัลข่าวสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ส่งจะต้องทำแฟ้มสำเนาแยกต่างหาก
๕. ส่งผลงานมายัง สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๕๓๘/๑ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๖๖๘-๙๔๒๒ ภายในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
การตัดสิน
คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากวงการหนังสือพิมพ์และนักวิชาการในวงวิชาการหนังสือพิมพ์ ๙ คน
การประกาศผล
การประกาศผลการตัดสิน และการมอบรางวัล จะมีขึ้นในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ อันเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
รายชื่อคณะกรรมการตัดสินรางวัล
“พิราบน้อย” ประจำปี ๒๕๕๓
ของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินรางวัล “พิราบน้อย” ประจำปี
๒๕๕๓ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดังนี้
๑. นายวิษณุพงศ์ หิญชีระนันท์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวฯ ประธาน
๒. ผู้แทน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรรมการ
๓. นายภัทระ คำพิทักษ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กรรมการ
๔. นายปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ กรรมการ
๕. นางสาวกุลธิดา สามะพุทธิ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กรรมการ
๖. นายธาม เชื้อสถาปนศิริ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม กรรมการ
๗. นางสาวน.รินี เรืองหนู รองเลขาธิการ ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวฯ กรรมการและเลขานุการ
ผลการประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาตยะเสวี
“หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา” ประจำปี ๒๕๕๓
ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ ข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ และข่าวสิ่งแวดล้อมดีเด่น ในสถาบันอุดมศึกษารางวัล “พิราบน้อย” และประกวดสารคดีเชิงข่าว “รางวัลริต้า ปาติยเสวี” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของนิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยจะมีการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล “พิราบน้อย” และรางวัล “ริต้า ปาติยสวี” เป็นประจำทุกปี การตัดสินรางวัลพิราบน้อยประจำปี ๒๕๕๓ ปรากฎผล ดังนี้
รางวัลพิราบน้อย ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดประกวดและเงินรางวัลโดย บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปีนี้มีผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่งเข้าประกวดจำนวน ๑๕ฉบับ จาก ๑๔ มหาวิทยาลัย (๑๕ คณะ) ไม่มีผลงานหนังสือพิมพ์ใดได้รับรางวัลดีเด่น มีผลงานหนังสือพิมพ์ที่ได้รับรางวัลชมเชย ๓ รางวัลได้แก่ หนังสือพิมพ์อ่างแก้ว ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หนังสือพิมพ์หอข่าว ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และหนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลพิราบน้อยประเภทข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ในปีนี้มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๒๖ ข่าว จาก ๑๑ มหาวิทยาลัย ผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่นได้แก่ ข่าวโวย มรภ.สารคามรุกป่าหนองโน วุฒิฯจี้คืนชาวบ้าน โดยหนังสือพิมพ์สื่อมวลชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับรางวัลเงินสด ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก ๒ รางวัล ได้แก่ ข่าวหอพักเถื่อนรอบมหาวิทยาลัยบูรพา โดยหนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว จากมหาวิทยาลัยบูรพา และ ข่าวผลกระทบและการต่อต้านการจัดตั้งนิคมเหล็กฯ จ.จันทบุรี โดยหนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว จากมหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ ๗,๕๐๐ บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลริต้า ปาติยะเสวี ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นรางวัลที่จัดประกวดเพื่อรำลึกถึงนางสาวริต้า ปาติยะเสวี อดีตนักหนังสือพิมพ์ผู้ล่วงลับ มอบให้สำหรับสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา ในปีนี้มีผลงานสารคดีเชิงข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๒๕ ชิ้น จาก ๑๒ มหาวิทยาลัย ผลงานสารคดีเชิงข่าวที่ได้รับรางวัลได้แก่ สารคดีเชิงข่าว “พืชเศรษฐกิจความมั่นคงทางอาหาร” โดย หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับรางวัลเงินสด ๕,๐๐๐ บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และในปีนี้คณะกรรมการตัดสินรางวัลได้มอบรางวัลชมเชยให้กับสารคดีเชิงข่าวอีก ๒ รางวัล คือ สารคดีเชิงข่าว “คนไทยใจเกาหลี ฤาจะเป็นหมาลายเสือ” โดย หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และ สารคดีเชิงข่าว “เมื่อสนามเด็กเล่น..เป็นสนามม้า” โดยหนังสือพิมพ์สื่อมวลชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ
รางวัลข่าวสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๒๓ ข่าว จาก ๑๑ มหาวิทยาลัย ผลงานข่าวสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ ข่าวผลกระทบและการต่อต้าน การจัดตั้งนิคมเหล็กฯ จ.จันทบุรี หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว จากมหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับรางวัลเงินสด ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
ผลการตัดสินรางวัลหนังสือพิมพ์ และข่าวฝึกปฏิบัติ ประจำปี ๒๕๕๓
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ และข่าวปฏิบัติ ถือเป็นปฐมบทแห่งวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ ผู้ศึกษาในศาสตร์ด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน พึงต้องรวบรวมองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เรียน ประกอบการใช้จรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อให้การสร้างผลงานข่าวเป็นที่ประจักษ์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ
ผลการตัดสินประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติดีเด่น
รางวัลประเภทหนังสือพิมพ์ ในปี ๒๕๕๓ คณะกรรมการมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า ผลงานหนังสือพิมพ์ที่ส่งเข้าประกวด ยังไม่มีฉบับใด สร้างความโดดเด่นและแตกต่างได้อย่างชัดเจน หลายกรณี มีความพยายามในการกำหนดตัวเองให้เป็นเหมือนกับหนังสือพิมพ์บางฉบับที่มีการ ตีพิมพ์จำหน่ายจริง โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างความสมบูรณ์แบบทั้งในแง่ของเนื้อหาและการออกแบบ หน้าหนังสือพิมพ์ที่ยังไม่สร้างจุดเด่นของตัวเอง จึงไม่มีการมอบรางวัล “ดีเด่น” ให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับใด
นอกจากนี้ จากในสถานการณ์ที่สื่อมวลชน ได้เข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี การโถมเข้าใส่ของสื่อดิจิตอล การเข้ามาของ ๓ จี ทำให้สื่อมวลชนทุกแขนงต้องมีการปรับตัว เพื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ดังนั้น การยึดโยงกับภาพลักษณ์เดิมๆ แนวคิดการทำงานในรูปแบบเดิมที่ยังคงอยู่ อาจต้องถึงเวลาก้าวข้ามผ่านในจุดนี้ไป หนังสือพิมพ์ฝึกหัดในปีนี้ อาจจะยังมองข้ามในส่วนเหล่านี้ การสร้างผลงานในปีนี้จึงยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเท่าที่ควร
ในปีนี้ ผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชย ประกอบด้วย
๑. หนังสือพิมพ์อ่างแก้ว จากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒. หนังสือพิมพ์หอข่าว จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า
๓. หนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ข้อวิจารณ์ผลงานที่ได้รับรางวัล
หนังสือพิมพ์อ่างแก้ว : เป็น หนังสือพิมพ์ที่มีความโดดเด่นเรื่องของการสร้างความง่ายในการอ่าน ให้ความสำคัญในเรื่องของการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ได้อย่างมีระเบียบแบบแผน มีความสมดุลย์ของการวางเลย์เอาท์ รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับการจับประเด็นในเรื่องใกล้ตัว อาทิ เรื่องของการผ่านเข้าออกมหาวิทยาลัย ที่เป็นเรื่องความปลอดภัยในสังคม ซึ่งเป็นการทำหน้าที่สื่อมวลชนในการเฝ้าระวัง รวมทั้งยังเชื่อมโยงกับประเด็นสังคม วัฒนธรรม ที่เป็นเรื่องของชุมชน นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์อ่างแก้ว ยังใส่ใจในเรื่องการใช้ภาษาในการพาดหัวข่าว ที่ใช้ภาษาง่ายกระชับเข้าใจ
หนังสือพิมพ์หอข่าว : ยัง คงสร้างความต่อเนื่องกับการเลือกจับประเด็นของผลกระทบจากเทคโนโลยี จนสร้างอัตลักษณ์ให้หนังสือพิมพ์หอข่าวเหมือนเป็นหนังสือพิมพ์ไอที แต่เป็นข้อดีที่ดึงประเด็นที่อยู่ในกระแสสังคม มาเชื่อมโยงกับเรื่องใกล้ตัว ที่จะทำให้เพิ่มความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาได้มากขึ้น ในแง่ของการออกแบบมีความพยายามนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการออกแบบ เลือกที่จะใช้กราฟฟิกอินโฟ เป็นสื่อสัญลักษณ์ มีการจัดวางได้อย่างเป็นระบบ สร้างความสมดุลย์ในการจัดหน้า ไม่ให้รก อย่างไรก็ตาม พบว่าบางส่วนยังขาดความสมบูรณ์ในข้อมูลที่นำเสนอ ได้เพียงความสวยงามของการออกแบบเท่านั้น นอกจากนี้ การเลือกใช้อักษรในการพาดหัวข่าว ยังขาดความหนักแน่น และการจัดวางช่องไฟยังขาดความสมบูรณ์อยู่
หนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ : เป็น หนังสือพิมพ์ที่ทำให้เห็นว่า มีพัฒนาการในระดับหนังสือพิมพ์ฝึกหัดได้อย่างชัดเจน เลือกที่จะจับประเด็นความเดือดร้อนของนักศึกษา โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย มีการแทรกเนื้อหาทั้งบทสัมภาษณ์ บทความการสะท้อนความคิดเห็น หรือการนำเสนอเรื่องที่เชื่อมโยงกับชุมชน นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ในระดับฝึกปฏิบัติได้มีแนวทางเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ การเลือกที่จะแบ่งเซ็คชั่นในส่วนที่เป็นสารคดีออกจากกันถือว่าเป็นจุดที่น่า สนใจ และการจัดหน้าในส่วนหลังนี้ทำได้สมบูรณ์แบบ เป็นจุดเด่นที่ดีอีกส่วนหนึ่ง
ข้อสังเกตจากคณะกรรมการ
- การที่หนังสือพิมพ์ต้องปรับตัวเพื่อหนีตาย การสร้างสิ่งแปลกใหม่จึงเป็นทางเลือกเพื่อทางรอด หนังสือพิมพ์ฝึกหัด ควรนำความเคลื่อนไหวเหล่านี้มาพิจารณาประกอบในการนำเสนอ ไม่ควรยึดติดกับรูปแบบเดิม ตามเช่นหนังสือพิมพ์ต่างๆได้กระทำมา เพราะสิ่งเหล่านั้นกำลังจะกลายเป็นเรื่องตกยุคไปแล้ว
- เรื่องของการบริหารจัดการกองบรรณาธิการ เป็นเรื่องสำคัญเพราะในธุรกิจหนังสือพิมพ์ ความจำเป็นเรื่องการสร้างรายได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ การเลือกโฆษณามาลงในหนังสือพิมพ์ฝึกหัด ควรจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ความเหมาะสมของโฆษณานั้นๆให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นลักษณะของการหักคอ หรือขอร้องให้ได้มาจากโฆษณาที่ไม่เกี่ยวข้อง อาทิ อาจมีผู้ปกครองของนักศึกษามีธุรกิจอยู่เชียงราย แต่ต้องมาลงโฆษณาเพื่อช่วยเหลือหนังสือพิมพ์ฝึกหัดที่มีกลุ่มเป้าหมายแค่ใน กทม. จึงอาจเป็นแค่เพียงการอุปถัมภ์เท่านั้น ไม่ได้สะท้อนถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างชัดเจน
- การแบ่งงานกันทำ ควรให้เกิดการทำงานร่วมกัน ไม่ควรเป็นการแบ่งหน้า แบ่งเรื่อง ในลักษณะแบ่งสัมปทานกันไปทำ เป็นงานของใครของมัน เพราะลักษณะนั้นผลงานที่ออกมาจะขาดความต่อเนื่อง ไม่ราบเรียบ
- การจับประเด็นข่าว ยังคงต้องทำให้เกิดความรอบด้าน นำเสนอเพื่อให้คนอ่านเป็นคนตัดสินใจ ไม่ควรนำเสนอในลักษณะเหมือนชี้นำ
- คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในปีถัดไปจะนำเสนอการมอบรางวัลให้กับหนังสือพิมพ์ฝึกหัดบางฉบับ ที่มีพัฒนาการเมื่อเทียบกับตัวเองเป็นไปที่ดีมาก มีความโดดเด่นที่ดี เพื่อให้เป็นกำลังใจกับกลุ่มนักศึกษาที่ทุ่มเททำงานในส่วนนี้
*******************************
ผลการตัดสินข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น
ข่าวฝึกปฏิบัติ ที่ได้รับรางวัลพิราบน้อย ประจำปี ๒๕๕๓ ประกอบด้วย
รางวัลดีเด่น - ข่าวมรภ.สารคามรุกป่าหนองโน วุฒิฯจี้คืนชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ข้อวิจารณ์ มีจุดเด่นในการเลือกประเด็นข่าวที่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงทั้งภายใน มหาวิทยาลัยและชุมชนภายนอก นำเสนออย่างเกาะติด และแสวงหาแหล่งข่าวในการเสาะหาข้อมูลประกอบข่าวเพื่อให้เกิดความครบถ้วน สิ่งสำคัญข่าวชิ้นนี้ เดินข่าวด้วยการให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ไม่บีบบังคับให้คนอ่านเชื่อในด้านใดด้านหนึ่ง เปิดช่องให้คนอ่านได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังเลือกจับประเด็นในความขัดแย้ง และพิสูจน์ด้วยการยืนยันจากแหล่งข้อมูลจากทางราชการเพื่อประกอบการน่าเชื่อ ถืออีกด้วย
รางวัลชมเชย- ข่าวผลกระทบและการต่อต้านการจัดตั้งนิคมเหล็กฯ จ.จันทบุรี
หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว มหาวิทยาลัยบูรพา
ข้อวิจารณ์ ข่าวชิ้นนี้ มีจุดเด่นที่สร้างความน่าสนใจด้วยการเลือกการทำหน้าที่สื่อมวลชนในการตรวจ สอบ และติดตามในประเด็นที่เป็นเรื่องของชุมชน เป็นการใส่ใจในปัญหารอบด้าน อันเป็นการแสดงหน้าที่ของสื่อมวลชนในการรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งยังเป็นการรายงานข่าวที่ติดตามข้อมูลจากหลายส่วน ถึงในระดับเรื่องที่มีการนำเสนอเข้าครม. เพื่อนำข้อมูลจากด้านต่างมาประกอบข่าว
รางวัลชมเชย- ข่าวหอพักเถื่อนรอบมหาวิทยาลัยบูรพา
หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว มหาวิทยาลัยบูรพา
ข้อวิจารณ์ เป็นการเลือกประเด็นเล็กๆใกล้ตัว มานำเสนอจะกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจของคนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายตรง คือ กลุ่มนักศึกษาที่ได้หันมาสนใจในปัญหานี้ อย่างไรก็ดี การเดินข่าวยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร แต่ถือว่าในระดับฝึกปฏิบัติสามารถหยิบข้อมูลต่างๆมาใช้ได้เป็นอย่างดี ทั้งการติดตามข้อมูลจากทางราชการ การรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น แต่ยังขาดเรื่องของการสะท้อนสภาพปัญหาอย่างแท้จริงจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยตรง หรือนำตัวเองเข้าไปสู่การพิสูจน์ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นต้น
ข้อสังเกตจากคณะกรรมการ
- ข่าวฝึกปฏิบัติ ในบางครั้งยังพบปัญหาใหญ่คือ การมีเป้าหมายที่มุ่งนำเสนอข่าวไปในทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน
โดยพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อตามไปด้วย ซึ่งในความจริงควรให้ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้ผู้อ่านเป็นผู้ตัดสิน
- ยังคงมีการถ่ายทอดอิทธิพลทางความคิด จากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดกันมา ซึ่งควรมีการฝึกการสร้างความแปลกใหม่
ความแตกต่าง เพื่อสร้างพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
- ควรมีการวางแผนการบริหารงานข่าว เพื่อให้การทำข่าวมีความเป็นระบบ ไม่เป็นในลักษณะต่างคนต่างทำ
- การนำเสนอข้อมูลประกอบต่างๆ การทำกราฟฟิก ต้องมีความชัดเจนในการสื่อสารในเรื่องข้อมูล
- เรื่องของการมีความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นเรื่องที่ดี จึงควรมีการเพิ่มสิ่งเหล่านี้สะท้อนผลงานให้ชัดเจน
- ยังพบว่า บางฉบับยังมีความสับสนในเรื่องของรูปแบบการนำเสนอข่าว โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ สารคดีเชิงข่าว หรือการรายงานข่าวในเชิงบรรยาย เป็นต้น จึงต้องมีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบด้วย
*************************************
ผลการตัดสินข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติดีเด่น
ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติได้รับรางวัลพิราบน้อย รางวัลดีเด่นประจำปี ๒๕๕๓ ได้แก่ “ข่าวผลกระทบและการต่อต้าน การจัดตั้งนิคมเหล็กฯ จ.จันทบุรี หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว จากมหาวิทยาลัยบูรพา”
ข้อวิจารณ์
- เป็นการเกาะติดข่าวทั้งที่โครงการยังไม่ชัดเจน พยายามชี้ให้ระดับนโยบายรับทราบถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากโครงการแม้ว่าจะยังไม่ได้ลงลึกถึงผลกระทบจากอุตสาหกรรมเหล็กที่จะมาลงทุน แต่มองเห็นความพยายามเกาะติดข่าวทั้งจากรัฐ เอ็นจีโอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการลงพื้นที่จริงๆ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่มาก จึงอาจยังไม่มีรายละเอียดและมีการต่อสู้เท่าพื้นที่อื่นๆ แต่ถ้าเทียบกับข่าวอื่นๆ
- มีการเสนออย่างเป็นระบบ พยายามหาข้อมูลรอบด้าน และมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำเสนอ
เรื่องให้ดูดี น่าอ่าน จะมีข้อติอยู่บ้างก็ คือ ตัวข่าวกลายเป็นการต่อต้านโครงการอย่างชัดเจน น่าจะระวังจุดนี้ด้วย การเสนอข่าวในลักษณะเข้าข้างไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ เพราะบางสิ่งมันผิด จะเสนอให้เป็นกลางก็คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ขอให้ใส่ใจในข้อนี้ไว้
- ความพยายามในการลงพื้นที่ดีให้ความสำคัญกับการทำประเด็นข่าวในชุมชนข้างเคียง แต่ขาดข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับโครงการ เช่น ขนาดพื้นที่ เป็นต้น มีแหล่งข่าวหลากหลาย
- การนำเสนอต่อเนื่อง เป็นการจับประเด็นใหญ่ แหล่งข่าวมีความหลากหลาย
ข้อสังเกตจากคณะกรรมการ
งานนักศึกษาครั้งนี้ดีขึ้นในด้านการพยายามหาข้อมูล และคุยกับผู้คนมากขึ้น เห็นชัดว่านักศึกษาเหล่านี้ชอบเรื่องที่ตัวเองทำ โดยรวม ตัวข่าวก็จะคล้ายข่าวสิ่งแวดล้อมในหนังสือพิมพ์ และหลายๆเรื่องจะมีลักษณะเอาบทสัมภาษณ์มาเรียงๆกัน ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ดี แต่ก็คล้ายกับนักข่าวมืออาชีพทำงาน
*************************************
ผลการตัดสิน สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” ปี ๒๕๕๓
สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ได้แก่ “พืชเศรษฐกิจความมั่นคงทางอาหาร” โดย หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ข้อวิจารณ์
- เลือกประเด็นได้ดี น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั่วไป
- รายงานข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งนักวิชาการ ข้าราชการ และชาวบ้านในพื้นที่
- สะท้อนให้เห็นปัญหาได้ดี
- ภาษากระชับ ชวนให้ติดตามอ่าน
รางวัล ชมเชย ได้แก่ “คนไทยใจเกาหลี ฤาจะเป็นหมาลายเสือ” โดย หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อ วิจารณ์ สะท้อนให้เห็นการช่างสังเกต หยิบประเด็นปรากฏการณ์ในสังคมมานำเสนอ แต่หากมีการสะท้อนตัวตน หรือพฤติกรรมที่ทำให้เห็นชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลง การลอกเลียน ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะเพิ่มความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
รางวัล ชมเชย ได้แก่ “เมื่อสนามเด็กเล่น...เป็นสนามม้า” หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ข้อ วิจารณ์ ประเด็นดี สะท้อนเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องน่าสนใจ พร้อมกับการนำเสนอได้อย่างน่าติดตาม แต่ยังบอกเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
ข้อสังเกตจากคณะกรรมการ
- สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ จะต้องให้ความสำคัญเรื่องการใช้ภาษาไทยด้วย ทั้งเรื่องการบรรยาย การใช้ภาษาเพื่อการสร้างจินตนาการ เพื่อให้การเดินเรื่องมีความสมบูรณ์น่าติดตาม
- ควรเลือกให้กราฟฟิกด้วยความเหมาะสม หากจะแสดงข้อมูลประกอบต้องสอดคล้องกับเนื้อหา ไม่ต้องเน้นเพียงความสวยงามเพียงอย่างเดียว
- ได้เห็นแนวคิดเรื่องการทำเล่มแทรก แต่ต้องดูเรื่องความเหมาะสม เพราะบางฉบับเป็นแทบลอยด์แต่ยังมีเล่มแทรก ต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่
- เรื่องการจัดหน้า หรือการออกแบบ จะต้องพิจาณาให้เกิดความแปลกใหม่
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2553 |
|
ชมเชย | |
ชมเชย | |
ชมเชย | |
ดีเด่น | |
ชมเชย | |
ชมเชย | |
รางวัล "ข่าวสิ่งแวดล้อม" | |
ดีเด่น | |