ภาพหมู่มอบรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี 2556
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวันชัย วงศ์มีชัย ประธานตัดสินรางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2556 และ ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการด้านสื่อสารองค์กรประชาสัมพันธ์การตลาดและกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม กลุ่มทรู ถ่ายภาพร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ที่ได้รับรางวัล พิราบน้อย และริต้าปาติยะเสวี ประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ผลการประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี
“หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา” ประจำปี 2556
ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ ข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฎิบัติ และข่าวสิ่งแวดล้อมดีเด่น ในสถาบันอุดมศึกษารางวัล “พิราบน้อย” และประกวดสารคดีเชิงข่าว “รางวัลริต้า ปาติยะเสวี” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของนิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยจะมีการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล “พิราบน้อย” และรางวัล “ริต้า ปาติยเสวี” เป็นประจำทุกปี การตัดสินรางวัลพิราบน้อยประจำปี 2556 ปรากฎผล ดังนี้
รางวัลพิราบน้อย ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดประกวดและเงินรางวัลโดย บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปีนี้มีผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่งเข้าประกวดจำนวน 14 ฉบับ จาก 13มหาวิทยาลัย ผลงานหนังสือพิมพ์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว ของมหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับรางวัลเงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ได้แก่หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และหนังสือพิมพ์หอข่าว ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลพิราบน้อยประเภทข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ในปีนี้มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 33 ข่าว จาก 13 มหาวิทยาลัย ผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่นได้แก่ ข่าวธุรกิจเติมเงินมือถือ โดยหนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลเงินสด 15,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ได้แก่ ข่าวน้ำท่วมแม่กลอง โดยหนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และ ประเด็นตั๋วผีบอลระบาด โดยหนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ 7,500 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลริต้า ปาติยะเสวี ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นรางวัลที่จัดประกวดเพื่อรำลึกถึงนางสาวริต้า ปาติยะเสวี อดีตนักหนังสือพิมพ์ผู้ล่วงลับ มอบให้สำหรับสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา ในปีนี้มีผลงานสารคดีเชิงข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 38 ชิ้น จาก 14 มหาวิทยาลัย ในปี 2556 คณะกรรมการตัดสินรางวัล ได้เพิ่มรางวัลให้จากเดิมที่มีเพียงรางวัลดีเด่นเพียงรางวัลเดียว เป็นรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ผลงานสารคดีเชิงข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่นได้แก่ สารคดีเชิงข่าว “ป่าคือเรา เราคือป่า ” โดย หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลเงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ได้แก่ สารคดีเชิงข่าว “บ้านปลา ธนาคารปู” โดย หนังสือพิมพ์รังสิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต และสารคดีเชิงข่าว “แมลงปอ คะน้า และสารเคมี” โดย หนังสือพิมพ์สื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ
รางวัลข่าวสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 33 ข่าว จากหนังสือพิมพ์ 14 มหาวิทยาลัย ผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ ข่าว “เทรนด์ฮิต กินข้าว ชมสัตว์” หนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลเงินสด 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และรางวัลชมเชย 2 รางวัล ผลงานข่าวสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ ข่าว “ขยะติดเชื้อ ในรั้วสวนสุนันทา จากหนังสือพิมพฺกำแพงแดง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ ข่าว “แห่สร้างฝายชะลอน้ำ หนังสือพิมพ์บ้านกล้วย จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับรางวัลเงินสด 5,000บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
โดยมีพิธีมอบรางวัลผลการประกวดดังกล่าวในวันอังคารที่ 4 มีนาคม 2557 ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยก่อนพิธีมอบรางวัลจะมีการประชุมชี้แจงผลการตัดสินดังกล่าว จึงขอเชิญชวนสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์เข้าร่วมฟังประชุมชี้แจงดังกล่าวตั้งแต่เวลา 13.30 น.
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ผลงานส่งประกวดรางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2556
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ มีจำนวน 14 ฉบับ จาก 13 สถาบัน
ลำดับ | หนังสือพิมพ์ ปี 2556 | คณะ | สถาบัน | ฉบับที่ ปีพศ. |
1 | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | ปีที่36 ฉบับที่ 1 พ.ย. 2556 |
2 | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | ปีที่16 ฉบับที่ 41 มิ.ย. 2556 |
3 | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กย.-ตค. 2556 |
4 | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ปีที่ 56 ฉบับที่ 9 28 สค-3 กย 2556 |
5 | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 27 มค. - 1 กพ 2557 |
6 | ลูกศิลป | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร | ฉบับที่ 2 วันจันทร์ที่ 11 พ.ย. 2556 |
7 | อินทนิล | มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ปีที่ 7 ฉบับที่ 28 24 กย. 2556 |
8 | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | ปีที่ 18 ฉบับที่ 29 พ.ย. 2556 |
9 | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา | ฉบับที่ 2 ปีกาศึกษา 2/2556 |
10 | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | ฉบับ มค. 2557 |
11 | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา | ปีที่ 15 ฉบับที่ 35 กพ. 2557 |
12 | รังสิต | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยรังสิต | ปีที่ 20 ฉบับที่ 67 ตค. 2556 |
13 | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต | ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 มค. 2557 |
14 | นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ปีที่ 46 ฉบับที่ 3 กย. 2556 |
ข่าวฝึกปฏิบัติ จำนวน 33 ข่าว จาก 13 สถาบัน
ลำดับ | ข่าวฝึกปฏิบัติ ปี 2556 | หนังสือพิมพ์ | คณะ | สถาบัน |
1 | นศ. ขาดจริยธรรมถ่ายภาพบทเรียนโดยไม่ขออนุญาตอาจารย์แนะรื้อโครงสร้างมารยาททางสังคมใหม่ | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
2 | ต่างชาติยกฮาลาลไทยเป็นที่หนึ่ง | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
3 | หนังปลางแปลงส่อแววยืนปากเหวนายกสมาคมวิทยุโทรทัศน์ฯยันไม่ตายแต่ไม่โต | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
4 | ตั๋วผีฟุตบอลระบาดหนักปชช.วอนเร่งควบคุม สคบ.เผยเอาเปรียบผู้บริโภคผิดกม. | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
5 | มรบ.ทำสัญญาค่ารถตู้เหลือ 20บ. นศ.ชี้ที่ผ่านมาไม่ทราบเรื่อง | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
6 | ค้ายา-ยาป่วนสารคามเจาะกลุ่มนศ. ตร. เผยคดีพุ่ง | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
7 | โรงกลางใหม่ดำเนินการช้า เจรจาสัญญาติดขัด | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
8 | ระวังภัยน้ำลวกช้อน | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
9 | รปภ.ของบริษัทถลางฯใน มธ.ได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าค่าจ้างขั้นาต่ำ | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
10 | แฟชั่นกวดวิชาระบาดเล็ก เคี่ยวเข้มเลิกเรียนยันสองทุ่ม | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
11 | ประถมโกงปีเกิดเล่นเฟซบุ๊ก | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
12 | แฉธุรกิจเติมเงินมือถือเสี่ยงแชร์ลูกโซ่ | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
13 | แฉกลโกงเงินกู้นอกระบบ | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
14 | เครื่องดักฟังขายเกลื่อนเน็ต | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
15 | เผลภาพข่าว นสพ.ยอดนิยมส่วนใหญ่ละเมิดสิทธิผู้ต้องหา | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
16 | นักวิชาการเชื่อ EIAไทยไม่ยุติธรรม เน้นเศรษฐกิจมากกว่าชีวิตคน | อินทนิล | มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
17 | นโยบายประชานิยมทำเศรษฐกิจไทยป่วน | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
18 | ตีแผ่ นศ.ทอม-ดี้ รับจ๊อบกิน-เที่ยว-นอน ปลอดภัยได้เงินเรียนหนังสือ | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
19 | โกงพันล้าน กองทุนมอร์แกน นศ.-อาจารย์โดนด้วยแจ้งดีเอสไอคดีไม่คืบ | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
20 | โปรฯ ยาเสพติดไม่ผิด กม. ระบาดในเด็กมัธยม แพทย์ชี้กินติดต่อกันถึงตายได้ | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
21 | ปิดเทอมครึ่งปีรับอาเซียน นศ. แห่ฝึกงาน | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา |
22 | เลือกนายกองค์การฯ | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
23 | อึ้ง! กล้องวงจรปิด มจษ. เจ๊งนานนับปี | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
24 | น้ำท่วมแม่กลอง | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
25 | ยามาโนวัน ระบาดบางแสน | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
26 | การสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
27 | รองอธิการฯ ย้ำชัดไม่บังคับจบสามปีครึ่ง | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
28 | ปัญหาจานฟ้าขาวปะปนพุทธ - มุสลิม | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
29 | ตำรวจชี้ความปลอดภัยในจุฬาฯ ยังไม่รัดกุม |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
30 | AEC แรงงานไทยจะได้โฉบหรือถูกโฉบ |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
31 | จุฬาฯ ชี้แจงเหตุปรับขึ้นค่าเทอม 17 % |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
32 | เสี่ยงอันตรายถนนทางเข้าวิทยาลัยกรมทางหลวงชี้ช่องพร้อมปรับปรุง |
ตะแบกโพสต์-เว็บ | คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ |
33 | บ่อก๊าซกาฬสินธุ์ส่งกลิ่นชาวบ้านโวยคาดก๊าซไข่เน่า |
ตะแบกโพสต์-เว็บ | คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ |
ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ จำนวน 33 ข่าว จาก 13 สถาบัน
ลำดับ | ข่าวสิ่งแวดล้อมข่าวฝึกปฏิบัติ ปี 2556 | หนังสือพิมพ์ | คณะ | สถาบัน |
1 | หลายหน่วยานแห่สร้ายฝายชะลอน้ำหวังสร้างภาพต้นเหตุฝายล้ยประเทศ | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
2 | โป่งเทียม แหล่งอาหารเสริมช่วยฟื้นฟูชีวิตสัตว์ป่ากุยบุรี | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
3 | ไบโอเทคจับมือม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
4 | คาดโลกร้อนพุ่งสูง 4 องศา ระบุรณรงค์รักษ์โลกไร้ผล | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
5 | ต้านเจาะปิโครเลียม 5 จังหวัด หวั่นกระทบ สวล. | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
6 | เหมืองเกลือรุกคืบโคราช หวั่นซ้ำรอยหลุมยุบ | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
7 | คณะสถาปัตย์ฯ มธ.หนุนสร้างบ้าน เกษตร+อาศรม | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
8 | น้ำท่วมขังอาคารเอสซี เหตุขยะอุดตันตะแกรงระบายน้ำ | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
9 | คณะวิทย์ฯ มธ.ชี้อย่าวิตกเรื่องอาหารปนเปื้อนจากครบน้ำมันดิบ | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
10 | เทรนด์ฮิตนั่งทานข้าวชมสัตว์ ทรมานแกะ-แพะ-อัลปาก้า | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
11 | สลดเทคนิคเพาะพันธุ์หมา-แมว ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นสัตว์ตั้งท้อง | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
12 | ค้าสัตว์ป่าเย้ยกฎหมาย ลอบซื้อขายผ่านเฟซบุ๊ก | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
13 | อนาคตอาคารเขียวทั่วโลก | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
14 | ห่วงสร้างฟลัดเวย์กระทบลุ่มน้ำภาคกลาง | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
15 | สูบน้ำบาดาลเกินเกณฑ์ | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
16 | นักวิชาการเชื่อ EIAไทยไม่ยุติธรรม เน้นเศรษฐกิจมากกว่าชีวิตคน | อินทนิล | มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
17 | กลุ่มอนุรักษ์อุดรยัน ไม่เอา เหมืองโปรแตชเชื่อผลเสียเยอะ | อินทนิล | มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
18 | กาแฟถุงสามชั้นสวนทางสิ่งแวดล้อม | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
19 | ขยะติดเชื้อ ในรั้วสวนสุนันทา | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
20 | นักรบสิ่งแวดล้อมริมฝั่งบางปะกง | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา |
21 | นักศึกษาชีววิทยาสำรวจระบบนิเวศเสม็ด | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา |
22 | น้ำท่วมแม่กลอง | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
23 | อวสาน! อาชีพโพงพาง | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
24 | รีสอร์ตหรู ไม่ส่งรายงานบำบัดน้ำเสีย | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
25 | ต้นแบบคอนโดปู เมืองศรีราชาร้าง เหตุขาดงบ | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
26 | ชลบุรี จ่อเพิ่มพื้นที่ ห้ามอวนลากทำประมงใกล้ฝั่ง | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
27 | อ่าวอุดม ยกธรรมนูญชุมชน หวังเดินร่วมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
28 | แสนแสบอ่วม | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
29 | ขยะล้นบึงขวางฯ | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
30 | ตีแผ่โครงการแม่น้ำใหม่ : กรณีศึกษาผลกระทบและเสียงสะท้อนจากชาวสมุทรสงคราม |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
31 | ผังเมืองเรื่องขัดแย้งที่มีทางยุติ |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
32 | ทางออกของชีวิตสัตว์เร่ร่อนในจุฬาฯ |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
33 | บ่อก๊าซกาฬสินธุ์ส่งกลิ่นชาวบ้านโวยคาดก๊าซไข่เน่า |
ตะแบกโพสต์-เว็บ | คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ |
สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ จำนวน 38 เรื่อง จาก 14 สถาบัน
ลำดับ | สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ปี 2556 | หนังสือพิมพ์ | คณะ | สถาบัน |
1 | หรือเพศศึกษาไม่ใช่คำตอบของปัญหา ? | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
2 | ดีไซเนอร์ไทย ในยุคแฟชั่นตามกระแส | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
3 | เจาะลึก รับจ้างเดท ธุรกิจบำบัดความเหงา | บ้านกล้วย | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
4 | เด็กหญิงมีฟา..หนูน้อยชาวเขารักป่าปกากะญอ | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
5 | อาหารขึ้นห้าง ... ไม่ใช่ถิ่นครัวไทย | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
6 | ลิเกไทย 2556 | บัณฑิตย์โพสต์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
7 | แมลงปอ คะน้าและสารเคมี | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
8 | บ่อนไก่ชน สนามเด็กเล่นใหม่ของเยาวชน | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
9 | พุทธเกษตร สานฝันการศึกษาเพื่อเด็กชาวเขา | สื่อมวลชน | การสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการสารสนเทศ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
10 | หลัง หน้ากาก คือ ฉากใด | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
11 | จากศรัทธสู่พุทธพาณิชย์ เมื่อศรัทธากลายเป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์ | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
12 | ชีวิตเลียบคลองเน่า แสนแสบ แสนสะท้าน | มหาวิทยาลัย | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
13 | ทำบุญ... ใส่(บาตร)บาป | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
14 | อาชีพแปลก รับจ้างขับรถผ่านด่าน | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
15 | เปิดโมเดลลิ่งออนไลน์ หาสาวรับอุ้มท้องผ่านแชท | หอข่าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
16 | ช้าง...ป่า...คนกับอนาคตที่อาจมืดมน | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
17 | ป่าคือเรา เราคือป่า วิถีกะเหรี่ยงแห่งป่าใหญ่แก่งกระจาน | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
18 | ฤาชาวนา จะสูญสิ้นจากถิ่นไทย | อินทนิล | มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
19 | วัยรุ่นยึดสะพานข้ามเจ้าพระยา 5 แห่งมั่วสุม ตำรวจเกี่ยงพื้นที่ดูแล | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
20 | กาแฟถุงสามชั้นสวนทางสิ่งแวดล้อม | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
21 | ขยะติดเชื้อ ในรั้วสวนสุนันทา | กำแพงแดง | นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
22 | มุมเล็กๆ ของเด็กต่างด้าว | ลูกศิลป์ | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
23 | นักรบสิ่งแวดล้อมริมฝั่งบางปะกง | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา |
24 | นักศึกษาชีววิทยาสำรวจระบบนิเวศเสม็ด | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา |
25 | เกสรลำพู บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง | N journal | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา |
26 | เมื่อทุนขยาย แต่สื่อท้องถิ่นหาย ไขปมแม่กลองทำไมไม่มี นสพ. | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
27 | วิพากษ์ปัญหา หรือ พัฒนาท้องถิ่น ไขคำตอบ ราชภัฏอยู่ตรงไหนในสังคมไทย | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
28 | ยกทั้งแผง กยศ. ๕๗ | จันทรเกษมโพสต์ | โปรแกรมนิเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
29 | เด็กคลองตะเคียน ไร้สัญชาติ แต่ไม่ไร้โอกาส | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
30 | มหาวิทยาลัยสีเขียว โอกาสที่ต้องรอ | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
31 | เปิดชีวิต เด็กเก็บขวดวันเฉลิมนอกจอ | ลานมะพร้าว | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยบูรพา |
32 | บ้านปลา ธนาคารปู ความมั่นคงทางอาหารของมวลมนุษยชาติ | รังสิต | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยรังสิต |
33 | Socialcam แรงเสริมพฤติกรรมหลงตน | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
34 | มารยาทอยู่ที่ไหนฯ | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
35 | โดรนส์ เทคโนโลคนข่าว ฯ | ณ เกษม | คณะนิเทศศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
36 | เมื่อการจัดการอดีตของรัฐกับชุมชน เป็นคนละเรื่องเดียวกัน |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
37 | ที่เห็นและเป็นอยู่ : ก่อนจะเป็นสวนมะพร้าว |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
38 | พรุแม่รำพึง ตัวอย่างการอนุรักษ์ที่หลักลอย |
นิสิตนักศึกษา | คณะนิเทศศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
คำชี้แจ้งการให้รางวัล
หลักเกณฑ์การพิจารณาผลงานหนังสือพิมพ์ ข่าว ข่าวสิ่งแวดล้อม
และสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ประจำปี 2556
คณะกรรมการตัดสินรางวัลพิราบน้อย มีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์พิจารณาการตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวด ทั้งประเภทหนังสือพิมพ์ ข่าว ข่าวสิ่งแวดล้อม สารคดีเชิงข่าว ดังนี้ :
ประเภทหนังสือพิมพ์ รวม 100 คะแนน
- เนื้อหาสาระ 60 คะแนน
พิจารณาจากภาพรวมของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ จากองค์ประกอบการผลิตหนังสือพิมพ์ครบถ้วน ประกอบด้วย เนื้อหาข้อมูลที่เป็นข่าว บทความ รายงานพิเศษ สกู๊ป การ์ตูน บทบรรณาธิการ เป็นต้น
- แนวคิดรูปเล่ม 30 คะแนน
พิจารณาการจัดวางหน้าหนังสือพิมพ์ (layout) ดูภาพรวม ทั้งประเภทของอักษร ขนาดของอักษร ตั้งแต่รูปแบบ 4 สีหรือขาวดำ การจัดวางแต่ละคอลัมน์ของเนื้อหา ความเหมาะสม ความโดดเด่น
- จริยธรรม 10 คะแนน
พิจารณาเนื้อหาข่าว สารคดีเชิงข่าว และงานเขียนอื่นๆ พร้อมภาพข่าว ที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ที่ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือละเมิดจริยธรรม
ประเภทข่าวฝึกปฎิบัติ รวม 100 คะแนน
- ประเด็นข่าว 30 คะแนน
พิจารณาประเด็นจากคุณค่าข่าว อาทิ ความน่าสนใจ แปลก ใหม่ ผลกระทบในวงกว้าง ประโยชน์สาธารณะ ฯลฯ ประกอบกับการร้องเรียงให้เนื้อหาสาระสร้างความเข้าใจได้ง่ายทันที และชัดเจน
- ความถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน 40 คะแนน
พิจารณากณฑ์เนื้อหาข่าว มีความถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน มีความสมดุล ไม่กล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือผู้ตกเป็นข่าว
- การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 20 คะแนน
เน้นรูปแบบการเขียนข่าว ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจประเด็นได้ชัดเจน ลำดับเหตุการณ์ได้ดี อ่านแล้วทำความเข้าใจเรื่องได้ง่าย ชัดเจน
- จริยธรรม 10 คะแนน
การนำเสนอข่าว ภาพข่าว ภาพกราฟิก ประกอบข่าวนั้นๆ ต้องไม่มีการละเมิดจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน
ประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฎิบัติ รวม 100 คะแนน
- ประเด็น 30 คะแนน
กำหนดประเด็นที่น่าสนใจ มีมิติลุ่มลึก มีมุมมองแปลกและแตกต่างจากที่ปรากฎเป็นข่าว เนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์
- รูปแบบและวิธีการเขียนสารคดีเชิงข่าว 40 คะแนน
มีความชัดเจนในรูปแบบการเขียนงานสารคดีเชิงข่าว นำเสนออย่างมีศิลปะการเขียนบอกเล่าเรื่องราว การเรียงร้อยเรื่อง ที่มีการลำดับเรื่องที่ดี สามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านติดตาม ตั้งแต่เริ่มต้นเรื่องจนจบ โดยมีความครบถ้วน ถูกต้อง รอบด้าน
- การใช้ภาพประกอบเรื่อง และภาษาเพื่อการสื่อสาร 20 คะแนน
การใช้ภาษาและวาทะที่ถูกต้อง พร้อมภาพประกอบเรื่องซึ่งต้องส่งเสริมและสอดคล้องกับการเล่าเรื่อง
- จริยธรรม 10 คะแนน
การนำเสนอเนื้อหา ร้อยเรียงเรื่องราว และภาพประกอบเรื่องต้องไม่หมิ่นเหม่หรือละเมิดจริยธรรม
ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ 100 คะแนน
- ประเด็นของข่าว 30 คะแนน
พิจารณาคุณค่าความเป็นข่าวเป็นหลัก ทั้งผลกระทบที่ส่งผลในวงกว้างเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ ความน่าสนใจ แปลก ใหม่
- ความครบถ้วน ถูกต้อง รอบด้าน 40 คะแนน
การนำเสนอเนื้อหาของข่าวมีความถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน ข่าวสมดุล ไม่ได้กล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือผู้ตกเป็นข่าว ผู้เสียหาย
- การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 20 คะแนน
นำเสนอประเด็นข่าว โดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจเรื่อง ประเด็นได้ชัดเจน ลำดับเรื่องที่ดี
- จริยธรรม 10 คะแนน
การนำเสนอเนื้อหา เรียงร้อยเรื่องราว และภาพประกอบเรื่องต้องไม่หมิ่นเหม่หรือละเมิดจริยธรรม
ผลตัดสินประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2556
รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2556 มีสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 15 แห่งส่งผลงานประเภทต่างๆ เข้าประกวด
ลำดับ |
ชื่อหนังสือพิมพ์ |
สถาบัน |
พิมพ์เผยแพร่ |
1 |
บ้านกล้วย |
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
ปีที่36 ฉบับที่ 1 พ.ย.2556 |
2 |
บัณฑิตย์โพสต์ |
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่16 ฉบับที่ 41 มิ.ย.2566 |
3 |
สื่อมวลชน |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่12 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ต.ค.2556 |
4 |
มหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่56 ฉบับที่ 9 ส.ค.-ก.ย.2556 |
5 |
หอข่าว |
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย |
ปีที่22 ฉบับที่ 1 ม.ค.-ก.พ.2557 |
6 |
ลูกศิลป์ |
มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ฉบับที่ 2 วันที่ 11 พ.ย.2556 |
7 |
อินทนิล |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีทึ่7 ฉบับที่28 ก.ย.2556 |
8 |
กำแพงแดง |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
ปีที่18 ฉบับที่ 29 พ.ย.2556 |
9 |
N Journal |
มหาวิทยาลัยเนชั่น |
ฉบับที่ 1 ก.ย.2556 |
10 |
จันทรเกษมโพสต์ |
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
ฉบับเดือน ม.ค.2557 |
11 |
ลานมะพร้าว |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที15 ฉบับที่ 35เดือนก.พ..2557 |
12 |
รังสิต |
มหาวิทยาลัยรังสิต |
ปีที่20 ฉบับที่ 67 ต.ค.2556 |
13 |
ณ เกษม |
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต |
ฉบับเดือน ม.ค.2557 |
14 |
นิสิตนักศึกษา |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่46 ฉบับที่ 3 ก.ย.2556 |
15 |
ตะแบกโพสต์ |
มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธ์ |
เผยแพร่บนเฟซบุ๊ก |
คณะกรรมการฯ พิจารณาผลงานทั้งหมด เห็นตรงกันว่า โดยภาพรวมแล้วหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตั้งแต่การวางแผนการทำงาน การเลือกและคัดสรร การนำเสนอประเด็นข่าว ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติหลายฉบับ มีรูปแบบการจัดหน้าที่สวยงาม เทียบกับหนังสือพิมพ์ระดับมืออาชีพ รูปเล่มหลายฉบับ ในการจัดวางหน้า ทั้งคอลัมน์ ภาพข่าว ตาราง กราฟิก น่าสนใจชวนติดตาม ดึงดูดผู้อ่าน หลายฉบับวางเลย์เอาท์ได้โดดเด่น ช่วยทำให้เนื้อหามีความชัดเจน และง่ายต่อการเข้าใจเรื่องราว โดยเนื้อหานำเสนอก็มีความหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของนักศึกษาในการจัดทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในครั้งนี้
การตัดสินในปีนี้ ผลคะแนนการพิจารณามีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากแต่ละฉบับมีพัฒนาการใหม่ๆ มีจุดเด่นปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะข้อสังเกตที่ว่า หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ปี 2556 นี้ มีสัดส่วนการใช้กระดาษปอนด์หลายสถาบัน ต่างจากอดีตที่หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติใช้กระดาษปรู๊ฟเป็นหลัก ขณะเดียวกัน มีข้อสังเกตว่า ข่าวหน้าหนึ่ง จากการวางเลย์เอาท์ จัดรูปเล่ม ควรจัดลำดับความสำคัญให้กับข่าวว่า ข่าวใดเป็นข่าวหรือภาพข่าวพาดหัวนำ ข่าวพาดหัวรอง เพราะส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน จากการใช้ตัวอักษรพาดหัวข่าว
อีกประการที่สำคัญ คือ รูปแบบและสำนวนภาษาในงานเขียน ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างงานเขียน รูปแบบข่าว สารคดีเชิงข่าว รายงานพิเศษ บทความว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงการขึ้นย่อหน้า หรือเว้นวรรค (พารากราฟ) ก็มีความสำคัญ อาทิ การขึ้นต้นแหล่งข่าวคือใคร ตำแหน่งอะไร เป็นจุดสำคัญที่ต้องระบุในการเขียนข่าว
สำหรับ ผลงานประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติที่เข้ารอบ รวม 5 ฉบับ จาก 15 ฉบับ ประกอบด้วย 1.หนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2. หนังสือพิมพ์กำแพงแดง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3. หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว ของมหาวิทยาลัยบูรพา 4. หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 5. หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติที่ได้รับรางวัล
รางวัลดีเด่น : หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว จากมหาวิทยาลัยบูรพา
จุดเด่น : เนื้อหาครอบคลุมหลากหลายทุกประเภทข่าว ตอบโจทย์สังคมในมหาวิทยาลัยและขอบเขตรอบๆ ชุมชนและสังคมนักศึกษา คณาจารย์ มีการจัดแบ่งพื้นที่การนำเสนอเนื้อหาชัดเจน อ่านง่าย สบายตา ใช้ภาษาข่าวได้เหมาะสม
ภาพรวมการจัดหน้า ยังคงเอกลักษณ์การใช้กระดาษปรู๊ฟ สี่สี่ บอร์ดชีท ธีมสี และสไตล์จัดหน้าหนังสือพิมพ์ได้ชัดเจน มีรูปแบบและองค์ประกอบหนังสือพิมพ์ครบถ้วน ทั้ง ข่าว สกู้ป บทความ การ์ตูน มีลูกเล่นในการจัดหน้า ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้ชวนอ่าน โดยรวมมีรูปแบบความเป็นหนังสือพิมพ์ครบ
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : บางประเด็นข่าวที่นำเสนอมีความล่อแหลมทางสังคม ส่ลผลต่อความสุ่มเสี่ยงการละเมิดจริยธรรม อาทิ ข่าวมาโนวันระบาด เนื้อหาชี้แหล่งซื้อขาย วิธีเสพชัดเจนเกินไป การกล่าวหาบุคคลอื่นในทางที่เสียหาย
ข้อเสนอแนะ : การตั้งชื่อ ควรให้มีความชัดเจน เช่น บทบรรณาธิการ ตั้งชื่อว่า ช่องโหว่ เป็นเรื่องของการแต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพาคนใหม่ ควรระบุว่าว่า เป็นช่องโหว่ของกฎระเบียบ หรือวิธีการ และการเรียงรูปประโยคภาษาไทยในการพาดหัว ควรระมัดระวัง เช่น “ปฏิรูปประเทศไทย” ความคิดต่างไม่ใช่ปัญหา ซึ่งไม่ใช่การหมายถึง การปฎิรูปเป็นปัญหา เป็นต้น
รางวัลชมเชย หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จุดเด่น : รูปแบบหนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ สามารถจัดหน้าตาได้ลงตัว แม้ไม่โดดเด่น แต่ดูสบายตา แต่สามารถทำเลย์เอ้าท์ลงตัว ทั้งการ เขียนข่าว รายงาน มีองค์ประกอบครบถ้วน งานเขียนส่วนใหญ่สื่อความได้ชัดเจน การเลือกใช้ตัวอักษรจัดหน้า ในพื้นที่นำเสนอสารคดี “อยู่ดีมีแฮง” สร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้เกิดความโดดเด่น การเลือกประเด็นธรรมดา แต่ร้อยเรียงเนื้อหาได้ติดตาม
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : ควรระวังการใช้ภาษาไทยผิดไวยากรณ์ และงานเขียนที่มีคำเรียกแหล่งข่าว บุคคลเดียวหลากหลายชื่อ อาจเกิดความสับสน
ข้อเสนอแนะ : การเขียนข่าวความขัดแย้งในองค์กร ชุมชน หรือในสังคม ต้องระมัดระวังการใช้อคติ และอารมณ์ที่สะท้อนผ่านตัวหนังสือ แม้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ แต่อาจกระทบถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาทได้ จากข่าว ปัญหาการบริหารของอธิการบดี มมส. หรือปัญหาจะยุบหรือไม่เรื่องของหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา ที่บรรยายถึงพฤติกรรมทำงานเฉพาะของบุคคล ต้องอาศัยสำนวนและลีลาในการเขียนที่ไม่โจ่งครึ่มเกินไป ส่งผลให้เนื้อหาลดเหตุผล และน้ำหนักความน่าเชื่อถือลงไปได้
รางวัลชมเชย หนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จุดเด่น : ประเด็นการนำเสนอข่าวมีความทันสมัย สามารถอาศัยช่องทางโซเชียล มีเดีย เป็นกลไกในการทำข่าว โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัว ซึ่งเริ่มมีผลกระทบในวงกว้าง และเลือกสรรแหล่งข่าวได้ครอบคลุม น่าเชื่อถือ
การจัดรูปเล่ม โดดเด่นด้วยกราฟิก ทำได้น่าสนใจ มีการแบ่งกรอบชัดเจน
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : แต่ยังมีข้อผิดพลาดในการจัดหน้าที่ต้องตรวจทานให้ถูกต้องยิ่งขึ้น และอีกส่วน ข้อด้อยในการให้โซเชียล มีเดีย มีอิทธิพลในการสืบค้นมากจนเกินไป ซึ่งเข้าใจได้ว่า แหล่งที่มาของประเด็นจากโลกออนไลน์ เป็นเพราะยุคสมัย ที่คนรุ่นนี้ และนักศึกษาอยู่กับโลกตรงนี้ ซึ่งใกล้ตัว แต่ขอให้ตรวจสอบ เพราะความไม่จริงมีอยู่มาก ถ้าหยิบเอานำเสนอ ต้องระวังและตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อเสนอแนะ : การใช้กราฟฟิกช่วยสร้างให้เนื้อหา และการจัดหน้า ชวนน่าสนใจ แต่เมื่อนำมาวางกับองค์ประกอบคอลัมน์อื่นๆ ทั้งหมดที่จัดวางไว้ การให้พื้นที่ใหญ่เกิน ทำให้เลย์เอ้าท์ข่าวพาดหัว ไม่โดดเด่นเท่าที่ควร แม้จะพยายามวางให้เลย์เอาท์โชว์ 2 หน้าคู่ แทนที่จะดูสวยกลับทำให้เทอะทะ
ความคิดเห็นจากคณะกรรมการ
หนังสือพิมพ์บ้านกล้วย ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาพรวมเนื้อหามีความหลากหลาย คัดประเด็นได้น่าสนใจ อาทิ จริยธรรมถ่ายภาพบทเรียนในห้องเรียน การแห่สร้างฝายชะลอน้ำสร้างาภาพ
ควรระวังการเลือกใช้ขนาดตัวอักษรให้น่าสนใจ เพื่อสร้างความสำคัญของข่าว และให้เกิดความโดดเด่น ดึงดูดในเรื่องที่ต้องการนำเสนอในหน้าหนึ่งตามลำดับความสำคัญได้ ในฉบับมีการเลือกใช้ตัวอักษรหลายขนาด ทั้งนี้ การวางคอลัมน์แบบลากยาว ตามด้วยพาดหัวแบบยาว ทำให้ยากต่อการมองช่วงเวลาสั้นๆ เพื่ออ่านแล้วเข้าใจ ดึงความสนใจให้อ่านต่อ และ
หนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภาพรวมทิศทางหนังสือพิมพ์คนเมือง มีเนื้อหาที่ทันสมัย น่าสนใจ อาทิ โฮมสคูล, การสักลวดลายบนร่างกาย ประเด็นสิ่งแวดล้อม มีความน่าสนใจ แต่ติดเรื่องของการเลือกแหล่งข่าว บางคนและบางครั้งไม่เหมาะสม เช่น ข่าวพาดหัว สคบ.เผยเอาเปรียบผู้บริโภค ผิดกฎหมาย เรื่องของจริยธรรม และบุคคลที่เป็นแหล่งข่าวไม่ตรงและไม่น่าสนใจ
หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาพรวมของหนังสือพิมพ์ สามารถคงเอกลัษณ์ของหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหา ขาดความหลากหลาย บางข่าวที่มีเนื้อหาจากการสัมมนา หรือการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ สามารถเขียนให้สั้น กระชับ แต่ได้ใจความ หรือสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบ เพื่อให้มองแบบจุลภาค ไปภาพใหญ่ระดับมหภาคได้ โดยการเสนอปประเด็นโรงอาหารกับองค์กร มีความน่าสนใจ จากที่ยกข้อมูลอื่นๆมาเปรียบเทียบ
ส่วนการนำเสนอภาพยังไม่ดึงดูด เนื่องจากหนังสือพิมพ์ขนาดบอร์ดชีท สามารถออกแบบ สร้างสรรค์ภาพประกอบข่าว และคอลัมน์ต่างๆ เพื่อทำให้การจัดหน้าสวยงาม ดึงดูด น่าสนใจได้ อีกทั้งภาพกราฟฟิก จะช่วยทำให้เนื้อหามีความเข้มแข็งและเข้มข้นได้ด้วย ส่วนชื่อหนังสือพิมพ์ ใช้ตัวอักษรใหญ่ ทำให้ข่าวพาดหัวถูกดึงความสนใจเป็นอันดับรองลงไป
หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โดยรวมของหนังสือพิมพ์น่าสนใจ ข่าว ภาพ กราฟฟิกหน้าหนึ่งดูง่ายสะอาด แต่การเลือกภาพประกอบข่าว ควรระวังดูเหมือนภาพโฆษณา จนทำให้เนื้อหาข่าวอาจถูกเข้าใจว่าเป็นคอลัมน์โฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งหนังสือพิมพ์มืออาชีพ มักใช้รูปแบบดังกล่าว เนื้อหาหลายข่าว สามารถเจาะประเด็นลงลึกกว่านี้ ในบางข่าวยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้เนื้อหายังไม่ครอบคลุมให้เข้าใจได้ทั้งหมด สำหรับบทความเนื้อหาแน่นจนเกินไป แล้วเลือกใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่ามาตรฐานในฉบับ ทำให้อ่านยาก ต้องใช้สายตามาก ทางจิตวิทยาอ่านแล้วเหนื่อย ข้อสำคัญ ให้ระวังตัวย่อ คำย่อ อาทิ เผย ค.รุนแรงครอบครัวสูงขึ้น เราไม่ย่อคำว่า ความ
หนังสือพิมพ์อินทนิล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาพรวมจัดหน้าแบบแท็บลอยด์ จัดวางหน้าได้ดี ในหน้า 1 วางเลย์เอาท์ลงตัว แต่การเลือกภาพ เช่น ภาพปรับถนน และชาวบ้านต้านเรือนแพริมชี รูปถ่ายยังไม่สื่อไม่ชัดเจนถึงปัญหา และไม่ควรใช้อั้กษรย่อ พาดหัวข่าวซ้ำ ในหน้าเดียวกันหรือข่าวเดียว เช่น มมส เป็นต้น ส่วนจัดหน้าในหน้าสารคดี น่าอ่าน แต่เมื่อเรียบเรียงเนื้อหายาวๆ ควรให้ พาดหัวย่อยๆ (Subhead) เพื่อช่วยให้เนื้อหาอ่านง่าย แต่ยังต้องระวังการเลือกใช้ขนาดตัวอักษร ก็ควรใช้ขนาดเดียวกันเป็นมาตรฐานทั้งฉบับ นอกเหนือจากตัวอักษรพาดหัว
หนังสือพิมพ์กำแพงแดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เนื้อหาสาระที่นำเสนอเด่น เพราะเลือกประเด็นใกล้ตัว มีผลต่อประชาคมใน มรฏ.สวนสุนันทา โดยเฉพาะทำให้คณะกรรมการฯเข้าใจจุดประสงค์ และวิธีการนำเสนอ เนื่องจากมีคู่มือการจัดทำหนังสือพิมพ์กำแพงแดง แนบมาด้วย
การนำเสนอรูปเล่ม การจัดหน้าและใช้กราฟฟิก มีสีสันทำให้สื่อสารความคิดได้ดี
หนังสือพิมพ์ N Journal มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์บางนา
รูปเล่มน่าสนใจ โดยเฉพาะหน้าหนึ่ง วางเลย์เอาท์ได้โดดเด่น ทั้งภาษาพาดหัว การเลือกภาพ การวางตำแหน่งคอลัมน์ในฉบับ รวมถึง การเน้นคำพูด (โค้ดคำพูด) ของบุคคลในข่าว ทำได้สวยงาม ชวนติดตาม จัดหน้าชวนให้อ่านได้ง่าย แต่ข้อพึงตระหนัก การใช้ภาษาในประเภทสื่อต่างๆ มีเอกลักษณ์ และความแตกต่างที่สามารถแยกแยะกันได้ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ต่างมีจุดเด่น ที่มีความแตกต่าง สามารถแยกแยะได้
ส่วนภาพการ์ตูน เมื่อนำมาใช้ ต้องให้เครดิตเจ้าของผลงาน โดยบอกรายละเอียดของแหล่งที่มา เช่นใครเป็นคนสร้างสรรค์ มาจากเว็บไซต์ไหน บล็อกหรือโซเชียล มีเดียวหรือหน่วยงาน องค์กรใดเป็นเจ้าของ ควรต้องอ้างอิงมากกว่านี้
หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
โดยรวมหนังสือพิมพ์ทำได้น่าอ่าน เพราะตอบจุดประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติที่วางเป้าหมายไว้ มีเนื้อหาสาระที่หลากหลาย จากการวางแผนการผลิต การเลือกสรรประเด็นข่าว
การจัดวางรูปเล่ม เรื่อง ภาพ สามารถสื่อความคิดได้ดี โดดเด่น แต่ควรระวังการวางตำแหน่งชื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นจุดขาย เมื่อพับครึ่งจะทำให้มองไม่เห็น
หนังสือพิมพ์รังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต
รูปลักษณ์เป็นหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ แต่รูปแบบเนื้อหา ข้อเขียนเป็นแบบนิตยสาร ซึ่งมีความน่าสนใจ แต่พึงระวัง เกณฑ์ตัดสินที่กำหนดไว้ โดยข่าว และข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ พิจารณารูปแบบงานเขียนข่าว อย่างไรก็ตาม มีการเสนอเนื้อหาในชุมชนเดียวกันแบบเจาะลึก หลากหลายประเด็น
การออกแบบรูปเล่ม จัดหน้าโดยใช้กราฟฟิก โดดเด่นด้วยศิลปะการเลือกใช้ตัวอักษร สีสันเด่น น่าอ่าน
หนังสือพิมพ์ ณ เกษม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
รูปเล่มการจัดหน้า เลือกเรื่องและภาพดึงดูดสายตา น่าสนใจในหน้าหนึ่ง แต่วางเลย์เอ้าท์ไม่ลงตัว เป็นแท่งยาว ทั้งทำให้สับสนกับตำแหน่งภาพข่าวและเนื้อข่าว การถ่ายภาพ องค์ประกอบบางภาพไม่สื่อตามเนื้อข่าวเท่าที่ควร ที่สำคัญ การใช้ภาษาไทย พาดหัวและตั้งชื่อเรื่อง ให้ระวังการใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) เป็นเครื่องหมายวรรคตอน มีความหมายในการใช้ นั่นคือ ใช้เขียนหลังคำวลี หรือประโยคที่เป็นอุทาน ซึ่งมีหลักในการใช้ แต่ต้องไม่ใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินไป
ในส่วนการจัดหน้าทั้งฉบับ มีการใช้ตัวอักษรหลายรูปแบบและหลายขนาด จนดูขาดเอกลักษณ์ บางคอลัมน์จัดวางตำแหน่งตัวหนังสือ ภาพ และพื้นที่ว่างยังไม่ลงตัว
หนังสือพิมพ์นิสิต นักศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดวางรูปเล่มหน้าสนใจ ดูสวยงาม ดึงดูดสายตาให้ติดตาม เนื้อหาให้น้ำหนักกับประเด็นในสถาบัน และชุมชนอุดมศึกษา การเลือกใช้อินโฟกราฟิก เล่าเรื่อง เป็นเสน่ห์และโชว์ฝีมือในการสกัดประเด็นข่าวรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำได้ดี
ทั้งนี้ ประเภทเนื้อหายังไม่หลากหลาย แม้เขียนเรื่องได้น่าอ่าน บอกเล่าได้ดี แต่ให้ระวังการใช้ภาษาพาดหัว การตั้งชื่อเรื่อง โดยใช้คำผิดควาหมาย เช่น AEC แรงงานไทย จะได้โฉบหรือถูกโฉบ? ความหมายของคำที่นำมาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ เช่นหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ถือเป็นเอกสารทางการ ที่สามารถใช้ศึกษาย้อนหลังได้ ดังนั้น การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษในเนื้อหา ในบางคำศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจมีข้อยกเว้น แต่ความหมายของคำไทย ต้องเลือกใช้คำให้ถูกควาหมาย จุดนี้แตกต่างกับงานเขียนในสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะช่องทางต่างๆ ที่เป็นสื่อในโซเชียล มีเดีย
ตะแบกโพสต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธ์
เนื่องจากหลักเกณฑ์การประกวดข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ กำหนดเกณฑ์ตัดสิน โดยพิจารณา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ แนวคิดรูปเล่ม จริยธรรมและจรรยาบรรณา ดังนั้น ในการเสนอรูปเล่มเป็นอีบุ๊ก (eBook) หรือนำเสนอข่าวผ่านเฟสบุ๊ก ยังไม่ได้มีเกณฑ์กำหนด ทั้งนี้ เมื่อไม่ใช่รูปเล่มเป็นหนังสือพิมพ์ ทำให้คณะกรรมการฯ ไม่สามารถพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ของความเป็นหนังสือพิมพ์ได้ นอกเหนือจากพิจารณาเนื้อหาเท่านั้น
ข้อเสนอแนะ : ในการทำข่าวฝึกปฏิบัติ ผ่านเฟซบุ๊ก หรือเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ นักศึกษาและอาจารย์ สามารถนำเนื้อหามาผลิต หรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ เพื่อส่งเข้าร่วมประกวดได้
ผลประกวดประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ปี 2556
ผลงานที่ส่งเข้าประกวด 33 เรื่อง จาก 15 สถาบัน ดังนี้
- นศ. ขาดจริยธรรมถ่ายภาพบทเรียนโดยไม่ขออนุญาตอาจารย์แนะรื้อโครงสร้างมารยาททางสังคมใหม่ จากบ้านกล้วย
- ต่างชาติยกฮาลาลไทยเป็นที่หนึ่ง จาก บ้านกล้วย
- หนังปลางแปลงส่อแววยืนปากเหวนายกสมาคมวิทยุโทรทัศน์ฯยันไม่ตายแต่ไม่โต
จากบ้านกล้วย
- ตั๋วผีฟุตบอลระบาดหนักปชช.วอนเร่งควบคุม สคบ.เผยเอาเปรียบผู้บริโภคผิดกม.
จากบัณฑิตย์โพสต์
- มรบ.ทำสัญญาค่ารถตู้เหลือ 20บ. นศ.ชี้ที่ผ่านมาไม่ทราบเรื่อง จากบัณฑิตย์โพสต์
- ค้ายา-ยาป่วนสารคามเจาะกลุ่มนศ. ตร. เผยคดีพุ่ง จากสื่อมวลชน
- โรงกลางใหม่ดำเนินการช้า เจรจาสัญญาติดขัด จากมหาวิทยาลัย
- ระวังภัยน้ำลวกช้อน จากมหาวิทยาลัย
- รปภ.ของบริษัทถลางฯใน มธ.ได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าค่าจ้างขั้นาต่ำ จากมหาวิทยาลัย
10. แฟชั่นกวดวิชาระบาดเล็ก เคี่ยวเข้มเลิกเรียนยันสองทุ่ม จากหอข่าว
11. ประถมโกงปีเกิดเล่นเฟซบุ๊ก จากหอข่าว
12. แฉธุรกิจเติมเงินมือถือเสี่ยงแชร์ลูกโซ่ จากหอข่าว
13. แฉกลโกงเงินกู้นอกระบบ จากลูกศิลป์
14. เครื่องดักฟังขายเกลื่อนเน็ต จากลุกศิลป์
15. เผลภาพข่าว นสพ.ยอดนิยมส่วนใหญ่ละเมิดสิทธิผู้ต้องหา จากลูกศิลป์
16. นักวิชาการเชื่อ EIAไทยไม่ยุติธรรม เน้นเศรษฐกิจมากกว่าชีวิตคน จากอินทนิล
17. นโยบายประชานิยมทำเศรษฐกิจไทยป่วน จากบัณฑิตย์โพสต์
18. ตีแผ่ นศ.ทอม-ดี้ รับจ๊อบกิน-เที่ยว-นอน ปลอดภัยได้เงินเรียนหนังสือ จากกำแพงแดง
19. โกงพันล้าน กองทุนมอร์แกน นศ.-อาจารย์โดนด้วยแจ้งดีเอสไอคดีไม่คืบ จากกำแพงแดง
- โปรฯยาเสพติดไม่ผิด กม.ระบาดในเด็กมัธยม แพทย์ชี้กินติดต่อกันถึงตายได้ จากกำแพงแดง
21. ปิดเทอมครึ่งปีรับอาเซียน นศ. แห่ฝึกงาน จาก N Journal
22. เลือกนายกองค์การฯ จากจันทรเกษมโพสต์
23. อึ้ง! กล้องวงจรปิด มจษ. เจ๊งนานนับปี จากจันทรเกษมโพสต์
24. น้ำท่วมแม่กลอง จากจันทรเกษมโพสต์
25. ยามาโนวัน ระบาดบางแสน จากลานมะพร้าว
26. การสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา จากลานมะพร้าว
27. รองอธิการฯ ย้ำชัดไม่บังคับจบสามปีครึ่ง จากลานมะพร้าว
28. ปัญหาจานฟ้าขาวปะปนพุทธ – มุสลิม จาก ณ เกษม
29. ตำรวจชี้ความปลอดภัยในจุฬาฯ ยังไม่รัดกุม จากนิสิตนักศึกษา
30. AEC แรงงานไทยจะได้โฉบหรือถูกโฉบ จากนิสิตนักศึกษา
31. จุฬาฯ ชี้แจงเหตุปรับขึ้นค่าเทอม 17 % จากนิสิตนักศึกษา
32. เสี่ยงอันตรายถนนทางเข้าวิทยาลัยกรมทางหลวงชี้ช่องพร้อมปรับปรุง จากตะแบกโพสต์
33. บ่อก๊าซกาฬสินธุ์ส่งกลิ่นชาวบ้านโวยคาดก๊าซไข่เน่า จากตะแบกโพสต์
โดยรวมของข่าว หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ มีการเลือกประเด็นข่าว โดยมองมิติของสังคมที่เป็นไป เช่น ทุจริตคอร์รัปชั่น เรื่องใกล้ตัว ทั้งสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน มีการตั้งคำถามผ่านเนื้อหามากขึ้น เป็นจุดเด่นข้อหนึ่งของพัฒนาการหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ทั้งนี้ ก็ต้องเพิ่มความเข้มแข็งในการร้อยเรียงเรื่องราว ความแข็งแรงในการหาและคัดเลือกแหล่งข่าว ทำความเข้าใจระบบการผลิต การนำเสนอ การอ้างอิงแห่งที่มาต้องชัดเจนมากขึ้น สำหรับรางวัลประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ
รางวัลดีเด่น : ข่าวธุรกิจเติมเงินมือถือ โดยหนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ในประเด็นข่าวของหนังสือพิมพ์หอข่าว โดดเด่นด้วยการเสาะหา และคัดเลือกจากเหตุการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในกระแสโซเชียล มีเดีย ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ คนในยุคนี้ และในชุมชน ถือเป็นการจุดประเด็นข่าวใหม่ ที่สื่อหลักมองข้าม จากอีเมลโฆษณาออนไลน์ หรืออีเมลขยะ นำไปสู่การพัฒนาประเด็นข่าวได้โดดเด่น ชวนติดตาม เรื่องของธุรกิจเติมเงินมือถือ ชี้ช่องให้เห็นว่า รูปแบบธุรกิจ ในโครงสร้างแบบแชร์ลูกโซ่ มีความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง หรือถูกโกงได้ ส่งผลกระทบในกลุ่มคนระดับล่าง ถึงคนระดับกลาง ซึ่งมีสัดส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือระบบเติมเงินจำนวนมากกว่าระบบรายเดือน
การนำเสนอประเด็นดังกล่าว ถือเป็นข่าวเจาะเชิงสืบสวนสอบสวน มีวิธีการทำงานเป็ฯขั้นตอน ทำให้ผู้อ่านสามารถรู้เท่าทันกลวิธี รูปแบบธุรกิจ กลุ่มคนที่ดำเนินธุรกิจ และช่องว่างทางกฎหมาย สามารถเลือกแหล่งข่าวได้ครอบคลุม รอบด้าน ทั้งบริษัทที่ทำธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล สมาชิกเครือข่ายธุรกิจเติมเงิน ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ เว็บไซต์พันทิปที่มีส่วนโฆษณา กรมสอบสวนคดีพิเศษ และยังมีข้อมูลแชร์ลูกโซ่ เป็นเคียงข่าวประกอบความสมบูรณ์ของการนำเสนอ
มีข้อติติงเรื่องหนึ่งคือ แหล่งข่าวจาก กสทช.ที่ไม่ระบุชื่อนั้น น่าจะเปิดเผยได้ เนื่องจากการให้ข้อมูลเรื่องนี้น่าจะเป็นผลบวกกับองค์กร และให้ความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ส่วนภาพประกอบข่าว เป็นกราฟิกโฆษณาของธุรกิจดังกล่าวที่ส่งข้อความไปทางอีเมล หรือโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อเห็นข้อความก็ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจน
ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ประเด็นข่าวนี้มีพลัง จากผลกระทบที่อาจเกิดในวงกว้าง สามารถติดตามและขยายประเด็น หรือเชื่อมโยงส่งต่อให้นำเสนอเป็นเรื่องระดับชาติ หรือนำไปสู่การควบคุมแก้ไขได้ก่อน จะลุกลามเป็นปัญหาบานปลาย เหมือนธุรกิจที่ใช้รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
รางวัลชมเชย : ข่าวน้ำท่วมแม่กลอง โดยหนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ประเด็นนี้ มีข้อดีในการวางแผนการทำงานจากการลงพื้นที่ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดในการเก็บข้อมูล และทำให้ประเด็นมีพลังจากการเสนอทั้งในรูปแบบข่าว รายงานและบทบรรณาธิการ ภาพและการใช้ภาษาชัดเจน ผลของข่าวชี้ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจรีสอร์ตที่เกิดขึ้นมากมายกับปัญหาน้ำท่วม ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชน ขอบเขตควรจะอยู่ตรงไหน
ข้อควรปรับปรุง คือการเลือกแหล่งข่าว น้ำหนักของข่าวนี้เอนเอียงไปทาง แหล่งข่าวองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ซึ่งควรจะเสริมโดยฟังเสียงของผู้บริหารท้องถิ่น อย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ที่ไม่มีการนำเสนอในเรื่องนี้ ส่งผลให้การเล่าเรื่อง ขาดการบรรยายภาพให้เห็นถึงปัญหาการถมที่ เพื่อสร้างรีสอร์ต แล้วทำให้น้ำท่วมทันที จุดนี้ควรมีส่วนเชื่อมต่อให้เห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น
สำหรับเนื้อหาที่เป็นข้อกฎหมาย ควรทำให้อ่านง่าย อีกทั้ง การพาดหัว ไม่ใช่คำว่า “ถ้า” หากเรื่องนั้นเป็นการคาดการณ์ หรือเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น ภาษาไทยที่ใช้ จะใช้คำกริยา เช่น คาด ชี้ หวั่น เป็นต้น
รางวัลชมเชย : ข่าวตั๋วผีบอลระบาด โดยหนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
เรื่องของตั๋วผี แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การนำเสนอเข้ากับปรากฏการณ์สังคมไทย กระแสการแข่งขันฟุตบอล ลีกต่างๆ ของไทย กลายเป็นปัญหาที่เอารัดเอาเปรียบผู้ชม แม้อยู่แวดวงคนกีฬาฟุตบอล ซึ่งแหล่งข่าวคาดมีมูลค่าสูง ทำให้ขยายประเด็นไปถึงการคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวโยงวงการกีฬา ที่ถูกทำให้เป็นธุรกิจทั้งหมด จากการร้องเรียนของประชาชน ที่นำเสนอทั้งข่าวพาดหัว หน้าหนึ่ง และสกู้ป
แต่การนำเสนอยังไม่สามารถต่อภาพให้เห็นกระบวนการค้าตั๋วผีที่ระบุว่าระบาดหนัก ทั้งมูลค่าตัวเลข และการขยายตัวของวงจรค้าตั๋วผีที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา ส่
สิ่งที่ต้องปรับปรุง คือการใช้ภาษาไทย มีคำเขียนผิด สะกดผิด เช่น พึ่ง – เพิ่ง , มาตรการ – มาตรการ การเขียนหนังสือถูกผิด แสดงถึงความใส่ใจความถูกต้องของข้อมูล เนื้อหา จึงควรระมัดระวังและตรวจทาน สร้างความเชื่อถือให้ผู้อ่าน นอกจากนี้ การพาดหัว คำสำคัญ “ตั๋วผีฟุตบอลระบาดหนัก” ไม่ถูกให้ความสำคํญ เพื่อเจาะจงและฉายภาพให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันทีว่า ข่าวดังกล่าวจะสื่อสารเรื่องใด
ผลประกวดประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ปี 2556
รางวัลริต้า ปาติยะเสวี ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นรางวัลที่จัดประกวดเพื่อรำลึกถึงนางสาวริต้า ปาติยะเสวี อดีตนักหนังสือพิมพ์ผู้ล่วงลับ มอบให้สำหรับสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ในสถาบันอุดมศึกษา ปีนี้มีผลงานสารคดีเชิงข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 38 ชิ้น จาก 15 มหาวิทยาลัย
- หรือเพศศึกษาไม่ใช่คำตอบของปัญหา จากบ้านกล้วย
- ดีไซเนอร์ไทย ในยุคแฟชั่นตามกระแส จากบ้านกล้วย
- เจาะลึก รับจ้างเดท ธุรกิจบำบัดความเหงา จากบ้านกล้วย
- เด็กหญิงมีฟา..หนูน้อยชาวเขารักป่าปกากะญอ จากบัณฑิตย์โพสต์
- อาหารขึ้นห้าง ... ไม่ใช่ถิ่นครัวไทย จากบัณฑิตย์โพสต์
- ลิเกไทย 2556 จากบัณฑิตย์โพสต์
- แมลงปอ คะน้าและสารเคมี จากสื่อมวลชน
- บ่อนไก่ชน สนามเด็กเล่นใหม่ของเยาวชน จากสื่อมวลชน
- พุทธเกษตร สานฝันการศึกษาเพื่อเด็กชาวเขา จากสื่อมวลชน
10. หลัง หน้ากาก คือ ฉากใด จากมหาวิทยาลัย
11. จากศรัทธสู่พุทธพาณิชย์ เมื่อศรัทธากลายเป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์ จากมหาวิทยาลัย
12. ชีวิตเลียบคลองเน่า แสนแสบ แสนสะท้าน จากมหาวิทยาลัย
13. ทำบุญ... ใส่(บาตร)บาป จากหอข่าว
14. อาชีพแปลก รับจ้างขับรถผ่านด่าน จากหอข่าว
15. เปิดโมเดลลิ่งออนไลน์ หาสาวรับอุ้มท้องผ่านแชท จากหอข่าว
16. ช้าง...ป่า...คนกับอนาคตที่อาจมืดมน จากลูกศิลป์
17. ป่าคือเรา เราคือป่า วิถีกะเหรี่ยงแห่งป่าใหญ่แก่งกระจาน จากลูกศิลป์
18. ฤาชาวนา จะสูญสิ้นจากถิ่นไทย จากอินทนิล
19. วัยรุ่นยึดสะพานข้ามเจ้าพระยา 5 แห่งมั่วสุม ตำรวจเกี่ยงพื้นที่ดูแล จากกำแพงแดง
20. กาแฟถุงสามชั้นสวนทางสิ่งแวดล้อม จากกำแพงแดง
21. ขยะติดเชื้อ ในรั้วสวนสุนันทา จากกำแพงแดง
22. มุมเล็กๆ ของเด็กต่างด้าว จากลูกศิลป์
23. นักรบสิ่งแวดล้อมริมฝั่งบางปะกง จาก N journal
24. นักศึกษาชีววิทยาสำรวจระบบนิเวศเสม็ด จาก N journal
25. เกสรลำพู บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง จาก N journal
26. เมื่อทุนขยาย แต่สื่อท้องถิ่นหาย ไขปมแม่กลองทำไมไม่มี นสพ. จากจันทรเกษมโพสต์
27. วิพากษ์ปัญหา หรือ พัฒนาท้องถิ่น ไขคำตอบ ราชภัฏอยู่ตรงไหนในสังคมไทย จากจันทรเกษมโพสต์
28. ยกทั้งแผง กยศ. ๕๗ จากจันทรเกษมโพสต์
29. เด็กคลองตะเคียน ไร้สัญชาติ แต่ไม่ไร้โอกาส จากลานมะพร้าว
30. มหาวิทยาลัยสีเขียว โอกาสที่ต้องรอ จากลานมะพร้าว
31. เปิดชีวิต เด็กเก็บขวดวันเฉลิมนอกจอ จากลานมะพร้าว
32. บ้านปลา ธนาคารปู ความมั่นคงทางอาหารของมวลมนุษยชาติ จากรังสิต
33. Socialcam แรงเสริมพฤติกรรมหลงตน จาก ณ เกษม
34. มารยาทอยู่ที่ไหนฯ จาก ณ เกษม
35. โดรนส์ เทคโนโลคนข่าว ฯ จาก ณ เกษม
36. เมื่อการจัดการอดีตของรัฐกับชุมชน เป็นคนละเรื่องเดียวกัน จากนิสิตนักศึกษา
37. ที่เห็นและเป็นอยู่ : ก่อนจะเป็นสวนมะพร้าว จากนิสิตนักศึกษา
38. พรุแม่รำพึง ตัวอย่างการอนุรักษ์ที่หลักลอย จากนิสิตนักศึกษา
ผลงานส่วนใหญ่ที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ เรื่องส่วนใหญ่มีความน่าสนใจ การเลือกประเด็นโดยรวมดีมาก มีการหาข้อมูลแบบเจาะลึก หรือเรื่องแปลกใหม่ที่ยังไม่เคยถูกนำเสนอมาก่อน แต่ข้อน่าสังเกตที่เป็นปัญหาของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ มักเขียนรูปแบบเนื้อหาปะปนกันระหว่างความเป็นข่าว สารคดีเชิงข่าว ซึ่งลีลาในการเขียนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นเขียนเป็นข่าว หรือเขียนเป็นสารคดีเชิงข่าว
ทั้งนี้ มีหลายฉบับที่เขียนสารคดีเชิงข่าว จากปัญหาสังคมที่สำคัญและมีผลกระทบในวงกว้าง และสามารถหยิบยกสถิติ แหล่งข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายมาประกอบกันทำให้ในเรื่องนั้นมีค่อนข้างมีความครบถ้วน สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องที่พบส่วนใหญ่คือ การลำดับเรื่อง เนื้อหาส่วนใหญ่จึงขาดความครบถ้วน จุดนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนสารคดีเชิงข่าว
สำหรับหลักการเขียนสารคดีเชิงข่าว เป็นการเขียนที่พัฒนามาจากประเด็นข่าว นำมาเรียงร้อยโดยใช้ภาษาสละสลวย เน้นสื่อความหมายที่ชัดเจน เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงรายละเอียด ทั้งต้นเรื่อง กลางเรื่องและอาจนำไปสู่ปลายเหตุของเรื่องได้ ต้องใช้ศิลปะในการเขียน ดังนั้น การเขียนที่ดี ต้องอาศัยการฝึกฝนทั้ง การอ่านการเขียนงานประเภทนี้ เพื่อสะสมกรณีศึกษาไว้เป็นประสบการณ์
ในปี 2556 คณะกรรมการตัดสินรางวัล ได้เพิ่มรางวัลให้จากเดิมที่มีเพียงรางวัลดีเด่นเพียงรางวัลเดียว เป็นรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ผลงานสารคดีเชิงข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่นได้แก่
รางวัลดีเด่น : สารคดีเชิงข่าว “ป่าคือเรา เราคือป่า ” โดย หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
โดยรวมมีการหยิบยกประเด็นที่เป็นกระแสสังคมนำเสนอในอีกมุมมองที่ถูกมองข้ามไป ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่สามารถเสนอเรื่องราวด้วยการตีแผ่ความจริงได้ค่อนข้างครบถ้วน มีการนำเสนอมุมมอง ข้อมูลในทุกส่วนได้ดี จากสถานการณ์ของสังคมที่เคยเกิดขึ้นด้วยการเกาะติด หยิบข้อมูลทั้งจากในข่าวและเก็บข้อมูลมาใช้ประกอบกันได้ดีจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง การตั้งชื่อเรื่องชัดเจน อ่านชื่อเรื่องทำให้เข้าใจได้ทันทีว่าต้องการสื่อสารเนื้อหาเรื่องใด ชวนให้ติดต่อ การเดินเรื่องยาวไปสักนิด สามารถตัดทอนประเด็นที่สังคมรับทราบแล้ว ในส่วนที่ควรลงลึก น่าเจาะประเด็นให้ติดตามคือ การต่อสู้ทางศาลปกครอง ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เริ่มให้การยอมรับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน อีกทั้งสามารถต่อยอดโดยเพิ่มมิติความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานต่อสาธารณชนมากขึ้น และควรรัดกุมในการใช้คำหรือชื่อเรียกแหล่งข่าวที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดความสับสนได้
ที่ต้องระวังอีกประเด็นคือ การใช้ขนาดตัวอักษรในสารคดีเชิงข่าวนี้ ต้องใช้ขนาดตัวอักษรที่มีมาตรฐานในฉบับเหมือนกัน การเขียนเนื้อเรื่องยาวๆ สามารถตัดทอนคำหรือประโยคเยิ่นเย้อลงไปได้ และการใช้ภาพประกอบเรื่องเล็กเกินไป การเลือกขนาดของภาพที่ดีจะช่วยลดความหนาแน่นของเนื้อหาและการจัดหน้าได้
รางวัลชมเชย : สารคดีเชิงข่าว “บ้านปลา ธนาคารปู” โดย หนังสือพิมพ์รังสิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต
เลือกประเด็นและการตั้งชื่อเรื่องได้น่าสนใจ ทำประเด็นธรรมดาให้เห็นถึงภาพรวมของความมั่นคงทางอาหารได้ชัดเจน มีความน่าสนใจ ร้อยเรื่องเข้ากันด้วยดี สามารถบรรยายเหตุการณ์ชัด แต่วิธีเขียนเรียงร้อย ยังติดรูปแบบเขียนข่าวอยู่มาก ไม่บอกสถานที่ให้ครบถ้วน ระบุเพียงแค่ชื่อหมู่บ้านของต้นเรื่อง แหล่งข้อมูลยังไม่หลากหลาย
ส่วนของการจัดหน้า ถือว่าลงตัวสวยงาม น่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะแบบของตัวอักษร ที่ใช้ถือว่าโดดเด่นมาก ทั้งตัวอักษรโปรย และภาพประกอบเรื่อง
ทั้งนี้ “รังสิต” ของมหาวิทยาลัยรังสิต เนื้อหาภายในฉบับ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของวารสาร โดยงานเขียนส่วนใหญ่ เป็นรายงานข่าว สารคดีเชิงข่าว โดยไม่มีรูปแบบงานเขียนข่าว นำเสนอเลย คณะกรรมการฯ เห็นพ้องว่า ให้ตัดสินเฉพาะเนื้อหาประเภท สารคดีเชิงข่าว
รางวัลชมเชย : สารคดีเชิงข่าว “แมลงปอ คะน้า และสารเคมี” โดย หนังสือพิมพ์สื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มีความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกประเด็น การใช้ภาษาตั้งชื่อเรื่อง โดยเล่าเรื่องได้ดี แต่ความเข้มข้นของเรื่องเล่าอ่อนลง จนไม่ได้นำไปสู่เป้าหมายของเรื่องที่ต้องการเดินไปให้ถึง นั่นคือ ดัชนีชี้วัดของแมลงปอต่อมลภาวะจากการใช้สารเคมี เนื่องจากไม่ได้มีการปักหลักในการนำเสนอที่เป็นขั้นเป็นตอน ข้อแนะนำการเขียนสารคดีเชิงข่าว ผู้เขียนและทีมบรรณาธิการ ควรจัดตั้งประเด็น (agenda setting) ที่ชัดเจนในตัวงานเขียน เพื่อให้เล่าเรื่องแล้วชวนผู้อ่านติดตาม ถือว่าเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อสังคม เป็นเรื่องใกล้ตัว ใช้แมลงปอ และผักคะน้าเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม
ผลประกวดประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ปี 2556
รางวัลข่าวสิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 33 ข่าว จากหนังสือพิมพ์ 15 มหาวิทยาลัย
- หลายหน่วยานแห่สร้ายฝายชะลอน้ำหวังสร้างภาพต้นเหตุฝายล้ยประเทศ จากบ้านกล้วย
- โป่งเทียม แหล่งอาหารเสริมช่วยฟื้นฟูชีวิตสัตว์ป่ากุยบุรี จากบ้านกล้วย
- ไบโอเทคจับมือม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง จากบ้านกล้วย
- คาดโลกร้อนพุ่งสูง 4 องศา ระบุรณรงค์รักษ์โลกไร้ผล จากบัณฑิตย์โพสต์
- ต้านเจาะปิโครเลียม 5 จังหวัด หวั่นกระทบ สวล. จากสื่อมวลชน
- เหมืองเกลือรุกคืบโคราช หวั่นซ้ำรอยหลุมยุบ จากสื่อมวลชน
- เหมืองเกลือรุกคืบโคราช หวั่นซ้ำรอยหลุมยุบ จากมหาวิทยาลัย
- น้ำท่วมขังอาคารเอสซี เหตุขยะอุดตันตะแกรงระบายน้ำ จากมหาวิทยาลัย
- คณะวิทย์ฯ มธ.ชี้อย่าวิตกเรื่องอาหารปนเปื้อนจากครบน้ำมันดิบ จากมหาวิทยาลัย
10. เทรนด์ฮิตนั่งทานข้าวชมสัตว์ ทรมานแกะ-แพะ-อัลปาก้า จากหอข่าว
11. สลดเทคนิคเพาะพันธุ์หมา-แมว ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นสัตว์ตั้งท้อง จากหอข่าว
12. ค้าสัตว์ป่าเย้ยกฎหมาย ลอบซื้อขายผ่านเฟซบุ๊ก จากหอข่าว
13. อนาคตอาคารเขียวทั่วโลก จากลูกศิลป์
14. ห่วงสร้างฟลัดเวย์กระทบลุ่มน้ำภาคกลาง จากลูกศิลป์
15. สูบน้ำบาดาลเกินเกณฑ์ จากลูกศิลป์
16. นักวิชาการเชื่อ EIAไทยไม่ยุติธรรม เน้นเศรษฐกิจมากกว่าชีวิตคน จากอินทนิล
17. กลุ่มอนุรักษ์อุดรยัน ไม่เอา เหมืองโปรแตชเชื่อผลเสียเยอะ จากอินทนิล
18. กาแฟถุงสามชั้นสวนทางสิ่งแวดล้อม จากกำแพงแดง
19. ขยะติดเชื้อ ในรั้วสวนสุนันทา จากกำแพงแดง
20. นักรบสิ่งแวดล้อมริมฝั่งบางปะกง จาก N journal
21. นักศึกษาชีววิทยาสำรวจระบบนิเวศเสม็ด จาก N journal
22. น้ำท่วมแม่กลอง จากจันทรเกษมโพสต์
23. อวสาน! อาชีพโพงพาง จากจันทรเกษมโพสต์
24. รีสอร์ตหรู ไม่ส่งรายงานบำบัดน้ำเสีย จากจันทรเกษมโพสต์
25. ต้นแบบคอนโดปู เมืองศรีราชาร้าง เหตุขาดงบ จากลานมะพร้าว
26. ชลบุรี จ่อเพิ่มพื้นที่ ห้ามอวนลากทำประมงใกล้ฝั่ง จากลานมะพร้าว
27. อ่าวอุดม ยกธรรมนูญชุมชน หวังเดินร่วมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน จากลานมะพร้าว
28. แสนแสบอ่วม จาก ณ เกษม
29. ขยะล้นบึงขวางฯ จาก ณ เกษม
30. ตีแผ่โครงการแม่น้ำใหม่ : กรณีศึกษาผลกระทบและเสียงสะท้อนจากชาวสมุทรสงคราม จากนิสิตนักศึกษา
31. ผังเมืองเรื่องขัดแย้งที่มีทางยุติ จากนิสิตนักศึกษา
32. ทางออกของชีวิตสัตว์เร่ร่อนในจุฬาฯ จากนิสิตนักศึกษา
33. บ่อก๊าซกาฬสินธุ์ส่งกลิ่นชาวบ้านโวยคาดก๊าซไข่เน่า จากตะแบกโพสต์-เว็บ
รางวัลดีเด่น : ข่าวเทรนด์ฮิต กินข้าว ชมสัตว์ หนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ประเด็นข่าวนี้ มีเรื่องของศีลธรรม และจริยธรรมเกี่ยวข้องชัดเจน แม้การนำเสนอการค้าสัตว์ผ่านเฟซบุ๊ก เป็นเรื่องเดิมที่ทำผ่านช่องทางใหม่ แสดงให้เห็นการใช้สัตว์ป่า สัตว์แปลกๆ มาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจขยายตัวยิ่งขึ้น เป็นข่าวที่ส่งผลต่อการรับรู้ ทั้งยังเกิดผลกระทบวงกว้างมากขึ้นด้วย กองบรรณาธิการเลือกสรรแหล่งข่าวครอบคลุม เกือบจะครบถ้วน หากมีแหล่งข่าวจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รับผิดชอบดูแลสัตว์ป่า สัตว์แปลก ระบุว่ารัฐมีนโยบายดูแลจัดการอย่างไร? จะสมบูรณ์ที่สุด เพราะเรื่องนี้กระทบต่อสังคม มีข้อเท็จจริง มีคุณค่าข่าว ทำได้ครบถ้วนหลากหลาย มีมิติชัดเจน สะท้อนถึงวิธีการทำงานเป็นขั้นตอน
รางวัลชมเชย : ข่าว “ขยะติดเชื้อ ในรั้วสวนสุนันทา จากหนังสือพิมพฺกำแพงแดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ขยะติดเชื้อสะท้อนที่มาของข่าว เป็นการจับกระแสหรือมีเหตุจากการพูดคุยกันแล้วนำไปขยายผลต่อ ถือว่าสามารถนำเรื่องใกล้ตัวมาต่อยอดเป็นข่าว เป็นเรื่องของภาพของสาธารณชน ที่สะท้อนถึงการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยนำเสนอประเด็นดี น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่การเดินเรืองและใช้ภาษาข่าวสามารถทำได้ดีกว่านี้ เพราะอ่านแล้วเนื้อเรื่องสะดุดไปมา ไม่ต่อเนื่องให้อ่านแล้วรื่นรมย์ จุดบกพร่อง ควรบรรยายถึงภาพขยะเพื่อให้ผู้อ่านนึกภาพตามไปด้วย และไม่มีมุมของจุดเริ่มต้นว่า เรื่องเข็มฉีดยาถูกทิ้งโดยไม่ได้จัดเก็บให้ถูกสุขลักษณะ ในสถาบันการศึกษานั้นที่สุดของคนแหล่งข่าว หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบต้นเรื่องเป็นอย่างไร ทำให้ข่าวนี้ขาดสีสันชวนติดตาม
การใช้ภาษาไทยมีข้อควรระวัง เช่น “ขยะติดเชื้อ” ในรั้วสวนสุนันทา (?) นั้น การใช้เครื่องหมายคำถาม ไม่จำเป็นต้องอยู่ในวงเล็บ ส่วนภาพข่าว ถ้าถ่ายให้เห็นเข็มฉีดยาที่หลุดรอดดจากถุงหรือกล่องจัดเก็บ จะทำให้เรื่องมีน้ำหนักมากกว่านี้
รางวัลชมเชย : ข่าวแห่สร้างฝายชะลอน้ำ หนังสือพิมพ์บ้านกล้วย จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จับประเด็นธรรมดาให้เป็นเรื่องมีคุณค่าข่าว มีความน่าสนใจ ในเรื่องฝายชะลอน้ำ ถือว่าลงลึกในรายละเอียด เพราะไม่เคยทราบมาก่อนว่าทำแล้วไปกลายเป็นปัญหาให้แหล่งน้ำและพื้นที่ของชุมชน ส่งผลให้รู้ว่าการทำไปโดยไม่มีองค์ความรู้เพียงพอย่อมก่อให้เกิดปัญหาได้ หากขยายผลให้ชัดเจนลงไปอีกว่า การจะสร้างฝายชะลอน้ำ แต่ละประเภททั้งก่อน ระหว่างและหลังสร้างฝายแล้ว มีวิธีการบริหาร จัดการ และดูแลอย่างไร เพื่อทำให้ทราบกระบวนการจัดทำฝายที่ต้องเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมแต่ละพื้นที่
ประเด็นข่าวนี้ ถือว่าสร้างข้อท้วงติงให้กับเหล่าบรรดาองค์กร กลุ่มคนที่ทำงานด้านส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร (CHR) ซึ่งนิยมสร้างฝายพัฒนาแหล่งน้ำ นำไปพิจารณาใคร่ครวญข้อดีข้อเสียมากกว่าที่เป็นอยู่ ทำประเด็นได้น่าสนใจ แม้การเดินเรื่อง และแหล่งข่าวจะยังไม่ลงลึกมากพอ สามารถสอบถามคนในพื้นที่ที่มีปัญหา ใช้สถิติประกอบหรือมีผลสำรวจว่าได้ผลหรือไม่ แค่ไหนอย่างไร จุดนี้ยังขาดตัวเลขสนับสนุน เรื่องของแหล่งข่าวยังไม่รอบด้าน ควรระบุแหล่งข่าวให้ชัดเจน เพื่อให้ข่าวมีน้ำหนัก น่าเชื่อถือมากที่สุด
ข่าวสิ่งแวดล้อมคอมเมนต์ กก.ภาพรวม
-ข่าวเทรนด์ฮิต
-นศ.ชีวิทยาสำรวจอยู่ในความสนใจ มีผลกระทบ
-แม่น้ำใหม่ เป็นเรืองที่มีคุณค่า มีความน่าสนใจ แต่ควรหาแหล่งข่าวเพิ่มเติม และส่งล่าช้า
-ข่าวที่ส่งเป็นเรื่องใกล้ต้ว แต่การจับประเด็นควรลึกกว่านี้ เช่น การตั้งข้อสังเกตเรื่องถุงสามชั้น ว่ามีการใช้ทรัพยากรอย่างไร ไม่มีเรื่องผลกระทบตามมา
-เรื่องที่เป็นเหตุต่อเนือ่งเรื่องการบริหารจัดการน้ำ มีเนื้อหามาก การสรุปประเด็นยังไม่ชัด เป็นฉายภาพรวม เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงขัดแย้ง ถ้าสรุปประเด็นก็จะทำให้น่าสนใจมากขึ้น หลายข่าว เช่น ขยะในน้ำ ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ทั่วๆ ไม่ได้สะท้อนถึงกระบวนการบริหารจัดการ
///
ผลข่าวสิ่งแวดล้อม
1เทรนด์ฮิตนั่งทานข้าวฯ
2.ขยะติดเชื่อฯ
3.หลายหน่วยงานแห่สร้างฝายชะลอน้ำฯ
ข่าวสิ่งแวดล้อม
ดีเด่น ข่าวเทรนด์ฮิต กินข้าว ชมสัตว์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ชมเชย ข่าวขยะติดเชื้อ มรฎ.สวนสุนันทา กับ แห่สร้างฝายชะลอน้ำ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สารคดีเชิงข่าว
ดีเด่น เรื่อง ป่าคือเรา เราคือป่า ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ชมเชย เรือง บ้านปลา ธนาคารปู ของ มหาวิทยาลัยรังสิต กับ แมลปอ คะน้า และสารเคมี ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เช่น ข่าวมาโนวันระบาด เนื้อหาชี้แหล่งซื้อขาย วิธีเสพชัดเจนเกินไป