คำชี้แจง
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ผลการตัดสินรางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติดีเด่น
ข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น
ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติดีเด่น
รางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี 2557
สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
สารบาญ
1.ผลการประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี 2557
2.หลักเกณฑ์การพิจารณาผลงาน
3.ผลตัดสินประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
4.ผลตัดสินประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
5.ผลตัดสินประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
6.ผลตัดสินประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี 2557
7.ภาคผนวก
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ผลการประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี 2557
ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ข่าวฝึกปฏิบัติ และข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติดีเด่น ในสถาบันอุดมศึกษา รางวัล “พิราบน้อย” และประกวดสารคดีเชิงข่าว รางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของนิสิตนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยจะมีการประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล “พิราบน้อย” และรางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” เป็นประจำทุกปี ปีการศึกษา 2557 สมาคมฯ ยังเห็นสมควรเปิดกว้างให้ข่าวฝึกปฏิบัติบนเว็บข่าวสามารถส่งประกวดในกลุ่มเดียวกันกับข่าวจากหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติได้ด้วย
การตัดสินรางวัลพิราบน้อยประจำปี 2557 ปรากฏผล ดังนี้
รางวัล “พิราบน้อย” ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดประกวดและเงินรางวัลโดย บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปีนี้มีผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่งเข้าประกวด จำนวน 14 ฉบับ จาก 13 มหาวิทยาลัย ผลงานหนังสือพิมพ์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลเงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ได้แก่ หนังสือพิมพ์หอข่าว ของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัล “พิราบน้อย” ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ในปีนี้มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 33 ข่าว จาก 11 มหาวิทยาลัย ผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ ข่าวร.พ.จ่ายยามือสอง เภสัชหวั่นไร้คุณภาพ หนังสือพิมพ์หอข่าว ของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับรางวัลเงินสดจำนวน 15,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ได้แก่ ข่าวเปิดโปงธุรกิจนอกกฎหมาย บัตรนั่งรถ หนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ ของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ ข่าวขนส่งไทยไม่เอื้อผู้พิการจี้รัฐเร่งพัฒนา หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลเงินสด รางวัลละ 7,500 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัลข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 27 ข่าว จากหนังสือพิมพ์ 11 มหาวิทยาลัย ไม่มีผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่น ส่วนผลงานข่าวสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรางวัลชมเชย มี 2 รางวัล ได้แก่ ข่าววางขายปลาฉลามเกลื่อนเมือง ทำลายระบบนิเวศเสี่ยงสูญพันธุ์ หนังสือพิมพ์หอข่าว ของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ข่าวบ่อขยะหัวหินกลิ่นคลุ้งแถมน้ำเสียไหลลงแหล่งน้ำ หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัล เงินสด 5,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
รางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นรางวัลที่จัดประกวดเพื่อรำลึกถึงนางสาวริต้า ปาติยะเสวี อดีตนักหนังสือพิมพ์ผู้ล่วงลับ มอบให้สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น ในปีนี้มีผลงานสารคดีเชิงข่าวส่งเข้าประกวด จำนวน 27 ชิ้น จาก 11 มหาวิทยาลัย ในปี 2557 คณะกรรมการตัดสินรางวัล ได้เพิ่มรางวัลให้จากเดิมที่มีเพียงรางวัลดีเด่นเพียงรางวัลเดียว เป็นรางวัลชมเชยอีก 1 รางวัล ผลงานสารคดีเชิงข่าวที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ สารคดีเชิงข่าว ความฝันของเด็กชายไร้สัญชาติ หนังสือพิมพ์อ่างแก้ว ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลเงินสด 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รางวัลชมเชยอีก 1 รางวัล ได้แก่ สารคดีเชิงข่าว ผืนป่าที่หายไป หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ
พิธีมอบรางวัลดังกล่าว และประชุมชี้แจ้งผลการตัดสินรางวัล จะมีขึ้นในวันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น. อันเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ตรงกับวันหยุดวันมาฆบูชา) ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
หลักเกณฑ์การพิจารณาผลงานหนังสือพิมพ์ ข่าว ข่าวสิ่งแวดล้อม
และสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ประจำปี 2557
คณะกรรมการตัดสินรางวัลพิราบน้อย มีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์พิจารณาการตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวด ทั้งประเภทหนังสือพิมพ์ ข่าว ข่าวสิ่งแวดล้อม และสารคดีเชิงข่าว ดังนี้
ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ
1.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Aim & Objectives)
พิจารณาถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา และการตอบสนองความต้องการของนักศึกษา
2.การวางแนวคิดเนื้อหาสาระ (Theme & Content Concept)
พิจารณาจากการนำเสนอเนื้อหาของข่าว บทความ รายงาน (สารคดีเชิงข่าว) และสารคดี ความหลากหลายของสาระ การใช้ภาพบุคคล ภาพประกอบ หรือภาพเหตุการณ์ทางวารสารศาสตร์ การจัดวางเนื้อหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้
3.แนวคิดรูปเล่ม (Lay-out & Illustration Concept)
พิจารณาจากแนวคิดหลักแนวคิดรอง และเอกลักษณ์ของเล่ม รูปเล่มเพื่อการสื่อสาร ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.การบรรณาธิกร (Editing)
พิจารณาจากภาพรวมของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การพิสูจน์อักษร การใช้คำย่อ ทับศัพท์ วรรคตอน เครื่องหมาย และอื่นๆ รวมถึงแบบแผนของเล่ม (Stylebook)
5.ความเป็นธรรม และจริยธรรม (Moral & Code of Ethics)
พิจารณาจากความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม และความพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ
ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ
1.คุณภาพข่าว (Quality)
พิจารณาจากข้อเท็จจริงในเนื้อหาข่าว ความสมดุล ทันการณ์ ความสมบูรณ์ของข่าว และความเหมาะสมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
2.คุณค่าข่าว (Value)
พิจารณาจากเรื่องใกล้ตัว ผลกระทบเชิงมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นเรื่องสะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคม
3.ผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Impact)
พิจารณาจากศักยภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ หรือได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับหนึ่ง
4.จริยธรรมวิชาชีพ (Code of Ethics)
พิจารณาจากสำนึกในจริยธรรม และสะท้อนความรับผิดชอบในการนำเสนอ
ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ
พิจารณาใช้หลักเกณฑ์เดียวกับข่าวฝึกปฏิบัติ และพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เกณฑ์ดังนี้
1.คุณภาพข่าว (Quality)
พิจารณาจากข้อเท็จจริงในเนื้อหาข่าว ความสมดุล ทันการณ์ ความสมบูรณ์ของข่าว และความเหมาะสมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
2.คุณค่าข่าว (Value)
พิจารณาจากเรื่องใกล้ตัว ผลกระทบเชิงมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นเรื่องสะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคม
3.ผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Impact)
พิจารณาจากศักยภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ หรือได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับหนึ่ง
4.จริยธรรมวิชาชีพ (Code of Ethics)
พิจารณาจากสำนึกในจริยธรรม และสะท้อนความรับผิดชอบในการนำเสนอ
ประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ
1. มุมมองการนำเสนอ (Point of View)
2. เนื้อหาและประเด็นในการนำเสนอเช่นเดียวกับข่าวฝึกปฏิบัติ
3. ข้อเท็จจริง
4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากเรื่องที่เสนอ
5. ศิลปะการใช้ภาษาตามลักษณะสารคดีเชิงข่าว
6. น่าสนใจ ชวนติดตาม
ผลตัดสินประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557 มีสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 13 แห่ง ส่งผลงานประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติเข้าประกวด 14 ฉบับ และส่งผลงานต่างๆ เข้าประกวด ดังนี้
ตารางหนังสือพิมพ์ส่งเข้าประกวด
ลำดับที่ |
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ-2557 |
คณะ |
สถาบัน |
วันเดือนปีพิมพ์ |
1 |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 พ.ย. 57 |
2 |
มหาชัยโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.นครศรีธรรมราช |
เดือน ส.ค. 2557 |
3 |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 มิ.ย. 57 |
4 |
รังสิต |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
ปีที่ 21 ฉบับที่68 มี.ค. 57 |
5 |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 วันที่ 2 ก.พ. 57 |
6 |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่ 17 ฉบับที่42 ส.ค. 57 |
7 |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 วันที่ 26 มค.-1กพ.58 |
8 |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
ปีที่ 16 ฉบับที่ 36 ก.พ. 2558 |
9 |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิตย์ |
กุมภาพันธ์ ปี 2558 |
10 |
กำแพงแดง |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.สวนสุนันทา |
ปีที่ 20 ฉบับที่30 พฤศจิกายน 2557 |
11 |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
ปีที่25 มกราคม 2558 |
12 |
มหาวิทยาลัย |
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน |
ม.ธรรมศาสตร์ |
ปีที่57 ฉบับที่ 1 24-30 ก.ย. 57 |
13 |
อ่างแก้ว |
คณะการสื่อสารมวลชน |
ม.เชียงใหม่ |
ปีที่ 40 22 ม.ค. 58 |
14 |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
ปีที่1 ฉบับที่1 27ต.ค. 57 |
คณะกรรมการฯ พิจารณาผลงานทั้งหมด เห็นตรงกันว่า โดยภาพรวมหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตั้งแต่การเลือกการคัดสรร ความคิดริเริ่ม และการนำเสนอประเด็นข่าว การทำงานเป็นระบบมากขึ้น แต่ละฉบับมีความพยายามสะท้อนเรื่องของคนแต่ละรุ่น เป็นการกระตุ้นให้คนในยุคของตนเองให้หันมาตระหนัก หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติหลายฉบับมีการจัดรูปเล่มสวยงาม โดดเด่น ช่วยให้เนื้อหาชัดเจนและง่ายต่อความเข้าใจ การจัดวางหน้า ทั้งคอลัมน์ ภาพข่าว กราฟิก การออกแบบกราฟิกสวยงามและสื่อความหมาย ชวนติดตาม การใช้ภาพประกอบข่าวที่สื่อสารประเด็นข่าว ภาพประกอบอื่นๆ ที่มีความดึงดูดผู้อ่าน การพิสูจน์อักษรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีความหลากหลายของเนื้อหา มีจำนวนโฆษณามาสนับสนุนจำนวนมาก แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ และความอุสาหะของนิสิตนักศึกษาในการจัดทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ
การตัดสินในปีนี้ ผลคะแนนการพิจารณามีความโดดเด่นบางฉบับกลุ่มหนึ่ง และใกล้เคียงกันอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ละฉบับมีพัฒนาการและมีจุดเด่นแตกต่างกัน มีข้อสังเกตจากการพิจารณาว่า หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ปี 2557 ยังมีประเด็นคล้ายกับปี 2556 กล่าวคือ มีสัดส่วนการใช้กระดาษปอนด์หลายสถาบัน ต่างจากอดีตที่หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติใช้กระดาษปรู๊ฟเป็นหลัก การคัดเลือกข่าวหน้าหนึ่งควรจัดลำดับความสำคัญข่าว ความโดดเด่นของประเด็นหรือความคิดริเริ่มของประเด็นข่าวหลายฉบับไม่เพียงพอ การใช้ตัวอักษรในการพาดหัวข่าวให้เกิดความแตกต่างระหว่างหัวข่าวนำและหัวข่าวรอง และมีเอกลักษณ์ของฉบับตัวเอง รวมทั้งการคุมโทนสีทั้งเล่มของแต่ละฉบับ
อีกประการที่สำคัญ คือ รูปแบบและสำนวนภาษาในงานเขียน ส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างงานเขียนรูปแบบข่าว สารคดีเชิงข่าว รายงานพิเศษ บทความ มีความแตกต่างกันอย่างไร คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรให้แยกข่าว (News) กับความคิดเห็น (Opinion) ในเล่มให้ชัดเจน และเป็นการรณรงค์ในภาพใหญ่ของแนวทางวารสารศาสตร์อีกด้วย ทำให้รูปแบบการเขียนเกิดความชัดเจน แม้ว่าแบบแผน (stylebook) จะแตกต่างกัน
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่ออธิบายปรากฏการณ์เพิ่มมากขึ้น เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ดี และต้องไม่ลืมว่า อินโฟกราฟิก 1 ชิ้น เท่ากับภาพข่าว 1 ภาพ หรือข่าว 1 ข่าวเช่นกัน การออกแบบให้ตอบโจทย์ 5W’s 1H ให้ผู้อ่านเข้าใจสาระสำคัญจึงจำเป็น อีกทั้ง การให้ความสำคัญกับคำบรรยายใต้ภาพ (Caption) ในการสื่อความหมายเพิ่มเติมในประเด็นข่าว ตอบ 5 W’s 1H ไม่เพียงบรรยายในภาพเท่านั้น
ผลงานประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติที่เข้ารอบ รวม 5 ฉบับ จาก 14 ฉบับ ประกอบด้วย
1.หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
2.หนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
3.หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
4.หนังสือพิมพ์รังสิต ของมหาวิทยาลัยรังสิต
5.หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว ของมหาวิทยาลัยบูรพา โดยหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติที่ได้รับรางวัล
รางวัลดีเด่น: หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
จุดเด่น: หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มีความโดดเด่นมากทั้งเนื้อหาและการออกแบบจัดหน้า รวมถึงการรองรับแนวคิดหลอมรวมสื่อ (Convergence media) มีความหลากหลาย ตอบโจทย์สังคม ให้ความสำคัญเนื้อหาทั้งท้องถิ่นและส่วนกลาง ความใกล้ตัว ตั้งประเด็นข่าวน่าสนใจ ไม่ต้องตามกระแสข่าวหลัก ข่าวมีอินโฟกราฟิกมาช่วยอธิบาย และมีเคียงข่าวประกอบ อ่านเข้าใจง่าย อ่านสนุก เรียบง่าย ทันสมัย แต่ละข่าวจะส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ เอาใจใส่ต่อสังคม ประเด็นแสดงถึงการปรับตัวเข้ากับสมัยใหม่ แม้ว่าเป็นข่าวหนัก (Hard news) แต่ก็ไม่ใช่แนววัยรุ่นทีเดียว องค์ประกอบหนังสือพิมพ์ครบ ในรูปแบบผสมสมัยใหม่ระหว่าง Newspaper กับ Magazine และยังมี function ความพยายามในการหลอมรวมสื่อได้โดดเด่น
ภาพรวมการจัดหน้า สามารถคุมแนวคิดหลัก (Theme) ทั้งการออกแบบ โทน และสี ตลอดทั้งเล่มได้ดี เน้นศิลปะนำแต่ไม่ทำให้คุณค่าของข่าวหายไป และยังต่อเนื่องไปยังเว็บข่าวได้อีกด้วย ภาพข่าวหรือภาพประกอบข่าวที่คัดเลือกมาสื่ออารมณ์และความหมาย สามารถพัฒนาแนวคิดความเป็นขาวดำมาใช้กับแนวคิดสีได้อย่างน่าสนใจ ไม่ขัดกัน มีความเปี่ยมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ
สิ่งที่ต้องปรับปรุง: บางประเด็นข่าวมีข้อมูลไม่ทันสมัยเมื่อเทียบกับวันเผยแพร่ การจัดหน้าบางหน้าและการเขียนบางเรื่องไม่รู้ว่าเป็นข่าวหรือบทความ ประเด็นทางจริยธรรมในหัวข่าว “ขนส่งไทยไม่เอื้อผู้พิการ”
ข้อเสนอแนะ : ควรใช้ข้อมูลที่ทันสมัยให้ใกล้เคียงช่วงเผยแพร่มากที่สุด ควรแยกการจัดหน้าข่าวกับความคิดเห็นให้ชัดเจน
รางวัลชมเชย : หนังสือพิมพ์หอข่าว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จุดเด่น : ประเด็นการนำเสนอข่าวมีความทันสมัย สามารถอาศัยช่องทางโซเชียล มีเดีย เป็นกลไกในการแสวงหาข่าวและทำข่าว โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัว ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์การทำหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ (Broadsheet) การประยุกต์วิชาการเชิงประจักษ์มาใช้รายงานข่าว กระบวนการติดตามข่าวจากการสังเกตนำไปสู่การสืบค้นข้อมูลเชิงลึก ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์และนักศึกษา
การจัดรูปเล่ม โดดเด่นด้วยภาพประกอบข่าวและกราฟิก ทำได้น่าสนใจ ใช้กราฟิกมาช่วยปกป้องเด็กเมื่อใช้ภาพเด็กมาประกอบข่าว แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์และคำนึงถึงจริยธรรม
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : กระบวนการได้มาซึ่งข่าว นอกจากจะใช้โซเชียลมีเดีย ยังต้องอาศัยการลงพื้นที่ และสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่หลากหลาย ข่าวควรสั้นกระชับ การรายงานข่าวจากสำรวจหรือวิจัย ข้อมูลยังไม่ครอบคลุม ระเบียบวิธีวิจัยยังไม่ถูกต้อง ด่วนสรุปและตีความอาจทำให้เกิดอคติ เป็นไปตามที่ตัวเองตั้งไว้ คุณค่าข่าวมีความใกล้ตัว มีผลกระทบในมุมลบได้ แต่ถ้าเพิ่มประเด็นอีกฝั่งหนึ่งให้มุมมองสร้างสรรค์ต่อยอด ทำให้ยกระดับสังคม
การออกแบบจัดหน้า คุมโทนของเล่มไม่ได้ ต้องปรับปรุงดีไซน์ การจัดหน้าหนึ่งโดยเฉพาะส่วนบนต้องคำนึงถึงสายตาผู้อ่านและการจัดจำหน่าย โฆษณาปนอยู่กับข่าวอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด ตัวอักษรระหว่างบรรทัดห่างเกินไปทำให้ไม่กระชับ
การนำเสนออินโฟกราฟิกต้องพิจารณาประเด็นใดควรนำเสนอประเด็นใดไม่จำเป็นต้องเสนอ การคัดเลือกภาพเป็นการประกอบสร้าง หรือเป็นภาพจริง ควรใช้ภาพจริงแต่ถ้าหมิ่นเหม่ เช่น ภาพเด็ก ฯลฯ ภาพจริงแต่ใช้เทคนิคเบลอภาพมาช่วย รวมถึงใช้คำบรรยายใต้ภาพ ที่สะท้อนความจริง เพิ่มความน่าเชื่อถือของข่าว ภาพประกอบสารคดีภาพใหญ่แสดงถึงสื่อประเพณีได้ดี แต่ต้องไม่ลืมเลือกภาพที่สื่อถึงประเด็นสำคัญของเรื่องคือการพนัน
ข้อเสนอแนะ : 1.การเลือกข่าวนำ ของหน้าหนึ่ง มีความสำคัญจำเป็นต้องตอบโจทย์ของการทำหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ 2.การคัดเลือกข่าวและภาพ สะท้อนระบบ จึงควรให้ความสำคัญระบบกองบรรณาธิการ
รางวัลชมเชย : หนังสือพิมพ์จันทรเกษมโพสต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
จุดเด่น : ความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ของนักหนังสือพิมพ์มีความโดดเด่น ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ นักศึกษา และสังคม การสะท้อนปัญหาเรื่องใกล้ตัว มีความหลากหลายของประเด็น ประเด็นเกี่ยวข้องกับภายในองค์กร และชุมชนรอบนอก การนำเสนอข่าวและภาพข่าวมีการให้ที่มา/อ้างอิง ถือเป็นตัวอย่างมาตรฐานวิชาชีพ
การจัดรูปเล่ม ยังคงใช้รูปแบบมาตรฐานเดิม
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : ประเด็นข่าวสามารถทำประเด็นลบได้ แต่ต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหา หรือทางออก ต้องมีคำอธิบายมิติอื่นๆ เป็นการยกระดับสังคมและผู้อ่าน การสัมภาษณ์แหล่งข่าวต้องหลากหลาย และถูกต้อง รอบด้าน ความสมดุลของการรายงานข่าว การรายงานข่าวจากสำรวจหรือวิจัย ข้อมูลยังไม่ครอบคลุม ระเบียบวิธีวิจัยยังไม่ถูกต้อง ด่วนสรุปและตีความอาจทำให้เกิดอคติ รวมถึงหัวข่าว ประเด็นโฆษณากับเนื้อหาที่กองบรรณาธิการเป็นผู้สร้างสรรค์ (Advertorial) ควรทำให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด กองบรรณาธิการสามารถสร้างประเด็นเองได้
การคัดเลือกประเด็นข่าวนำ ของหน้าหนึ่ง มีความสำคัญ กองบรรณาธิการควรเอาใจใส่ น้ำหนักคุณค่าข่าว บางข่าวสามารถรวมกันได้ บางข่าวต้องนำเสนอเป็นข่าวนำ แต่เป็นเพียงข่าวหน้าใน
การนำเสนออินโฟกราฟิกจำเป็นต้องเหมือนการให้ประเด็นข่าว ไม่เป็นเพียงข้อมูลเดียวกับในข่าวเท่านั้น และให้ที่มีมากเกินความจำเป็น ระยะห่างระหว่างบรรทัดชิดกันมาก ผู้อ่านอึดอัด ต้องเว้นระยะสบายตา เว้นวรรคผิดหลายแห่ง การพิสูจน์อักษรไม่เพียงพอ การบรรณาธิกรณ์ต้องเอาใจใส่มากกว่านี้
การคัดเลือกภาพเป็นการสะท้อนปัญหาควรให้รู้ว่าปัญหานั้นอยู่ที่ไหน ภาพไม่โดดเด่น ไม่เป็นเพียงภาพประกอบ แต่เป็นภาพที่มีคุณค่าข่าว การ์ตูนต้องมีลายเส้นที่คมชัด
ข้อเสนอแนะ : ความสมดุลของข่าว สามารถทำข่าวเชิงลบได้ แต่ควรมีแนวทางแก้ไขปัญหา ทางออก หลากหลายมิติ การติดตามนำเสนอข่าวจากปีที่แล้วอาจช่วยให้ประเด็นมีความคืบหน้ามากกว่าสะท้อนปัญหาของชุมชน และตอบโจทย์สังคม ทำความชัดเจนให้สังคมได้
หนังสือพิมพ์รังสิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต
จุดเด่น : ประเด็นข่าวสะท้อนปัญหารอบมหาวิทยาลัยและชุมชน เป็นจุดแข็งและตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ มีสกู๊ป/รายงานพิเศษต่อยอดมาจากประเด็นกระแสหลัก เป็นความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ข่าวมีมิติหลากหลาย
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : การออกแบบจัดหน้า ตัวอักษรเยอะมากไป ใช้ภาพประกอบน้อยไปการใช้กราฟิกยังเป็นรูปแบบเดิม สื่อสารง่าย แต่ขาดความน่าสนใจ ประเด็นข่าวยังไม่โดดเด่น มักเป็นประเด็นต่อจากกระแสหลัก ควรเป็นประเด็นที่คิดริเริ่มใหม่ การอ้างอิงของภาพหรือกราฟิกควรบอกที่มา อินโฟกราฟิกควรเป็นข้อมูลที่ให้ประเด็นเพิ่มเติมจากในข่าว หรือภาพข่าว หรืออธิบายความซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น การใช้คำ และหัวข่าวรอง (Subhead) สื่อความหมายไม่ตรง
การจัดหน้าไม่แยกให้ชัดเจน ข่าว สกู๊ป บทความ ผู้อ่านอาจสับสน รวมถึงรูปแบบการเขียนที่ต้องให้ตรงกับประเภทของงาน
หนังสือพิมพ์ลานมะพร้าว จากมหาวิทยาลัยบูรพา
จุดเด่น : ประเด็นข่าวสะท้อนปัญหาความเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ดี มีเนื้อหาหลากหลายทั้งข่าว สกู๊ป อ่านง่าย การออกแบบจัดหน้าสะอาด เรียบง่าย สบายตา ภาพกับเรื่องไปด้วยกัน โดยเฉพาะหน้ากลาง มีความพยายามในการควบคุมโทน แต่ไม่ทั้งหมด
สิ่งที่ต้องปรับปรุง : การออกแบบจัดหน้า การบรรณาธิกรณ์ไม่สะท้อนบุคลิกหรือเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ เช่น ฟ้อนของตัวอักษร ระยะห่างช่องว่างระหว่างบรรทัด ขนาดตัวอักษร รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น
ภาพข่าวเป็นการประกอบสร้าง หรือภาพจริง ควรใช้ภาพจริง เกี่ยวเนื่องกับความน่าเชื่อถือในการนำเสนอประเด็นข่าว และจริยธรรม การเล่าเรื่องหากไม่มีภาพประกอบ อาจใช้ภาพสเก็ตช์มาประกอบก็ได้ ประเด็นเรื่องที่ไม่ได้ถ่ายภาพจากเหตุการณ์จริง ควรเป็นเพียงรายงานพิเศษ สกู๊ป หรือ สารคดีเชิงข่าว ภาพและประเด็นคนมีชื่อเสียง ให้ความสำคัญให้พื้นที่มาก แต่ไม่มีประเด็นคุณค่า อาจแสดงให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จของชีวิตที่เป็นแบบอย่าง การเขียนบรรยายใต้ภาพ (Caption) ภาพข่าวที่มีภาพซ้อนข้างใน ควรสื่อความหมาย หรือใช้บรรยายใต้ภาพ หรือใช้ภาพอุบัติเหตุในอดีตเปรียบเทียบกับภาพปัจจุบันแทน ภาพย่อยบดบังภาพหลักทำให้คุณค่าภาพลดลง
ประเด็นข่าวยังไม่โดดเด่น ความนำของข่าวไม่ตรงกับเนื้อข่าว โดยเฉพาะข่าวหน้าหนึ่ง และข่าวสิ่งแวดล้อม
ผลประกวด ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
รางวัล “พิราบน้อย” ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น ในปีนี้มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน 33 ข่าว จาก 11 มหาวิทยาลัย ดังนี้
ลำดับ |
ชื่อข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น-2557 |
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ |
คณะ |
สถาบัน |
1 |
พบทางออกแก้ปัญหากลุ่มเด็กด้อยโอกาสผ่านหลักสูตรแห่งชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพ |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
2 |
วิกฤต 14 ภาษาถิ่นกำลังสูญสะท้อนค่านิยมการใช้ภาษากลาง |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
3 |
ถ่ายสำเนาตำราเรียนสื่อละเมิดลิขสิทธิ์ร้านถ่ายเอกสารอ้างไม่ทราบผิดกฏหมาย |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
4 |
ตะลึงสถิติทำแท้งจ.มหาสารคามพุ่งสูงแพทย์เตือนอันตรายยาทำแท้งเถื่อน |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
5 |
เผยพระสงฆ์เล่นพนันบั้งไฟเพียบ ตำรวจชี้เร่งปราบปราม |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
6 |
ตะลึงอาชีพรับจ้างเรียนแทนศึกษาทั่วไปชี้ พบผิดจริงโทษหนัก |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
7 |
ชุมชนรุกที่รถไฟหวังค่าเวนคืนเป็นธรรม "ประภัสร์" ย้ำให้แค่ค่ารื้อถอนไม่ย้ายอาจถูกฟ้อง |
รังสิต |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
8 |
ทุบสะพานรับรถไฟสายสีแดงสร้างทางเบี่ยงชั่วคราวเข้าเมืองเอก |
รังสิต |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
9 |
ร้านค้าออนไลน์สร้างนักธุรกิจวัยรุ่น |
รังสิต |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
10 |
จิตแพทย์ขาดแคลนหนักคนไทยป่วยเฉียด 2 ล้าน |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
11 |
ขนส่งไทยไม่เอื้อผู้พิการจีรัฐเร่งพัฒนา |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
12 |
กาชาดเผยคนไทยบริจาคเลือดครั้งเดียวเกินครึ่ง |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
13 |
เปิดโปงธุรกิจนอกกฎหมาย บัตรนั่งรถ |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
14 |
หลักสูตรพิสดาร |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
15 |
อวสารชั่วคราวตู้ม้า |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
16 |
มือถือทำพิษวัยประถมส่องคลิป ภาพลามกแพร่ว่อนเน็ต |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
17 |
ร.พ.จ่ายยามือสอง เภสัชหวั่นไร้คุณภาพ |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
18 |
วางขายปลาฉลามเกลื่อนเมือง ทำลายระบบนิเวศเสี่ยงสูญพันธุ์ |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
19 |
ผู้ประกอบการสุดทน หาบเร่เถื่อนเกลื่อนหาดบางแสน |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
20 |
รถซิ่งป่วนบางแสนแม่ค้าวอน จนท.เข้มงวด |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
21 |
รอภาครัฐไฟเขียวสร้างแนวกันคลื่นหาดวอนนภา |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
22 |
ธุรกิจรถบัสนำเที่ยวไทยมีลุ้นเปิดเส้นทางใหม่ AEC ผู้ประกอบการห่วงทักษะภาษาคนขับรถ |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิตย์ |
23 |
คู่รักวัยเรียนระวัง นโยบายหอพักคุมเข้มวาเลนไทน์ |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิตย์ |
24 |
ปธ.สพม.2 แนะ"พลิกการศึกษา" พัฒนา รร.ชานเมือง |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิตย์ |
25 |
ไข่มนุษย์ออนไลน์ เย้ยกฎหมายคนขาย-นายหน้าอ้าง สินน้ำใจ แพทย์ชี้พลาดเมื่อใดอันตรายถึงชีวิต |
กำแพงแดง |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.สวนสุนันทา |
26 |
เจ้าหน้าที่ใช้ช่องโหว่กม.ไถส่วยร้านค้าเมียนมาร์มหาชัยร่วมพันราย |
กำแพงแดง |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.สวนสุนันทา |
27 |
แปดขวบอ้วน60กิโลฯผลจากขนมหวานหน้าโรงเรียน-ผอ.สถาบันเด็กฯชี้ไร้หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง |
กำแพงแดง |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.สวนสุนันทา |
28 |
ไวไฟขึ้นแท่นปัญหายอดแย่ |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
29 |
โดนเพื่อนลักลอบใช้เฟสบุ๊ก โพสหมิ่นฯ-หยากคาย-ขายตัว |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
30 |
รพ.แจงเหตุเก็บค่าจอดรถ |
มหาวิทยาลัย |
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน |
ม.ธรรมศาสตร์ |
31 |
ดงมูลกาฬสินธุ์ต้านเจาะ 14 บ่อก๊าซหวั่นกระทบแหล่งน้ำ |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
32 |
ขุดสำรวจปิโตรเลียมบุรีรัมย์ทำพิษ!พื้นที่การเกษตร |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
33 |
สสจ.เลยไม่ฟันธงชาวบ้านป่วยเหตุ!พิษเหมืองทอง |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
รางวัลดีเด่น : “รพ.จ่ายยามือสอง เภสัชหวั่นไร้คุณภาพ” โดยหนังสือพิมพ์หอข่าว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จุดเด่น : หยิบประเด็นจากเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนอาจมองข้าม มานำเสนอสะท้อนให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสาธารณสุขไทย ทั้งเรื่องงบประมาณของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาการจ่ายยาเกินความจำเป็นของแพทย์ ที่มาของข่าวใช้วิธีการสังเกตและตั้งคำถาม ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของนักข่าว หาแหล่งข่าวได้ครบถ้วนรอบด้าน แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำข่าวที่มีการวางแผนมาอย่างดี มีการใช้ infographic ช่วยในการอธิบายเส้นทางของยามือสอง ทำให้คนอ่านเข้าใจเนื้อข่าวได้ง่ายขึ้น
สิ่งที่ควรปรับปรุง : เนื้อข่าวยาวและไม่กระชับ ข้อมูลผิดบางจุด โดยเฉพาะงบเหมาจ่ายรายหัวของบัตรทอง ที่เขียนมาว่า 1,100-1,200 บาท/คน/ปี ทั้งที่ปัจจุบันอยู่ที่ 2,895 บาท/คน/ปี แสดงให้เห็นว่าไม่มีการตรวจสอบข้อมูลซ้ำ ทั้งที่เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ จนอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข่าว
รางวัลชมเชย : “ขนส่งไทยไม่เอื้อผู้พิการ จี้รัฐเร่งพัฒนา” โดยหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จุดเด่น : แม้ประเด็นที่นำเสนออาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จุดเด่นที่สุดของข่าวนี้ก็คือ ความพยายามในการอธิบายให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย ด้วยวิธีการเล่าเรื่องอย่างหลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ ทั้งผ่านคลิปภาพเคลื่อนไหว และ infographic มีการเปรียบเทียบข้อมูลเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกของคนพิการในระบบสาธารณะระหว่างไทยกับต่างชาติ ทำให้เห็นข้อเปรียบเทียบที่ชัดเจนมากขึ้น ผ่านการเขียนด้วยภาษาสั้น-กระชับ มีแหล่งข่าวรอบด้าน
สิ่งที่ควรปรับปรุง : ข้อมูลที่ใช้ในการทำ infographic ไม่มีการบอกแหล่งที่มาอย่างชัดเจน อาจทำให้ความน่าเชื่อถือลงน้อยลงไป และแม้ประเด็นข่าวจะไม่แปลกใหม่ แต่ถ้าหากสามารถนำเสนอมุมที่แตกต่างได้ ข่าวนี้จะยิ่งทวีความโดดเด่นมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ของข่าวแล้ว ข่าวนี้น่าจะเป็นพาดหัวไม้ของหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มากกว่าข่าวจิตแพทย์ขาดแคลนหนักฯ ที่มีข้อสังเกตเรื่องการใช้ข้อมูลเก่ามาเปิดประเด็น
รางวัลชมเชย : “เปิดโปงธุรกิจผิดกฎหมาย บัตรนั่งรถ” โดยหนังสือพิมพ์บัณฑิตย์โพสต์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
จุดเด่น : แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนที่เริ่มขาดหายไปในสื่อกระแสหลักของไทยยุคปัจจุบัน อาศัยข้อมูลจากการพูดคุยกับคนทั่วๆ ไป มาเป็นสารตั้งต้นที่นำไปสู่การลงพื้นที่ค้นหาความจริง จนทำให้ได้ข้อมูลระดับหนึ่งที่สะท้อนปัญหาเรื้อรังหนึ่งของสังคมไทย คือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต อีกข้อดีของข่าวนี้ คือการเบลอหน้าของแรงงานต่างชาติที่ปรากฎอยู่ภาพประกอบบัตรนั่งรถ แสดงให้เห็นถึงความระมัดระวังผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง
สิ่งที่ควรปรับปรุง : แหล่งข่าวยังขาดความหลากหลาย จนอาจทำให้น้ำหนักของข่าวลดลงไป และมีบางประเด็นที่ข่าวนี้ไม่ได้ตามไปจนสุด ทำให้ยังเกิดข้อสงสัยอยู่แม้อ่านจบ เช่น การที่ฝ่ายตำรวจปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการทำบัตรนั่งรถแต่เป็นเรื่องที่แรงงานถูกมิจฉาชีพหลอก ก็ควรจะตามต่อแล้วตำรวจเคยติดตามตัวคนกลุ่มนั้นมาลงโทษหรือไม่ หรือเป็นเพียงการปฏิเสธไปตามเนื้อผ้า
ผลประกวด ประเภทข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ รางวัลพิราบน้อย ประจำปี 2557
มีผลงานข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ ส่งเข้าประกวดจำนวน 27 ข่าว จากหนังสือพิมพ์ 11 มหาวิทยาลัยดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ-2557 |
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ |
คณะ |
สถาบัน |
1 |
กาแฟถุงกระดาษสร้างขยะเพิ่ม |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
2 |
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชี้สังคมออนไลน์ไม่สร้างความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์ |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
3 |
กรมควบคุมมลพิษชี้จำกัดขยะสมาร์ทโฟนด้วยการเผาส่งผลเสียต่อระบบห่วงโซ่อาหาร |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
4 |
สัมปทานปิโตรเลียมพ่นพิษชาวบ้านกาฬสินธุ์หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
5 |
ต.โคกสะอาดแหล่งแพร่ตะกั่ว นักวิชาการชี้เสี่ยงต่อเอ๋อ |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
6 |
โรงงานกระดาษปล่อยน้ำเสียลงลำน้ำพองนักวิชาการแนะปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อม |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
7 |
ผลกระทบจากการจัดคอนเสิร์ตใกล้สถานที่ธรรมชาติ |
รังสิตออนไลน์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
8 |
การก่อสร้างมลภาวะที่แลกกับการพัฒนา |
รังสิต |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
9 |
เครื่องสำอางบนความเจ็บปวดของกระต่าย |
รังสิตออนไลน์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
10 |
บ่อขยะหัวหินกลิ่นคลุ้งแถมน้ำเสียไหลลงแหล่งน้ำ |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
11 |
เกษตรกรไทยโดน2เด้งเสี่ยงป่วยเสี่ยงตาย |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
12 |
เผย 6 จุดกทม.มีฝุ่นขนาดเล็กเกินค่ามาตราฐาน |
ลูกศิลป์ |
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ม.ศิลปากร |
13 |
สัตวแพทย์ชี้เขตอภัยทาน |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
14 |
วางขายปลาฉลามเกลื่อนเมือง ทำลายระบบนิเวศเสี่ยงสูญพันธุ์ |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
15 |
พบทรมานสัตว์แบบใหม่ โยนเหรียญลงบ่อเต่า |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
16 |
เตือนภัยคาเฟ่แมวทำคนแท้ง |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
17 |
รอภาครัฐไฟเขียวสร้างแนวกันคลื่นหาดวอนนภา |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
18 |
โลตัสบางพระเปิดตัวZero Carbon Store รักษ์สิ่งแวดล้อม |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
19 |
บ่อขยะล้นเข้าขั้นวิกฤตเทศบาลฯวอนลดใช้วัสดุย่อยสลายยาก |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
20 |
พายุงวงช้าง ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิต |
21 |
คลองถม แหล่งอาชีพเสี่ยงรับสารเคมีอันตราย |
กำแพงแดง |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.สวนสุนันทา |
22 |
หวั่นปลาดุกรัสเซียสร้างผลกระทบต่อปลาบึกนักวิชาการประมงค้านช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
23 |
สกู๊ป ไขคำตอบนกตีทองหายไปไหน |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
24 |
มธ.ขยะขวดพลาสติกล้น |
มหาวิทยาลัย |
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน |
ม.ธรรมศาสตร์ |
25 |
ขุดสำรวจปิโตรเลียมบุรีรัมย์ทำพิษ!พื้นที่การเกษตร |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
26 |
ดงมูลกาฬสินธุ์ต้านเจาะ 14 บ่อก๊าซหวั่นกระทบแหล่งน้ำ |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
27 |
ชาวบ้านเดือดร้อนระนาวเขื่อนไซยะบุรีทำวุ่น น้ำโขงชะงัก |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
รางวัลดีเด่น : (ไม่มี)
รางวัลชมเชย : “วางขายปลาฉลามเกลื่อยเมือง ทำลายระบบนิเวศเสี่ยงสูญพันธ์” โดยหนังสือพิมพ์หอข่าว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จุดเด่น : หยิบประเด็นข่าวจากโลกออนไลน์มาขยายต่อจนได้ข่าวที่มีความน่าสนใจ เพราะเป็นข่าวเชิงโครงสร้างที่อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศในอนาคต นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มทุน เช่น ห้างโมเดิร์นเทรด ไม่ให้สนใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือสะท้อนช่องโหว่ของกฎหมายไทยที่ยังไม่คุ้มครองสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ
สิ่งที่ควรปรับปรุง : วิธีเขียนข่าวเยิ่นเย้อเกินไป และมีแหล่งข่าวซ้ำกัน การใช้คำพาดหัวว่า “เกลื่อนเมือง” เป็นการเหมารวม และต้องระมัดระวังการเปิดเผยรายชื่อผู้เกี่ยวข้องของฝ่ายที่ถูกกล่าวหา (ในกรณีนี้คือห้างสรรพสินค้าแมคโครฯ) เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องได้หากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพี่ยงพอ
รางวัลชมเชย : “บ่อขยะหัวหินกลิ่นคลุ้ง แถมน้ำเสียไหลลงแหล่งน้ำ” โดยหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จุดเด็น : เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ยังไม่มีวิธ๊แก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ภาษาสั้นกระชับ แหล่งข่าวครอบคลุมทุกฝ่าย มีเคียงข่าวเป็นโมเดลในการจัดการขยะในต่างประเทศ ทำให้เห็นเปรียบเทียบกับการจัดการขยะของไทย
สิ่งที่ควรปรับปรุง : ปัญหาขยะในเมืองท่องเที่ยวไม่ใช่ประเด็นใหม่นัก ขาดข้อมูลเชิงสถิติมารองรับความร้ายแรงของปัญหา เช่น หัวหินมีขยะแต่ละปีเท่าไร มีความสามารถในการจัดการปีละเท่าไร การพาดหัวข่าวไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอุทาน (!) กับคำว่า “แถม” เพราะอาจทำให้ดูเหมือนใส่ความเห็นลงไปในพาดหัว
ผลประกวด ประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ รางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี 2557
มีสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น ในปีนี้มีผลงานสารคดีเชิงข่าวส่งเข้าประกวด จำนวน 27 ชิ้น จาก 11 มหาวิทยาลัยดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ-2557 |
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ |
คณะ |
สถาบัน |
1 |
เด็กและสตรีกับสิทธิที่หายไปจากสังคม |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
2 |
วัฏจักรผู้ต้องขังกับการกระทำผิดซ้ำ |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
3 |
การล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ตัว |
บ้านกล้วย |
นิเทศศาสตร์ |
ม.กรุงเทพ |
4 |
ฝุ่นแกลบดำ ภัยร้ายจากโรงไฟฟ้าชีวมวล |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
5 |
ทุกข์คน (ใต้) เหมือง |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
6 |
สำรวจทุกข์คนเหมืองผลกระทบเหมืองแร่ทองคำ |
สื่อมวลชน |
วิทยาการสารสนเทศ |
ม.มหาสารคาม |
7 |
เกษตรเมืองความสุขที่กินได้ของคนเพียงพอ |
รังสิต |
นิเทศศาสตร์ |
ม.รังสิต |
8 |
ผืนป่าที่หายไป |
ลูกศิลป์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ศิลปากร |
9 |
ต่อลมหายใจทะเลปราณ |
ลูกศิลป์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ศิลปากร |
10 |
ทางเลือก... หัวหิน จากพลาสติกสู่น้ำมัน |
ลูกศิลป์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ศิลปากร |
11 |
ราชดำเนินถนนที่ผันแปร |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
12 |
อนาคตของเจ้านกเสียงทอง |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
13 |
พุทธพาณิชย์ |
บัณฑิตย์โพสต์ |
นิเทศศาสตร์ |
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ |
14 |
ไสยศาสตร์ออนไลน์แฟชั่นสุดฮิตของวัยทีนดิจิทัล |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
15 |
ประเพณีจางหายการพนันกลืนกิน |
หอข่าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.หอการค้าไทย |
16 |
อันตรายจากกล่องโฟมบรรจุอาหาร |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
17 |
ซั้ง... บ้านของปลา |
ลานมะพร้าว |
นิเทศศาสตร์ |
ม.บูรพา |
18 |
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแนะอย่ามองผู้หญิงแค่วัตถุทางเพศ |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิต |
19 |
เยี่ยมห้องเรียนในแคมป์ก่อสร้างเปิดใจเรือจ้างริมทาง |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิต |
20 |
จับตาOTOPไทยก้าวไกลสู่อาเซียน |
ณ เกษม |
นิเทศศาสตร์ |
ม.เกษมบัณฑิต |
21 |
การเรียนประวัติศาสตร์ ปลูกฝังนักศึกษาไทยคิดลบ |
กำแพงแดง |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.สวนสุนันทา |
22 |
Kemper ทางออกวิกฤตปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหิน |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
23 |
ครม.ไฟเขียวร่างพรบ.หอพักฉบับปรับปรุงใหม่ |
จันทรเกษมโพสต์ |
วิทยาการจัดการ โปรแกรมนิเทศ |
มรภ.จันทรเกษม |
24 |
ป่าแม่วงก์ ผืนป่าที่ยังมีชีวิต |
อ่างแก้ว |
สื่อสารมวลชน |
ม.เชียงใหม่ |
25 |
ความฝันของเด็กชายไร้สัญชาติ |
อ่างแก้ว |
สื่อสารมวลชน |
ม.เชียงใหม่ |
26 |
เกษตรพันธสัญญาเจ้ากรรมนายเวรของเกษตรกร |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
27 |
บ่อก๊าซดงมูลโศกนาฏกรรมบนแผ่นดินอีสาน |
เสียงไทบ้าน |
มนุษยศาสตร์-การสื่อสารสร้างสรรค์ |
ม.มหาสารคาม |
รางวัลดีเด่น : “ความฝันของเด็กชายไร้สัญชาติ” โดยหนังสือพิมพ์อ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จุดเด่น : มีความครบเครื่องในฐานะสารคดีเชิงข่าว ประเด็นที่นำเสนอก็เป็นปัญหาเรื้อรังของคนไร้สัญชาติที่ภาครัฐยังไม่สามารถแก้ไขได้ ใช้ภาษากึ่งวรรณกรรมสื่ออารมณ์ได้อย่างลึกซึ้ง ภาพประกอบก็ล้อไปกับเนื้อหา วิธีนำเสนอก็หลากหลาย มีการใช้ infographic ซึ่งอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลชัดเจนมาประกอบ ทำให้เนื้อหามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ควรปรับปรุง : การจัดหน้าที่ทิ้งที่ว่างมากเกินไปทำให้การอ่านไม่ลื่นไหล ทั้งๆ ที่สามารถจะช่วยผลักดันเนื้อหาให้โดดเด่นยิ่งกว่านี้ได้
รางวัลชมเชย : “ผืนป่าที่หายไป” โดยหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จุดเด่น : มีการแยกประเด็นออกเป็นหัวข้อๆ แสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนมีการประมวลความคิด ทำให้อ่านง่ายมากขึ้น
แม้ประเด็นที่นำเสนอจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนัก แต่การเล่าเรื่องที่ค่อยๆ เรียงลำดับข้อมูล ก็ชวนให้ติดตามอ่านไปจนจบ การนำเสนอเคียงข่าวเรื่องวิเคราะห์ผลกระทบภาพถ่ายดาวเทียม ก็ช่วยให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากขึ้น
สิ่งที่ควรปรับปรุง : หากปรับวิธีเขียนให้มีความเป็นวรรณกรรมมากขึ้น น่าจะช่วยเพิ่มมิติทางอารมณ์ให้กับสารคดีเชิงข่าวชิ้นนี้ได้
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ประกาศสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เรื่อง การประกวดรางวัลพิราบน้อย และรางวัลริต้า ปาติยะเสวี
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติดีเด่น ข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น
ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติดีเด่น และสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติดีเด่น
ในสถาบันอุดมศึกษาของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๕๗
หลักการและเหตุผล
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เห็นว่าการส่งเสริมให้มีการจัดทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา เป็นเครื่องมือและกระบวนการในการช่วยให้นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์และหลักสูตรด้านสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจบทบาทและภารกิจที่แท้จริงของนักหนังสือพิมพ์มากขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีการประกวดรางวัล ‘พิราบน้อย’ จึงได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ ควบคู่ไปกับการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘นักข่าวพิราบน้อย’
ปีการศึกษา ๒๕๕๗ สมาคมฯ ยังเห็นสมควรเปิดกว้างให้ข่าวฝึกปฏิบัติบนเว็บข่าวสามารถส่งประกวดในกลุ่มเดียวกันกับข่าวจากหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติได้ด้วย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติและผลงานที่ผลิตในสื่อสิ่งพิมพ์ฝึกปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์และด้านสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้องในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
๒. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษากับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๓. เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนโครงการฯ
ประเภทรางวัล
๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ (ฉบับพิมพ์หรือ Portable Document Format: PDF file ที่จัดหน้าและรูปเล่มเหมือนฉบับพิมพ์) ในสถาบันอุดมศึกษา ‘รางวัลพิราบน้อย’
๑.๑ ดีเด่น เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
๑.๒ ชมเชย ๒ รางวัล เงินรางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ (ข่าวหนังสือพิมพ์หรือข่าวออนไลน์) ในสถาบันอุดมศึกษา ‘รางวัลพิราบน้อย’
๒.๑ ดีเด่น เงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
๒.๒ ชมเชย ๒ รางวัล เงินรางวัลละ ๗,๕๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
๓. ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ (ข่าวหนังสือพิมพ์หรือข่าวออนไลน์) ในสถาบันอุดมศึกษา ‘รางวัลพิราบน้อย’
๓.๑ ดีเด่น เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
๓.๒ ชมเชย ๒ รางวัล เงินรางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
๔. สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ‘รางวัลริต้า ปาติยะเสวี’
ดีเด่น เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
หลักเกณฑ์การพิจารณา
๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ
๑.๑ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Aims & Objectives)
(๑) บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษา
(๒) ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา
๑.๒ การวางแนวคิดเนื้อหาสาระ (Theme & Contents Concept)
(๑) การนำเสนอเนื้อหาของข่าว บทความ รายงาน (สารคดีเชิงข่าว) และสารคดี
(๒) ความหลากหลายของสาระ
(๓) การใช้ภาพบุคคล ภาพประกอบ หรือภาพเหตุการณ์ทางวารสารศาสตร์
(๔) การจัดวางเนื้อหา
(๕) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
(๖) การนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้
๑.๓ แนวคิดรูปเล่ม (Lay-out & Illustration Concept)
(๑) แนวคิดหลักและแนวคิดรอง (main & minor concept)
(๒) เอกลักษณ์ (identity)
(๓) รูปเล่มเพื่อการสื่อสาร (layout for communication)
(๔) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๑.๔ การบรรณาธิกร
(๑) ภาพรวมของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(๒) การพิสูจน์อักษร
(๓) การใช้คำย่อ ทับศัพท์ วรรคตอน เครื่องหมาย และอื่น ๆ ตามหลักราชบัณฑิตยสถาน
(๔) แบบแผน (Stylebook)
๑.๕ มีความเป็นธรรม และจริยธรรม (Moral & Code of Ethics)
(๑) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
(๒) ความพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ
๒. ข่าวฝึกปฏิบัติ
๒.๑ คุณภาพ (Quality)
(๑) ข้อเท็จจริง (fact)
(๒) ความสมดุล (balance)
(๓) ทันการณ์ (timeliness)
(๔) สมบูรณ์ (5Ws 1H)
(๕) ความเหมาะสมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
๒.๒ คุณค่า (Value)
(๑) เรื่องใกล้ตัว
(๒) ผลกระทบเชิงมูลค่าทางสังคมหรือทางเศรษฐกิจ
(๓) เรื่องที่สะท้อนปรากฏการณ์สังคม
๒.๓ ผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Impact)
(๑) ศักยภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์
(๒) หรือได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับหนึ่ง
๒.๔ มีจริยธรรมวิชาชีพ (Code of Ethics)
(๑) สำนึกในจริยธรรม
(๒) สะท้อนความรับผิดชอบในการนำเสนอ
๓. ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ
๓.๑ แนวทางการพิจารณาเช่นเดียวกับข่าวฝึกปฏิบัติ
๓.๒ พิจารณาผลกระทบในการนำเสนอด้านสิ่งแวดล้อม
๔. สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ
๔.๑ มุมมองการนำเสนอ (Point of views)
๔.๒ ศิลปะการใช้ภาษาตามลักษณะสารคดีเชิงข่าว
๔.๓ เนื้อหาและประเด็นในการนำเสนอเช่นเดียวกับข่าวฝึกปฏิบัติ
๔.๔ นำเสนอบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง
๔.๕ น่าสนใจชวนติดตาม
๔.๖ ประโยชน์ที่จะได้รับจากเรื่อง ที่นำเสนอ
การส่งผลงานเข้าประกวด
๑. ต้องเป็นหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ข่าวฝึกปฏิบัติ ข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ และสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ที่จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาในหลักสูตรวิชาการหนังสือพิมพ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเผยแพร่ระหว่าง ๑ มกราคม ๒๕๕๗ - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ กรณีผลงานที่ส่งประกวดจากสิ่งพิมพ์ฝึกปฏิบัติอื่น เช่นวารสารหรือนิตยสาร ต้องระบุวันที่พิมพ์เผยแพร่ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขเวลาที่กำหนด
๒. หนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม และหนังสือพิมพ์ที่จัดหน้าและรูปเล่ม แต่แปลงเป็น PDF file โดยไม่มีการตีพิมพ์ แต่ได้นำขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ให้ส่งได้ไม่เกินสถาบันละ ๑ ฉบับ ฉบับละ ๑๑ สำเนา พร้อมบทคัดย่อเป็นคำอธิบายเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับที่ส่งเข้าประกวดมาด้วย
๓. ข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติและข่าวออนไลน์ฝึกปฏิบัติ รวมกันแล้ว ให้ส่งได้ไม่เกินสถาบันละ ๓ เรื่อง โดยจัดทำสำเนาเรื่องละ ๑๑ สำเนา
๔. กรณีส่งข่าวเดียวกันมากกว่า ๑ ประเภท เช่น ส่งทั้งข่าวฝึกปฏิบัติ และข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ จะต้องทำแฟ้มสำเนาแยกต่างหาก สำเนาเรื่องละ ๑๑ สำเนา
๕. สารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ ส่งได้ไม่เกินสถาบันละ ๓ เรื่อง เป็นเรื่องที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ หรือสิ่งพิมพ์ฝึกปฏิบัติอื่นที่จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยจัดทำสำเนาเรื่องละ ๑๑ สำเนา
๖. ส่งผลงานมายังสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๕๓๘/๑ ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๖๖๘-๙๔๒๒ ภายในวันศุกร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๐๐ น. หากเกินกว่าเวลากำหนด ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาในทุกกรณี กรณีส่งทางไปรษณีย์ จะดูตราประทับต้นทางภายในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
การตัดสิน
คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากวงการหนังสือพิมพ์และนักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ ๑๐ คน
การประกาศผล
ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพุธที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๘ อันเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ตรงกับวันหยุดมาฆบูชา)
ประกาศมา ณ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
คณะกรรมการตัดสินรางวัล “พิราบน้อย” และรางวัล “ริต้า ปาติยะเสวี” ประจำปี 2557
ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินรางวัลพิราบน้อยและรางวัลริต้า ปาติยะเสวี ข่าวฝึกปฎิบัติ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ และสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปี 2557 ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยดังนี้
1. ดร.สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ประธาน
2. ผู้แทนบริษัท ทรูคอปอร์ชั่น จำกัด มหาชน กรรมการ
3. ผศ. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการ
4. นายเสถียร วิริยะพรรณพงศา สถานีโทรทัศน์ พีพีทีวี กรรมการ
5. นายพงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ นักข่าวอิสระ กรรมการ
6. นายอดุล แดงมูล บรรณาธิการฝ่ายผลิต หนังสือพิมพ์คมชัดลึก กรรมการ
7. ผศ. อังธิดา ลิมป์ปัทมปาณี คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรรมการ
8. นายนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา บรรณาธิการศูนย์ภาพ สำนักข่าวเนชั่น กรรมการ
9. นางสาวนิภาวรรณ แก้วรากมุกข์ รองเลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กรรมการ
และเลขานุการ
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@