พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ (ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว)

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)

อาทิตย์ทิพอาภา พล อ. พิชเยนทรโยธิน ตราไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภา ผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔"
มาตรา ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ และ บรรดากฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติ นี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้

ส่วนที่ ๑ บททั่วไป

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

"พิมพ์" หมายความว่า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดย การกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็น สิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา

"สิ่งพิมพ์" หมายความว่า สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศแผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน

"หนังสือพิมพ์" หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และ ออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มี ข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม

"ผู้พิมพ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์

"ผู้โฆษณา" หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสิ่งพิมพ์และจัด ให้สิ่งพิมพ์นั้นแพร่หลายด้วยประการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยการขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจก และไม่ว่าการนั้นจะเป็นการให้เปล่าหรือไม่

"บรรณาธิการ" หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจ แก้ คัด เลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์

"เจ้าของหนังสือพิมพ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หนังสือพิมพ์

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราช บัญญัตินี้

มาตรา ๕ บุคคลผู้เดียวจะเป็นผู้พิมพ์และผู้โฆษณาสิ่งพิมพ์นอกจากหนังสือ พิมพ์หรือเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ในขณะ เดียวกันก็ได้ บุคคลดั่งระบุไว้ในวรรคก่อน เว้นแต่บรรณาธิการ จะเป็นนิติบุคคลก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่า หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน หรือ กรรมการใดซึ่งได้รับมอบหมายเพื่อการนี้ เป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้นเพื่อความ ประสงค์แห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่ผู้แทนนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่เป็นผู้ ไม่มีสิทธิหรือขาดสิทธิดั่งกำหนดในพระราชบัญญัตินี้ในอันที่บุคคลธรรมดาจะ เป็น เจ้าของหนังสือพิมพ์ ผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณา

มาตรา ๖ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สิ่งพิมพ์ ดั่งต่อไปนี้ คือ

  1. สิ่งพิมพ์ของรัฐบาลหรือเทศบาล
  2. สิ่งพิมพ์ซึ่งรัฐมนตรีกำหนด
  3. บัตร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วน ตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือกิจธุระ

มาตรา ๗ บุคคลใดประสงค์จะตรวจดู คัดสำเนา หรือให้เจ้าหน้าที่รับ รองสำเนา สมุดทะเบียน ใบอนุญาตหรือเอกสารใดเกี่ยวกับสมุดทะเบียนหรือ ใบอนุญาต นอกจากส่วนซึ่งเป็นความลับ มีสิทธิที่จะทำได้ในเมื่อได้เสียค่า ธรรมเนียมดั่งต่อไปนี้แล้ว

  1. ค่าตรวจดู และหรือคัดสำเนา แผ่นละสิบสตางค์ และรวมทั้งเรื่อง ครั้งหนึ่งไม่เกินกว่าสองบาท แต่ถ้ากระทำในหน้าที่ราชการ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

มาตรา ๘ อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจออกคำสั่งโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามการสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่ง สิ่งพิมพ์ใด ๆ อันระบุชื่อไว้ในคำสั่งนั้นโดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้

มาตรา ๙ เมื่อปรากฏว่าได้มีการโฆษณา หรือเตรียมการโฆษณาสิ่งพิมพ์ ใด ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชนเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าอาจมีคำสั่งเป็นหนังสือ แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หรือมีคำสั่งทั่วไปโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือหนังสือพิมพ์รายวัน ห้ามการขายหรือจ่ายแจกสิ่งพิมพ์นั้น ทั้งจะให้ยึดสิ่ง พิมพ์และแม่พิมพ์นั้นด้วยก็ได้ ถ้าผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้แยกยึดแต่เฉพาะส่วนของสิ่งพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ เท่าที่จำเป็น และการแยกเช่นนี้อาจทำได้ ก็ให้แยกยึดได้ แต่ค่าใช้จ่ายใน การแยกนี้ให้ผู้ร้องขอเป็นผู้เสีย ถ้าพ้นกำหนดสามปีแล้ว เจ้าพนักงานการพิมพ์มิได้ถอนการยึดสิ่งพิมพ์หรือ แม่พิมพ์ซึ่งได้ยึดไว้ เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจสั่งให้ทำลายสิ่งพิมพ์นั้นเสีย ได้แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ ส่วนแม่พิมพ์นั้นอาจสั่งให้รื้อ หรือทำโดย ประการอื่นมิให้ใช้พิมพ์ต่อไป แต่ต้องคืนตัวพิมพ์และวัตถุแห่งแม่พิมพ์ทั้ง สิ้นที่เหลืออยู่ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ

มาตรา ๑๐ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ตาม มาตรา ๙ วรรค ๑ มาตรา ๒๑ (๒) และ (๓) มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ เฉพาะที่ ให้พักใช้หรือถอนใบอนุญาตหรือให้งดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์และ มาตรา ๓๗ เฉพาะที่เกี่ยวกับผู้โฆษณานั้น ให้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งนั้น แต่การอุทธรณ์ ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์
คำสั่งของรัฐมนตรีให้ถือเป็นเด็ดขาด

เมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานพิมพ์เป็นไปโดยสุจริต แม้รัฐมนตรีจะสั่งยก หรือแก้ไขประการใดก็ตาม เจ้าพนักงานการพิมพ์ไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหาย อันเกิดแต่คำสั่งนั้น

มาตรา ๑๑ ให้ผู้พิมพ์ทำทะเบียนสิ่งพิมพ์ที่ตนได้พิมพ์ขึ้นและให้ผู้โฆษณาทำ ทะเบียนสิ่งพิมพ์ที่ตนได้โฆษณาหรือมีไว้เพื่อโฆษณาโดยทำตามแบบของเจ้าพนัก งานการพิมพ์และต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในเมื่อเจ้าหน้าที่ต้อง การตรวจ

มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานการพิมพ์กับเจ้าหน้าที่ อื่น และออกกฎกระทรวงวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราช บัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ส่วนที่ ๒ สิ่งพิมพ์นอกจากหนังสือพิมพ์

มาตรา ๑๓ สิ่งพิมพ์ซึ่งพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร ต้องมีผู้พิมพ์และผู้โฆษณา

มาตรา ๑๔ บุคคลใดจะเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาต้องมีคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๕ และไม่เป็นผู้ไม่มีสิทธิหรือขาดสิทธิตาม มาตรา ๑๖ ทั้งได้ปฏิบัติตาม มาตรา ๑๗ แล้ว

มาตรา ๑๕ คุณสมบัติของผู้พิมพ์และผู้โฆษณา คือ

  1. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และ
  2. มีถิ่นที่อยู่ประจำในราชอาณาจักร

มาตรา ๑๖ บุคคลย่อมไม่มีสิทธิหรือถ้ามีสิทธิอยู่แล้วขาดสิทธิเป็นผู้พิมพ์ และผู้โฆษณาในระหว่างเวลาที่

  1. ถูกจำคุกอยู่ตามคำพิพากษาของศาลในคดี ซึ่งมิใช่ความผิดฐาน ลหุโทษหรือความผิดฐานประมาท หรือ
  2. ถูกงดการเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา หรือเป็นผู้พิมพ์ที่ถูกงดใช้เครื่อง พิมพ์ซึ่งตนใช้พิมพ์ตาม มาตรา ๒๑ หรือถูกพักใช้หรือถอนใบอนุญาต หรือถูกงด การเป็นบรรณาธิการ ผู้โฆษณา หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ตาม มาตรา ๓๖ หรือ
  3. ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่ สมประกอบ

มาตรา ๑๗ ผู้ที่จะเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา ต้องปฏิบัติดั่งนี้

  1. แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงาน การพิมพ์ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดั่งต่อไปนี้
    (ก) ชื่อ สัญชาติ อายุ อาชีพ ถิ่นที่อยู่และการงานที่ทำหรือเคยทำ
    (ข) คำรับรองว่ามีคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๕ และไม่เป็นผู้ไม่มีสิทธิ หรือขาดสิทธิตาม มาตรา ๑๖
    (ค) เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา
    (ง) ในการที่จะเป็นผู้พิมพ์ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์ หรือสถานที่พิมพ์ ในเมื่อไม่มีที่ตั้งโรงพิมพ์ จำนวน ชนิด และลักษณะของเครื่องพิมพ์ และชื่อผู้ เป็นเจ้าของเครื่องพิมพ์
    (จ) ในการที่จะเป็นผู้โฆษณา ที่ตั้งสำนักงานของตนและชื่อ ของ สำนักงาน ถ้ามี
  2. ในการที่จะเป็นผู้พิมพ์ ถ้าเครื่องพิมพ์มิใช่ของตน ต้องส่งหนังสือ อนุญาตให้ใช้เครื่องพิมพ์ของเจ้าของไปพร้อมกัน

มาตรา ๑๘ ถ้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดตามรายการใน มาตรา ๑๗ (๑) (ก) เฉพาะชื่อ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ (ง) หรือ (จ) ได้เปลี่ยนแปลง ไป ผู้พิมพ์และผู้โฆษณาต้องแจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลง

มาตรา ๑๙ ในสิ่งพิมพ์ทุกฉบับที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร ให้แสดงปีที่พิมพ์ ชื่อผู้พิมพ์ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์หรือสถานที่พิมพ์ในเมื่อ ไม่มีที่ตั้งโรงพิมพ์ชื่อผู้โฆษณา และที่ตั้งสำนักงานของผู้โฆษณาไว้ที่ ปกหน้าหรือหน้าสำหรับบอกชื่อสิ่งพิมพ์นั้น บรรดาชื่อซึ่งต้องแสดงตามวรรคก่อน ให้ใช้ชื่อเดิม

มาตรา ๒๐ ให้ผู้โฆษณาส่งสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักรสองฉบับให้ หอสมุดแห่งชาติภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันพิมพ์เสร็จโดยไม่คิดราคาและ ค่าส่ง

มาตรา ๒๑ เมื่อได้มีการโฆษณาสิ่งพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่า อาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงาน การพิมพ์อาจดำเนินการดั่งต่อไปนี้

  1. ให้คำตักเตือนเป็นหนังสือแก่ผู้พิมพ์ และ หรือผู้โฆษณา และในการ ให้คำตักเตือนนี้ จะเรียกผู้พิมพ์และหรือผู้โฆษณาไปรับคำอธิบายด้วยวาจาและ ให้ลงลายมือชื่อรับทราบด้วยก็ได้
  2. สั่งเป็นหนังสือให้งดการเป็นผู้พิมพ์และหรือผู้โฆษณา และหรือสั่งให้ งดใช้เครื่องพิมพ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้พิมพ์นั้น มีกำหนดเวลาไม่เกิน สามสิบวัน แต่การสั่งเช่นนี้จะทำได้ต่อเมื่อได้ให้คำตักเตือนตามอนุมาตรา๑ แล้ว และผู้ถูกตักเตือนไม่สังวรในคำตักเตือนนั้น
  3. ในคราวที่มีเหตุฉุกเฉินในราชอาณาจักร หรือมีเหตุคับขันระหว่าง ประเทศหรือมีการสงคราม สั่งเป็นหนังสือให้งดการเป็นผู้พิมพ์ และหรือผู้ โฆษณา หรือสั่งให้งดใช้เครื่องพิมพ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้พิมพ์นั้น ทันทีโดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้ และจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้น ภายหลังก็ได้ตามเห็นสมควร

มาตรา ๒๒ ผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา คนใดเลิกเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา หรือ ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๕ (๒) หรือขาดสิทธิตาม มาตรา ๑๖ (๑) ต้อง แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ภายในในสิบห้าวันนับแต่วันเลิกหรือขาดคุณสมบัติหรือขาดสิทธิ

ส่วนที่ ๓ หนังสือพิมพ์

มาตรา ๒๓ หนังสือพิมพ์ซึ่งพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักรต้องมีผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของ

มาตรา ๒๔ บุคคลใดจะเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของ หนังสือพิมพ์ต้อง

  1. มีคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๕
  2. ไม่เป็นผู้ไม่มีสิทธิหรือขาดสิทธิตาม มาตรา ๑๖
  3. มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติแห่งประเทศซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทย
  4. ทำหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาแห่งประเทศของตน หากจะมีภาษาอื่นปน อยู่บ้างก็เฉพาะเป็นการทวนความ หรือการกล่าวอ้างถ้อยคำหรือสำนวนเพียง เพื่อประกอบบทประพันธ์ หรือข้อความเกี่ยวกับการโฆษณาในทางการค้า หรือ เป็นข้อความเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาภาษาโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องมีไม่มาก เกินสมควร
  5. แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงาน การพิมพ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
    (ก) ชื่อ สัญชาติ อายุ อาชีพ ถิ่นที่อยู่และการงานที่ทำหรือเคยทำ
    (ข) คำรับรองว่ามีคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๕ และไม่เป็นผู้ไม่มีสิทธิ หรือขาดสิทธิตาม มาตรา ๑๖
    (ค) เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ และในกรณีที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หรือบรรณาธิการมิใช่เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องส่ง หนังสือรับรองของเจ้าของหนังสือพิมพ์ไปพร้อมกัน
    (ง) ชื่อหนังสือพิมพ์
    (จ) วัตถุประสงค์และระยะเวลาออกหนังสือพิมพ์
    (ฉ) ภาษาที่หนังสือพิมพ์จะออก
    (ช) ที่ตั้งสำนักงานของหนังสือพิมพ์และที่ตั้งสำนักงานของผู้โฆษณา
    (ซ) ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์
  6. ในกรณีแห่งบรรณาธิการ ส่งรูปถ่ายของตนตามที่กำหนดไว้ในกฎ กระทรวงแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์พร้อมกับคำแจ้งความ ต่บุคคลที่จะเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ นั้นมีสัญชาติอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๓) ก็ดี หรือจะออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษา อื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (๔) ก็ดี บุคคลนั้นจะเป็นได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับหนังสือพิมพ์นั้นตาม มาตรา ๒๗ แล้ว
  7. (ยกเลิก)

หมายเหตุ มาตรานี้วรรคนี้ได้มีการยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการพิมพ์ (ฉบับที่ ๓)

มาตรา ๒๕ คำขออนุญาตเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของ หนังสือพิมพ์ตาม มาตรา ๒๔ วรรคท้าย ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้ แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีราชการตามมาตรา ๒๔ (๕) และ ในกรณีแห่งบรรณาธิการให้ส่งรูปถ่ายของตนตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงไปพร้อมกัน

มาตรา ๒๖ ทุกห้าปี ให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ส่งรูปถ่ายใหม่ของตน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๗ เมื่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ได้รับคำขออนุญาตอันถูกต้องตาม มาตรา ๒๕ แล้ว ให้ออกใบอนุญาตให้ภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขอ เว้น แต่เห็นว่าการอนุญาตนั้นอาจจะมีผลขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน
ถ้าไม่อนุญาตแก่ผู้ใด ให้เจ้าพนักงานการพิมพ์แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ขอ อนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขอ

มาตรา ๒๘ ในกรณีที่ขออนุญาตเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มากกว่าหนึ่ง ฉบับถ้าเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าผู้ขออนุญาตไม่น่าจะรับผิดชอบแต่ผู้เดียว ได้ ทุกฉบับตามที่ขอ จะสั่งให้อนุญาตแต่บางฉบับก็ได้

มาตรา ๒๙ ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาออกหนังสือพิมพ์ ที่ได้แสดงไว้ในคำแจ้งความตามรายการใน มาตรา ๒๔ (๕) (ง) และ (จ) นั้น ถ้าจะเปลี่ยนแปลงประการใด ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการและเจ้าของ หนังสือพิมพ์จะต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้า พนักงานการพิมพ์ก่อนวันเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

ในกรณีที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องมีใบ อนุญาตการเปลี่ยนแปลงดั่งกล่าวในวรรคก่อน ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานการ พิมพ์แล้ว คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงนั้นให้ใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ เมื่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ได้รับคำขอแล้วจะอนุญาตหรือไม่ ให้แจ้งเป็นหนังสือ ไปยังผู้ขอภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขอ

มาตรา ๓๐ ถ้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดตามรายการใน มาตรา ๒๔ (๕) (ก) เฉพาะชื่อ สัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ (ช) หรือ (ซ) ของผู้พิมพ์ ผู้ โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์คนใดได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ นั้นแจ้งความต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลง

มาตรา ๓๑ ให้หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร แสดงชื่อ และที่ตั้งสำนักงานของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ เจ้าของ ชื่อและที่ตั้ง สำนักงาน ของหนังสือพิมพ์ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์นั้นไว้ในหน้าแรก หรือหน้าหลัง บรรดาชื่อซึ่งต้องแสดงตามวรรคก่อนให้ใช้ชื่อเต็ม

มาตรา ๓๒ ให้ผู้โฆษณาส่งหนังสือพิมพ์โดยไม่คิดราคาและค่าส่งไปยังที่ ทำการเจ้าพนักงานการพิมพ์สามฉบับ และหอสมุดแห่งชาติสองฉบับในวันที่ออก โฆษณา

มาตรา ๓๓ ห้ามโฆษณาความลับของทางราชการในหนังสือพิมพ์ก่อนได้ รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

มาตรา ๓๔ เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทน มีอำนาจออกคำสั่งชั่วคราวเป็นหนังสือ แก่บุคคลใด หรือมีคำสั่งทั่วไป โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือ พิมพ์รายวันระบุห้ามการโฆษณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับราชการทหารหรือการเมือง ระหว่างประเทศ

มาตรา ๓๕ ในคราวที่ประเทศมีเหตุฉุกเฉินหรือตกอยู่ในภาวะสงคราม อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่บุคคลใดหรือ ประกาศโดยวิธีใด ให้เสนอข้อความทั้งสิ้นที่จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์ให้เจ้า หน้าที่ตรวจข่าวตรวจก่อน

มาตรา ๓๖ เมื่อได้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือ ฝ่าฝืนคำสั่งห้าม ตามความใน มาตรา ๓๔ เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจดำเนิน การดั่งต่อไปนี้

  1. ให้คำตักเตือนเป็นหนังสือแก่ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และหรือเจ้า ของหนังสือพิมพ์ ในการให้คำตักเตือนนี้จะเรียกบุคคลที่กล่าวแล้วไปรับคำ อธิบายและให้ลงลายมือชื่อรับทราบด้วยก็ได้
  2. สั่งเป็นหนังสือให้ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และหรือเจ้าของหนังสือ พิมพ์เสนอเรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์ต่อไปให้เจ้าหน้าที่ ตรวจ ข่าวตรวจก่อนมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบห้าวัน แต่ในการสั่งเช่นนี้จะทำได้ก็ต่อ เมื่อได้ให้คำตักเตือนตาม (๑) แล้ว และผู้ถูกตักเตือนไม่สังวรในคำตักเตือนนั้น
  3. ในคราวที่มีเหตุฉุกเฉินภายในราชอาณาจักร หรือมีเหตุคับขัน ระหว่างประเทศหรือมีการสงครามจะสั่งเป็นหนังสือแก่บุคคลใดให้เสนอเรื่อง หรือข้อความที่จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์ต่อไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก่อน หรือ สั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ และหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ซึ่งอยู่ ในความรับผิดชอบของผู้นั้นทันที โดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้และจะสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นภายหลังก็ได้

มาตรา ๓๗ เมื่อผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์หลาย ฉบับถูกตักเตือนหรือต้องเสนอเรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์ฉบับ ใดเพื่อตรวจก่อนโฆษณา ถ้าหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นในความรับผิดชอบของตนได้ โฆษณาเรื่องคล้ายคลึงทำนองเดียวกันนั้นอีก เจ้าพนักงานการพิมพ์มีอำนาจสั่ง ให้เสนอหนังสือพิมพ์ ฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทุกฉบับในความรับผิดชอบของผู้นั้น เพื่อตรวจก่อนโฆษณาได้ทีเดียว

มาตรา ๓๘ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์คนใดไม่พอ ใจในคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว จะอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีก็ได้ แต่ต้อง อุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็น อันเด็ดขาด แต่ในระหว่างรอคำสั่งอยู่นั้นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ตรวจข่าว ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้รัฐมนตรีสั่งภายในสามวัน ในจังหวัดอื่น ให้สั่งภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

มาตรา ๓๙ ถ้าผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ใดได้รับ คำสั่งเป็นหนังสือให้เสนอหนังสือพิมพ์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจก่อน แต่ หนังสือพิมพ์นั้นยังออกโฆษณาโดยมิได้เสนอต่อเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก็ดี ลงข้อ ความซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวมิได้อนุญาตให้โฆษณาตามพระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือ ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก็ดี เจ้าพนักงานการพิมพ์ อาจมีคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามโฆษณาหนังสือพิมพ์ที่ละเมิดนั้นต่อไป และจะให้ยึด หนังสือพิมพ์นั้นทั้งหมดก็ได้ และเมื่อยึดแล้วให้นำบทบัญญัติใน มาตรา ๙ วรรค ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๐ หนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องราชการคลาดเคลื่อนจากความ จริงและอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ กระทรวงหรือกรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องในเรื่องนั้นหรือกรมโฆษณาการ หรือเจ้าพนักงานการพิมพ์อาจสั่งเป็น หนังสือ ให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้นแก้เองหรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือ ปฏิเสธเรื่องนั้น ภายในวันเวลาที่กำหนดให้แต่ต้องเป็นวันเวลาที่พอจะทันพิมพ์ หนังสือพิมพ์นั้นซึ่งจะออกโฆษณาต่อไป

มาตรา ๔๑ หนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องเกี่ยวแก่บุคคลใดคลาดเคลื่อน จากความจริง และอาจจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นอาจแจ้ง เป็นหนังสือขอให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้นแก้เอง หรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้ หรือปฏิเสธเรื่องนั้น การแก้หรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องที่ว่า นี้ จะต้องพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาต่อไปจากเวลาที่ได้รับคำขอดั่งกล่าวแล้ว หรือฉบับที่ถัดไป เมื่อได้แก้หรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้ หรือปฏิเสธเรื่องที่ว่านี้โดย ถูกต้องแล้วสิทธิในการฟ้องของบุคคล ผู้ขอแก้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นอัน ระงับลง

มาตรา ๔๒ ถ้าข้อความที่ให้แก้หรือหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องตาม มาตรา ๔๐ หรือ มาตรา ๔๑ นั้นขัดกับกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการเสียดสี หรือผู้ขอให้แก้มิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ของตนให้ชัดเจน บรรณาธิการก็ไม่ต้องแก้ หรือนำลงพิมพ์

มาตรา ๔๓ เรื่องหรือข้อความที่ให้แก้หรือหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธตาม มาตรา ๔๐ หรือ มาตรา ๔๑ นั้นบรรณาธิการจะต้องแก้หรือพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ นั้น โดยครบถ้วนในคราวเดียว และต้องให้อยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็น เหตุการณ์ให้แก้หรือปฏิเสธนั้น เรื่องหรือข้อความที่ให้แก้หรือหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธตามวรรคก่อนต้อง นำลงพิมพ์ให้โดยไม่เรียกค่าธรรมเนียม แต่หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธนั้น ต้อง ไม่เกินกำหนดดั่งต่อไปนี้

  1. ถ้าเรื่องอันเป็นเหตุที่ขอให้ลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธนั้นมีอยู่ ไม่ถึงครึ่งหน้า(คอลัมน์) หรือครึ่งหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธ ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งแนวหรือหนึ่งหน้าหนังสือพิมพ์นั้น แล้วแต่กรณี โดยมีขนาด แนวและตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน
  2. ถ้าเรื่องอันเป็นเหตุที่ขอให้ลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธนั้นมีอยู่ ตั้งแต่ครึ่งแนวหรือครึ่งหน้าพิมพ์ขึ้นไป หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธต้องไม่เกิน กว่าสองเท่าของเรื่องนั้น แล้วแต่กรณี โดยมีขนาดแนวและตัวอักษรในเนื้อ เรื่องเช่นเดียวกัน

ถ้าหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องเกินกำหนดที่ว่ามานี้ เมื่อได้ออกโฆษณา แล้วเจ้าของหนังสือพิมพ์มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมเฉพาะในส่วนที่เกินจากผู้ ขอ ให้ลงพิมพ์ ตามอัตราค่าแจ้งความตามปกติได้
สิทธิขอให้แก้หรือลงหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธดั่งว่ามานี้ เป็นอันระงับลง ภายหลังหกเดือน นับแต่วันที่หนังสือพิมพ์นั้นออกโฆษณา

มาตรา ๔๔ ผู้ที่ได้แจ้งความหรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ใด ถ้าหนังสือพิมพ์นั้นมิได้เริ่มออกโฆษณา ภายในกำหนดเวลาหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้แจ้งหรือวันที่ได้รับใบอนุญาตแล้วแต่ กรณี การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นเป็น อันสิ้นสุดลง

มาตรา ๔๕ หนังสือพิมพ์รายวัน ถ้ามิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็นระยะ เวลาสามสิบวัน หรือหนังสือพิมพ์รายคาบ ถ้ามิได้ออก โฆษณาต่อเนื่องกันเป็น ระยะเวลาสี่คราวหรือเกินกว่าสองปี การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง

มาตรา ๔๖ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์เลิก เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ใดที่ตนเป็นอยู่หรือ ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๕ (๒) หรือขาดสิทธิตาม มาตรา ๑๖ (๑) ต้อง แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันเลิกหรือขาดคุณสมบัติ หรือขาดสิทธิในกรณีที่มีใบ อนุญาตให้คืนใบอนุญาตนั้นด้วย

ส่วนที่ ๔ ความผิดและบทกำหนดโทษ

มาตรา ๔๗ เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติใน มาตรา ๕๔ และ มาตรา ๖๐ ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ใดครอบครองเครื่องพิมพ์อยู่ผู้นั้นเป็นผู้พิมพ์ผู้ โฆษณา

มาตรา ๔๘ เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้น ด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์นอกจากหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบท ประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัว ผู้ประพันธ์ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์ เป็นตัวการ ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันและบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย

มาตรา ๔๙ ในกรณีที่นิติบุคคลได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือ กระทำความผิดใด ๆ ด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับผิด ด้วยเท่าที่ตนได้กระทำ

มาตรา ๕๐ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจ เปรียบเทียบให้คดีเลิกกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๕๑ สิ่งพิมพ์ซึ่งอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนได้ประกาศ ห้ามตาม มาตรา ๘ นั้น

  1. ผู้ใดสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
  2. ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจก มีความผิดต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท สิ่งพิมพ์ที่ว่านี้ ให้ริบเสีย

มาตรา ๕๒ ผู้ใดขาย เสนอ จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจก สิ่งพิมพ์ซึ่ง เจ้าพนักงานการพิมพ์ได้ห้ามการขายหรือจ่ายแจก ตาม มาตรา ๙ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

มาตรา ๕๓ ผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาคนใด

  1. ละเลยไม่ทำหรือไม่แสดงทะเบียนซึ่งเป็นหน้าที่ของตนตาม มาตรา ๑๑ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าสิบบาท
  2. จงใจทำทะเบียนซึ่งเป็นหน้าที่ของตนตาม มาตรา ๑๑ เท็จในสาระ สำคัญมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท

มาตรา ๕๔ ผู้ใดกระทำการในหน้าที่เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา โดยฝ่าฝืน บทบัญญัติ มาตรา ๑๔ หรือในระหว่างถูกงดเป็นผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณาหรือใช้ เครื่องพิมพ์ซึ่งตนรู้อยู่แล้วว่าถูกงดตาม มาตรา ๒๑ มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท

มาตรา ๕๕ ผู้ใดจงใจแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ในการแจ้ง ความเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณาตาม มาตรา ๑๗ หรือในการแจ้งความหรือขออนุญาต เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ตาม มาตรา ๒๔ หรือ มาตรา ๒๕ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือจำคุก ไม่เกินสองเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา ๕๖ ผู้ใดละเลยไม่แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ตามหน้าที่ ของตนตาม มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๒ มาตรา ๓๐ หรือ มาตรา ๔๖ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท

มาตรา ๕๗ ถ้าได้มีการโฆษณาสิ่งพิมพ์ซึ่งมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตาม มาตรา ๑๙ หรือ มาตรา ๓๑ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณามีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าสิบบาทสำหรับความผิดคราวหนึ่ง

มาตรา ๕๘ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์คนใด ฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา ๒๙ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท

มาตรา ๕๙ ผู้โฆษณาคนใดละเลยไม่ส่งสิ่งพิมพ์ให้แก่หอสมุดแห่งชาติ ตาม มาตรา ๒๐ หรือไม่ส่งหนังสือพิมพ์ให้แก่เจ้าพนักงานการพิมพ์หรือหอสมุด แห่งชาติ ตาม มาตรา ๓๑ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบสองบาท

มาตรา ๖๐ ผู้ใดทำการในหน้าที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา ๒๔ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา ๒๗ หรือระหว่างที่ใบอนุญาตได้ถูกพักใช้หรือถูกถอน หรือระหว่างที่ถูก งดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ตาม มาตรา ๓๖ หรือภายหลังที่การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ ได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา ๔๔ หรือ มาตรา ๔๕ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่ เกินสี่ร้อยบาท

มาตรา ๖๑ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ใดไม่ส่งรูปถ่ายใหม่เมื่อครบระยะ เวลาห้ามปีตาม มาตรา ๒๖ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบสองบาท

มาตรา ๖๒ บรรณาธิการหรือผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์คนใดฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา ๓๓ หรือฝ่าฝืนคำสั่งของอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนตาม มาตรา ๓๔ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาทหรือจำคุกไม่เกิน สามเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๓ เมื่อหนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องหรือข้อความซึ่งต้องเสนอ เพื่อตรวจก่อนโฆษณาตาม มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ (๓) หรือมาตรา ๓๗ ใน กรณีที่เกี่ยวเนื่องกับ มาตรา ๓๖ (๓) โดยเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวยังมิได้อนุญาต ให้โฆษณา หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ผู้โฆษณาและ บรรณาธิการมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่ เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ใด ซึ่ง โฆษณาโดยกระทำผิดดั่งกล่าวในวรรคก่อน โดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือพิมพ์นั้นได้ ออกโดยกระทำผิด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา ๖๔ เมื่อหนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องหรือข้อความซึ่งต้องเสนอ เพื่อตรวจก่อนโฆษณาตาม มาตรา ๓๖ (๒) หรือ มาตรา ๓๗ ในกรณีที่ไม่เกี่ยว เนื่องกับ มาตรา ๓๖(๓) โดยเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวยังมิได้อนุญาตให้โฆษณาหรือ ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ผู้โฆษณา และบรรณาธิการ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ใด ซึ่ง โฆษณาโดยกระทำผิดั่งกล่าวในวรรคก่อน โดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือพิมพ์นั้นได้ ออกโดยกระทำผิด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท

มาตรา ๖๕ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ใดละเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบ ถ้วน ในการแก้ข้อความหรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องตาม มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ หรือ มาตรา ๔๓ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง ร้อยบาท

ส่วนที่ ๕ บทเฉพาะกาล

มาตรา ๖๖ ผู้ซึ่งมีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์อยู่ก่อนวันใช้ พระราชบัญญัตินี้ไม่จำต้องปฏิบัติตาม มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๔ (๕) และ มาตรา ๒๔ วรรคท้าย จนกว่าจะพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้