คู่มือการรายงานข่าวความมั่นคง (ถอดเทปสัมมนาต่างๆ)
///////////////////////////////////////////////////////////////////
โครงการสื่อสันติภาพ
คู่มือรายงานข่าวความมั่นคง
ผู้รับผิดชอบโครงการ :
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
องค์กรสนับสนุน :
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองทัพบก
สารบัญ
หน้า
สาส์น
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(คุณผุสดี คีตะวรนารถ)
ประธานโครงการสื่อเพื่อสันติภาพ ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
(พระไพศาล วิสาโล)
คำนำ (คุณภัทระ คำพิทักษ์) สารบัญ
บทนำ (ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ)
- ที่มาของการจัดทำคู่มือ
- ความสำคัญ
- นิยามศัพท์
- ความมั่นคง
- การประชาสัมพันธ์ของรัฐ
- การปฏิบัติทางจิตวิทยา
- ผู้ก่อการร้าย
- อาชญากร
- สงครามจิตวิทยา
- การโฆษณาชวนเชื่อ
- จิตวิทยามวลชน
- ข่าวลือ
- ความปลอดภัย
- ภาพเหมารวม
- แหล่งข่าว
- ฝ่ายตรงข้าม
- ผู้ก่อความไม่สงบ
- ขบวนการ
- แนวร่วม
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ทหาร / ตำรวจ / ฝ่ายปกครอง)
- ผู้สื่อข่าว (ท้องถิ่น / ส่วนกลาง)
- ฝ่ายความมั่นคง (ตำรวจ / ทหาร)
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความมั่นคง (ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ)
- ลักษณะของความมั่นคง
- องค์ประกอบของความมั่นคง
บทที่ 2 หลักการและกระบวนการจัดการข่าวสารในสถานการณ์ (ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ)
- ประเภทของสถานการณ์การณ์ ยกตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ครอบคลุมภาวะวิกฤติอื่นๆ เช่น น้ำท่วม, ซึนามิ
- ลักษณะทั่วไปของสถานการณ์ความวิกฤติ
- ความหมายและเป้าหมายของการจัดการสถานการณ์วิกฤติ
- แนวคิดหลักการบริหารการสื่อสารในสถานการณ์วิกฤติ
- หลักการของการให้ข่าวเพื่อความน่าเชื่อถือจากสาธารณชน
- ประเภท ระดับ เนื้อหา และขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของบุคคลผู้ให้ข่าว
- ระดับการเปิดเผยของข้อมูลข่าวสารของผู้ให้ข่าว
- คุณลักษณะที่ดีของผู้ให้ข่าวความมั่นคง
- คุณลักษณะที่ดีของนักข่าวความมั่นคง
- การสื่อสารที่มีส่วนร่วม ( Two – way Communication )
- ลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่ควรเผยแพร่แกสาธารณชนผ่านสื่อมวลชน
บทที่ 3 แผนปฏิบัติการเชิงบทบาทของแหล่งข่าว (อ.วิไลวรรณ จงสุขเกษม)
- นิยามความหมายแหล่งข่าวในแง่ความมั่นคง
- แสดงลำดับขั้นตอน อธิบายประกอบด้วยแผนภาพ
- ครอบคลุมถึง เนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลาที่เหมาะสม อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จำเป็นแก่นักข่าว กำหนดการแถลงข่าว ระบุผู้รับผิดชอบแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน
- แนวปฏิบัติ หรือสิ่งที่ผู้ให้ข่าวควรระมัดระวังในการให้ข่าวในระหว่างเหตุการณ์วิกฤติเป็นข้อๆ
- รายชื่อทีม และผู้ให้ข่าว ประเภทและระดับเนื้อหา ( ข้อมูล ) ที่รับผิดชอบ พร้อมการติดต่อสื่อสาร
- มีแผนผัง (Diagram) โครงสร้างและบทบาทของแหล่งข่าวฝ่ายต่างๆ ประกอบ เช่น ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
บทที่ 4 แผนการปฏิบัติการเชิงบทบาทของสื่อและนักข่าว (อ.วิไลวรรณ จงสุขเกษม)
- แสดงลำดับขั้นตอน อธิบายประกอบด้วยแผนภาพ
- ครอบคลุมถึง เนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลาที่เหมาะสม การนำเสนอข่าวสาร
- แนวปฏิบัติ หรือสิ่งที่ผู้ให้ข่าวควรระมัดระวังในการให้ข่าวในระหว่างเหตุการณ์วิกฤติเป็นข้อๆ เช่น พื้นที่ที่เข้าได้ ความปลอดภัย
- ประมวลแนวปฏิบัติ และแถลงการณ์ขององค์กรวิชาชีพสื่อที่มนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรายงานข่าวกับความมั่นคง เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ , สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
- แนวปฏิบัติของ BBC
- ข้อกำหนดบทบาทของนักข่าวในสถานการณ์จากฝ่ายทหาร
บทที่ 5 สาระสำคัญกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและจรรยาบรรณ (ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ)
- พระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ ข้อมูลจากสภาทนายความ
- คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 187 / 2546 เรื่อง นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี สถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2546 - 2549) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ภาคผนวก
ภาคผนวก 1 ทำเนียบองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง (คุณพิเชษฐ์ ชูรักษ์)
ทั้งระดับประเทศ ระดับพื้นที่ เช่น
- ชื่อองค์กร
- บุคคลที่ติดต่อได้
- หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร
- เวบไซต์
ภาคผนวก 2 ศำศัพท์เชิงวัฒนธรรม (คุณพิเชษฐ์ ชูรักษ์ จาก นสพ.โพสต์ทูเดย์)
(ร่างคู่มือข่าวความมั่นคง)
บทนำ
คู่มือการรายงานข่าวความมั่นคง
ที่มาของการจัดทำคู่มือ
จากเหตุการณ์นักศึกษาพม่าบุกจับตัวประกันในสถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ นักรบชายแดนก็อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี สื่อมวลชนไทยทุกแขนงถูกตั้งคำถามและถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักหน่วงทั้งในระดับชาติและสากล และล่าสุดสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทุกภาคส่วนถูกท้าทาย และถูกตั้งคำถามจาก “ความไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น” ในสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าว แน่นอนวงการสื่อมวลชนต้องตกเป็น “จำเลย” สำคัญอีกครั้ง ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มอุณหภูมิของความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งเหตุและผลจาก “ความไม่รู้” จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญให้กับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในการทบทวน วิพากษ์บทบาท หน้าที่ และการทำข่าวของสื่อมวลชน โดยมีความมุ่งหวังเพื่อถอดประสบการณ์ออกมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่พลังขับเคลื่อน และการแก้ปัญหาของสังคมได้อย่างเข้มข้น ที่ไม่เพิกเฉยต่อความมั่นคงแห่งชาติ และให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งมนุษย์เป็นที่ตั้ง
สมาคนนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนโครงการจากมูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ และโครงการสื่อเพื่อสันติภาพ ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) จึงร่วมกันจัดให้มีโครงการจัดทำ “คู่มือรายงานข่าวความมั่นคง” ขึ้น และเพื่อให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น จักต้องใช้การผสานองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย โครงการสื่อสันติภาพ : คู่มือรายงานข่าวความมั่นคง จึงได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อระดมผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน มาให้ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรายงานข่าวสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่ในการศึกษาและสร้างคู่มือรายงานข่าวความมั่นคงขึ้น
วัตถุประสงค์
- สร้างคู่มือข่าวความมั่นคง เพื่อให้สื่อระมัดระวังกับสถานการณ์อ่อนไหว ที่ทับซ้อนระหว่างความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงแห่งมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
- สร้างคนทำงานด้านสื่อเพื่อสันติภาพและความมั่นคง ที่มีศักยภาพในการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแนวทางสันติวิธีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และทั่วประเทศ
- เปิดมุมมองใหม่ให้กับคนทำงานสื่อมวลชนเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปสื่อในสังคมไทย
- สร้างเครือข่าย รวบรวมและประสานจัดการมุมอง คนและระบบอื่นๆ ให้กับคนและระบบสื่อ เพื่อก้าวข้ามทัศนะ มุมมองในการสื่อสารแบบเดิม
- สร้างกระบวนการในการทบทวนสถานการณ์ องค์ความรู้เดิม และสร้างความรู้ชุดใหม่ๆ อันเกิดจากการให้ความสำคัญกับเสียง ประสบการณ์ การเคลื่อนไหว วิถีชีวิตและการแสดงออกของคนทำงานสื่อ คนในพื้นที่ และคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงและความขัดแย้งนี้
กระบวนการจัดทำคู่มือ
มีการจัดระดมความเห็นและจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญฝ่ายต่างๆ ทั้งจากกองทัพ ฝ่ายความมั่นคง ภาควิชาการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ทั้งในส่วนกลาง และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างน้อย 2 ครั้ง “ผล” ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว จะเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำ คู่มือรายงานข่าวความมั่นคง ที่ผสานกับองค์ความรู้จากทุกส่วน หลังจากได้ร่างคู่มือดังกล่าวแล้ว เห็นสมควรให้มีการจัดเวทีระดมความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงความถูกต้อง เหมาะสม อันนำไปสู่ “หลักสูตรนักข่าวเพื่อความมั่นคง” รวมทั้งเปิดห้องเรียนอบรมผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน นักวิชาการด้านการสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญจากกองทัพ ฝ่ายความมั่นคง ศูนย์รักษาความปลอดภัย สันติบาล หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ภาคประชาชน เป็นต้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- 1. ได้คู่มือและหลักสูตรรายงานข่าวความมั่นคง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้สื่อระมัดระวังกับสถานการณ์อ่อนไหว ที่ทับซ้อนระหว่างความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงแห่งมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ
- ได้สร้างคนทำงานด้านสื่อเพื่อสันติภาพและความมั่นคง ที่มีศักยภาพในการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแนวทางสันติวิธีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และทั่วประเทศ
- สามารถเปิดมุมมองใหม่ให้กับคนทำงานสื่อมวลชน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปสื่อในสังคมไทย
- สร้างเครือข่าย รวบรวมและประสานจัดการมุมอง คนและระบบอื่นๆให้กับคนและระบบสื่อ เพื่อก้าวข้ามทัศนะ มุมมองในการสื่อสารแบบเดิม
- สร้างกระบวนการในการทบทวนสถานการณ์ องค์ความรู้เดิม และสร้างความรู้ชุดใหม่ๆ อันเกิดจากการให้ความสำคัญกับเสียง ประสบการณ์ การเคลื่อนไหว วิถีชีวิตและการแสดงออกของคนทำงานสื่อ คนในพื้นที่ และคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงและความขัดแย้งนี้
ผู้รับผิดชอบและองค์กรสนับสนุน
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองทัพบก
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวกับการรายงานข่าวความมั่นคง
- ความมั่นคง
- การประชาสัมพันธ์ของรัฐ
- การปฏิบัติทางจิตวิทยา
- ผู้ก่อการร้าย
- อาชญากร
- สงครามจิตวิทยา
- การโฆษณาชวนเชื่อ
- จิตวิทยามวลชน
- ข่าวลือ
- ความปลอดภัย
- ภาพเหมารวม
- แหล่งข่าว
- ฝ่ายตรงข้าม
- ผู้ก่อความไม่สงบ
- ขบวนการ
- แนวร่วม
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ทหาร / ตำรวจ / ฝ่ายปกครอง)
- ผู้สื่อข่าว (ท้องถิ่น / ส่วนกลาง)
- ฝ่ายความมั่นคง (ตำรวจ / ทหาร)
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////