บันทึกคนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง


บันทึกคนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง
วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2551 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น 3
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


7oct Book

บันทึก คนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง เป็นหนังสือพอคเก็ตบุ๊ค จัดพิมพ์โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีธีรเดช เอี่ยมสำราญ หัวหน้าข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เป็นบรรณาธิการ รวบรวมนักข่าวและช่างภาพจากหลายสำนักที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม มาเขียนความจริงจากสิ่งที่เห็น ตอบคำถามหลักๆ ว่าคุณ(นักข่าวและช่างภาพ) อยู่ตรงไหน เห็นอะไร เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของคนทำข่าวกว่า 20 ชีวิตที่เสี่ยงตายอยู่ในสนามข่าว จะจัดงานเปิดตัวใน วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2551 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

พบกับ

กวี จงกิจถาวร บรรณาธิการเครือเนชั่น
มุมมองของนักข่าวอาวุโสกับการทำข่าวในภาวะวิกฤต
ธีรเดช เอี่ยมสำราญ
บรรณาธิการหนังสือบันทึกคนข่าว 7 ตุลา
ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง หนังสือพิมพ์ประชาติธุรกิจ
ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เสถียร วิริยะพรรณพงศา
สำนักข่าวเนชั่น
รวมทั้งนักข่าวนักเขียนหนังสือบันทึกคนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง

ดำเนินรายการโดย

อิศรินทร์ หนูเมือง
นักข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

พิเศษ

สำหรับผู้เข้าร่วมงาน รับสิทธิพิเศษซื้อหนังสือลดราคา 20 % จากเล่มละ 190 บาท เหลือเล่มละ 150 บาท

บันทึกคนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง (ดาวโหลดหนังสือ)
ธีรเดช เอี่ยมสำราญ บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2551
หนา 288 หน้า ราคา 190 บาท
จัดพิมพ์โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โทร. 02-668-9422
ดำเนินการผลิตโดย สำนักพิมพ์มติชน โทร. 02-580-0021 ต่อ 1335
จัดจำหน่ายโดย บริษัทงานดี จำกัด 02-580-0021 ต่อ 3305-6

บันทึกคนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง เป็นหนังสือพอคเก็ตบุ๊ค จัดพิมพ์โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีธีรเดช เอี่ยมสำราญ หัวหน้าข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เป็นบรรณาธิการ รวบรวมนักข่าวและช่างภาพจากหลายสำนักที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม มาเขียนความจริงจากสิ่งที่เห็น ตอบคำถามหลักๆ ว่าคุณ(นักข่าวและช่างภาพ) อยู่ตรงไหน เห็นอะไร เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของคนทำข่าวกว่า 20 ชีวิตที่เสี่ยงตายอยู่ในสนามข่าว

ภายในเล่มลำดับเนื้อหาตั้งแต่การจัดทำลำดับเหตุการณ์นาทีต่อนาทีการสลายม็อบ หน้ารัฐสภา เมื่อ 7 ตุลาคม 2551, ข้อเขียนของนักข่าวและช่างภาพจากจุดเกิดเหตุครบทุกสถานการณ์, แถลงการณ์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ, บทนำของหนังสือพิมพ์สะท้อนความเห็นต่อการสลายการชุมนุมและภาพข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ

บันทึกคนข่าว 7 ตุลา ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 7 ตุลา ที่สด ครอบคลุมทุกจุดเกิดเหตุ สะท้อนถึงจิตวิญญาณของความเป็นนักข่าวที่ต้องทำหน้าที่ในภาวะวิกฤต

หนังสือวางแผงแล้ว ผู้สนใจสามารถหาซื้อหนังสือได้ตามร้านหนังสือทั่วไป

{xtypo_quote}“บางที...ถ้าให้เลือกเพลงประกอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม “เพลงชาติ” น่าจะเหมาะสมที่สุด”{/xtypo_quote}
ธนก บังผล (หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ)

{xtypo_quote}“ผมทำใจไม่ได้ ผมไม่อยากถ่ายรูป ผมไม่อยากเก็บภาพคนไทยทะเลาะกัน ขอจำไว้ก็พอ”{/xtypo_quote} จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง (หนังสือพิมพ์แนวหน้า)

{xtypo_quote}“เสียงลั่นกระสุนเงียบหาย ความมืดปกคลุมทั่วแผ่นฟ้า ตำรวจใหญ่เข้าห้องประชุมเครียด นักข่าวแต่ละฉบับก้มหน้าพิมพ์ข้อมูลส่งต้นสังกัด”{/xtypo_quote} วัสยศ งามขำ (หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์)