ภาคีเครือข่าย 39 องค์กร ร่วมจัดเวทีสัมนาไฮบริดเนื่องในวาระ “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” (International Fact-Checking Day 2021) “ความท้าทายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกัน”
เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 ที่โรงแรมศิวาเทล ภาคีร่วมจัดเวทีสัมนาโฮบริดเนื่องในวาระ “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” (International Fact-Checking Day 2021) “ความท้าทายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกัน”
โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายเฟดเดอริค ชปอร์ หัวหน้าสำนักงานประเทศไทยและพม่า มูลนิธิฟรีดริช เนามัน(FNF) ตัวแทนองค์กรร่วมจัดเวทีเสวนากล่าวเปิดงาน โดยในงานได้มีปาฐกถา เรื่อง “การตรวจสอบข่าวลวงในภาวะวิกฤติรอบโลก” โดย Baybars Orsek ผู้อำนวยการเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล director of nternational Fact-Checking Network (IFCN)
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 เม.ย.2563 ข่าวลวงกำลังคุกรุ่นในสังคมอย่างหนัก กลุ่มภาคีจึงได้อาศัยในช่วงดังกล่าวในการเปิดตัวกลุ่มภาคี Fact-Checking จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นระยะเวลาเกือบ การเปิดตัวในครั้งนั้นได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ปัญหา พร้อมทั้งยืนยันว่าหากทำอย่างจริงจังจะสามารถแก้ปัญหา Fact-Checking ได้ และหากนำ Super-corrector ไปแก้ข่าวลวงจะสามารถแก้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ทันถ่วงที แม้แต่สถานการณ์โควิด WHO มี Chang Fusion ทำใหม่ออกมาโดยทางภาคี Fact-Checking ใช้เครือข่ายคมแฟกเพื่อแก้ปัญหานี้ ทั้งยังเป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาข่าวลวง ข่าวหลอก แต่ทางภาคีไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ ยังคงเดินหน้าขยายคนทำงาน เป้าหมายหลักเพื่อมุ่งหวังที่จะให้ทุกคนในสังคมตื่นรู้ เข้าใจ และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ร่วมกัน ในวันดังกล่าวถือว่าเป็นโอกาสดีในการจัดงานเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จะขยายงานต่อ ในอนาคตงาน Fact-Checking จะต้องตอบโจทย์สังคม
รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ปัจจุบันข่าวลวงแพร่ไปทั่วโลกทางภาคี Fact-Checking จึงได้เห็นความสำคัญกับเรื่องนี้ ละยินดีที่ได้มีส่วนกับภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมในวันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างมีสติ เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม ลดความตระหนกกลัวในความเท็จต่างๆ และก้าวสู่สังคมที่สันติ
นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภารกิจของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในช่วงหลังนี้ จะจัดอบรมนักข่าวในสถาการณ์ความขัดแย้ง และการการอบรมพิราบน้อยให้กับนักศึกษาชั้นปี 3-4 เพื่อขึ้นมาเป็นพิราบใหญ่(ผู้สื่อข่าว) สิ่งที่ทางสมาคมฯ ได้สอดแทรกในการอบรมคือการตรวจสอบ Fact News เพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเนื้อหาข่าวได้มากขึ้น โดยปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้เชิญ TJA มาร่วมตรวจสอบข่าวลวงด้วยการตั้งบรรณาธิการ(บก.) เฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อตรวจสอบข่าวมืออาชีพ โดยปกติจะเห็นเมื่อเกิดเหตุข่าวลือ ข่าวลวง จะเป็นเพียงเอกสารชี้แจงจากหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่มีการโค้ดคำพูด
แต่สมาคมนักข่าวจะตั้งกอง บก. ขึ้นมา หากพบว่ามีข่าวลวงเกิดขึ้นทางสมาคมนักข่าวฯ จะช้าชีพของการเป็นนักข่าวในการตรวจสอบข่าว มีตำแหน่งที่ชัดเจนในหน่วยงานนั้น เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงให้กับสังคม และการอธิบายข่าวสารได้อย่างตรงไปตรงมา เป็นสิ่งที่สมาคมนักข่าวฯ ให้ความสำคัญ โดยมองว่าข่าวลวงไม่ใช่แต่แชร์กันอย่างสนุกสนาน บางข่าวสามารถฆ่าคนได้ หากเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และหน่วยงานใดต้องการให้สมาคมนักข่าวฯ ตรวจสอบข่าวลวง ข่าวหลอก สามารถส่งมาได้ที่กอง บก.TJA
ขณะที่ นาย Baybars Orsek ผู้อำนวยการเครือข่ายองค์กรตรวจสอบสากล กล่าวปาฐกถา เรื่องการตรวจสอบข่าวลวงในภาวะวิกฤติรอบโลก" โดยนำเสนอประสบการณ์การทำงานการตรวจสอบข่าวลวงที่เกิดขึ้นในเครือข่ายของ IFCN โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนักตรวจสอบข่าว (Fact Checker) ซึ่งในแต่ละประเทศ ต้องมีการทำงานเชื่อมโยงและส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกัน ในปีนี้ถือเป็นวันที่ดีในการร่วมกันตรวจสอบข่าวลวง และมีการเฉลิมฉลองในหลายๆ เมือง เช่น ลอนดอน โรม รวมไปถึงประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งในอนาคต IFCN อยากจะขยายความร่วมมือไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทำให้ส่งผลดีต่อผู้รับสารในการที่จะลดการรับข้อมูลข่าวลวง โดยเฉพาะในสถานการณ์โรคระบาดที่การตรวจสอบข่าวลวงและหาต้นตอยากกว่าการหาต้นตอโรคระบาดเสียอีก ทั้งนี้ในอนาคต IFCN ยังคงมุ่งเน้นการทำงานในการลดการสร้างข่าวลวง รวมถึงในประเทศไทยที่สร้างความร่วมมือมากขึ้นอีกด้วย เพื่อสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับข่าวลวง
ด้านน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟคประเทศไทย กล่าวต่อว่า การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีองค์กรภาคีร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวันตรวจสอบข่าวลวงโลกในปีนี้ มีทั้งภาควิชาการ วิชาชีพภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐ ทั้ง 39 องค์กร เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมทั้งในเชิงวิชาการกิจกรรมสัมมนากับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ร่วมกันตลอดทั้งปีจาก 2 เมษายน 2564 ถึง 2 เมษายน 2565 ถือเป็นปีแห่งการรณรงค์ตรวจสอบข่าวลวง
ทั้งนี้ในเวทีมีการจัดเสวนาโอกาสและอุปสรรค การตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศไทย ซึ่งนำเสนอบทเรียนการทำงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ในประเทศไทย โดย น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ในยุคที่ทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ การแชร์ข้อมูลข่าวสาร ข้อความ รูปภาพ ส่งผลกระทบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน สุขภาพ หรือการใช้ชีวิต การเชือ่ข้อมูลที่ผิด ไม่มีแหล่งอ้างอิง ในด้านของการเมืองก็อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ความขัดแย้ง เพิ่มมากขึ้นในสังคม ซึ่งอยากให้ประชาชน สื่อมวลชน ต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง ก่อนที่จะแชร์ข้อมูลข่าวสารนั้นออกไปต้องหาแหล่งอ้างอิง ต้องช่วยกันแก้ไขหากข้อมูลนั้นเป็นเท็จ โดยวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ 39 องค์กรที่ร่วมกันรณรงค์ เพื่อต่อยอดการใช้เทคโนโลยีให้เป็นข้อมูลที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ ทั้งนี้อยากให้ทุกคนเปลี่ยนความคิดใหม่ คือก่อนจะแชร์อะไรต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อน
จากนั้น น.ส.สายใจ เลี้ยงพันธุ์สกุล ผู้อำนวยการองค์กร Phandeeyar แถลงประกาศเจตนารมณ์ในวันตรวจสอบข่าวลวงโลก ว่า จากวันที่ 2 เมษายน ของทุกได้รับการจัดให้เป็นที่วันตรวจสอบข่าวลวงโล หรือ International Fact-Checking Day 2021 ที่ประกาศโดยเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสาร National Fact-Checking Network- IFCN ที่มีสมาชิกเป็นองค์กรตรวจสอบข้อมูลข่าวสารครอบคลุมในหลายประเทศทั่วโลก เน้นประเด็นข้อมูลสุขภาวะโดยเฉพาะในยุคโควิด-19 ประเด็นข่าวเชิงวารสารศาสตร์ และ ข่าวสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งหวังว่าผู้คนในสังคมจะให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงและการครวจสอบข้อเท็จจริงกันให้มากขึ้นในยุคดิจิทัลที่ข่าวลือข่าวลวงเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วไม่มีจุดจบสิ้น
"39 องค์กร ขอประกาศเจตนารมณ์ในการทำงานร่วม เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวของสังคม ส่งเสริมทักษะและเครื่องมือให้กับพลเมืองยุคดิจิทัลในการรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร ขยายชุมชนตรวจสอบข่าวลวงให้กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและมีความเข้มแข็ง ทั้งในภาคีสถาบันการศึกษา องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรสื่อมวลชน เป็นต้น เชื่อมั่นว่าข้อเท็จจริง และ ความเข้มแข็งของภาคพลเมือง จะช่วยทำให้สังคมไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานของการไตร่ตรอง ใช้เหตุผล มีวิจารณญาณ เพื่อลดผลกระทบด้านลบยุคข้อมูลข่าวสาร รวมถึงลดความขัดแย้งอันเนื่องจากความเข้าใจผิดด้วยเช่นกัน” น.ส.สายใจ กล่าว.
นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) กล่าวถึงในประเด็นการตรวจสอบข่าวลวงบนสื่ออนไลน์ที่มีความแตกต่างกันส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งการเผยแพร่ข่าวลวงไม่สามารถครอบคลุมทุกพื้นที่ได้จริงๆ ข่าวลวงจึงระบาดเป็นวงจรเรื่อย ๆ การที่ใช้แพลตฟอร์มให้เกิดประโยชน์จะช่วยทำให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น โดยต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท กล่าวถึงหลักการทำงานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์จะการสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดวิธีคิดต่อคนเสพสื่อให้เข้าใจมากขึ้น ทำให้สามารถจำแนกการทำงานได้ รวมถึงเข้าใจสถานะการเป็นไปในการหาความจริง ซึ่งสุดท้ายแล้วต้องสร้างภูมิคุ้มกันในการรับข่าวลวง โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่เกิดในยุค Digital Native”