สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอเชิญนักข่าว นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปผู้สนใจร่วม งานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564 หัวข้อ “สื่อไทยในวิกฤติโควิด-19 เข้าใจ เรียนรู้ ปรับตัว” ซึ่งจะจัดทุกวันเสาร์ในเดือนพฤศจิกายน ถ่ายทอดสดบนเพจ(facebook) ช่องยูทูป(youtube) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมี เนื้อหาดังนี้
1. เรื่อง 2ปี "โควิด" New Normal กับสื่อสารฉากทัศน์อนาคต วันเสาร์ที่ 13 พ.ย. 64 เวลา 10.00-12.00 น.
วิทยากร
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
นิมิตร์ เทียนอุดม คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เกษมสันต์ วีรกุล บรรณาธิการบริหาร เพื่อวางกลยุทธ์สื่อสาร ศบค.
นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG)
ผู้ดำเนินรายการ สุชาดา นิ่มนวล ผู้ประกาศข่าวช่อง พีพีทีวี
2. เรื่อง การนำเสนอข่าวของสื่อ ในช่วงโควิด-19 วันเสาร์ที่ 20 พ.ย. 64 เวลา 10.00-12.00 น.
วิทยากร
พีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท.
นิรันดร์ เยาวภาร์ ผู้จัดการออนไลน์
ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จักร์กฤษ เพิ่มพูล กรรมการนโยบาย ไทยพีบีเอส
ผู้ดำเนินรายการ บรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการจริยธรรมวิชาชีพ สมาคมฯ
3. เรื่อง "วิธีการทำ ข่าวแบบ Data J ในช่วงโควิด-19" วันเสาร์ที่ 20 พ.ย. 64 เวลา 13.00-15.00 น.
วิทยากร
ธนพล บางยี่ขัน อิสระ
ชนิตา งามเหมือน www.onlinenewstime.com
กิตตินันท์ นาคทอง ผู้จัดการ 360 องศา
กานต์ อุ่ยวิรัช Data Craftsman & Technical Coach, ODDS
ประเมศฐ์ ศตประสิทธิ์ชัย นักวิจัย อิสระ
พุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท Data Research Manager
ผู้ดำเนินรายการ อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ รายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand และ ดร.พรรณี อมรวิพุธพนิช ชมรมเครือข่ายนักสื่อสารข้อมูลเชิงลึกแห่งประเทศไทย
4. เรื่อง "เล่า(แชร์)เรื่องราวการทำข่าวโควิดด้วย Data J ผ่านกรณีศึกษา"วันเสาร์ที่ 20 พ.ย.64 เวลา 15.00-17.00 น.
วิทยากร
อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา บรรณาธิการบริหาร ไทยรัฐออนไลน์
พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโส The Matter
อรุชิตา อุตมะโภคิน บรรณาธิการข่าว ThaiPBS (The Active)
นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหารข่าว WorkpointToday
ผู้ดำเนินรายการ ภัทราวดี ธีเลอร์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
5.. เรื่อง "โควิด" ข้อมูลที่ประชาชนอยากรู้ VS ข่าวที่สื่ออยากทำ วันเสาร์ที่ 27 พ.ย. 64 เวลา 10.00-12.00 น.
วิทยากร
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค
ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ที่ปรึกษาโครงการ Media Alert TMF
ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศบค.
กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส
ผู้ดำเนินรายการ
สุชาดา นิ่มนวล ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี
การจัดกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน การจัดการองค์ความรู้สื่อมวลชนในสถานการ์โควิด-19 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้ สถาบันการศึกษา และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคตต่อไป จึงขอเชิญท่านที่สนใจสามารถเข้าชมได้เนื้อหาได้ที่
ผ่านช่องทางเพจ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/activityoftja
และช่องยูทูป สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย https://www.youtube.com/channel/UC1vpvZd9vI8OV2wA8bleYyg
โครงการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๖ ประจำปี ๒๕๖๔
หัวข้อ “สื่อไทยในวิกฤติโควิด-19 เข้าใจ เรียนรู้ ปรับตัว”
เดือน พฤศจิกายน พศ. ๒๕๖๔
จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
จัดเวทีเสวนาวิชาการผ่านระบบซูม หรือออนไลน์
เผยแพร่ช่องทางเพจ และยูทูป สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการทำงานของสื่อในหลากหลายแง่มุม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ในการจัดการองค์ความรู้ สื่อมวลชนในสถานการณ์โควิด-19 โดยแบ่งเนื้อหาได้เป็นสี่ด้าน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง และในขณะเดียวกันส่งผลกระทบต่อวิถีใหม่ของการทำงานสื่อมวลชน ได้แก่
๑. สภาวะข่าวสาร และสภาวะแวดล้อมของสังคมที่เกี่ยวข้อง (context) ในช่วงสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 อาทิ ไทม์ไลน์ของสถานการณ์โควิด /เรื่องของการเมืองในข่าวโควิด / นโยบายรัฐ การออกพรก. ต่างๆ แนวปฏิบัติ กฎระเบียบ /การจัดระเบียบข่าวสารภาครัฐ / เรื่องของภาพรวมสังคม/ ข้อเท็จ -ความจริง -ความเชื่อ / การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ
๒. กระบวนการทำงานข่าว (Media Process)ภายใต้สภาวะแวดล้อมเชิงบริบทและสถานการณ์ โควิด และปัจจัยที่ในองค์กรที่เอื้อ/ไม่เอื้อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานข่าว อาทิ การทำงาน แบบ WFH สำหรับงานข่าว / เทคนิคในการทำงานข่าวใหม่/ กำลังคน / ปริมาณของข่าวสาร/ความใหม่และขาดความรู้ในเชิงวิชาการของเนื้อหา / การตรวจสอบข้อมูล/ การบูรณาการการทำงาน/ การใช้เทคนิคแบบ Data Journalism หรือ Investigative Journalism / ความเชื่อที่อาจเป็นปัญหาในการทำงาน เช่น การตั้งธงในการนำเสนอข่าว / สวัสดิการของแต่ละองค์กรสื่อมีให้กับบุคลากรของตนเอง และความปลอดภัยในการทำงานข่าว / การจัดการองค์กรและจัดการองค์ความรู้ในสถานการณ์โควิด / และ กรณีสำเร็จต่างๆที่สามารถนำมาเป็นบทเรียนได้รวมทั้งความแตกต่างในการทำงานข่าวในสภาะปกติ และสภาวะโควิดที่น่าสนใจต่างๆ
๓. การนำเสนอข่าวที่เป็นผลผลิต (output) จากการทำงานของสื่อในสภาวะเฉพาะนี้ อาทิ การพาดหัว สีสันและความคลาดเคลื่อนไปจากสาระสำคัญของเนื้อหา พาดหัวที่ไม่มีในเนื้อหา/ ความสมดุลของการนำเสนอเนื้อหา / เนื้อหาข่าวที่จำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบเพื่อให้ความรู้แก่ผู้รับสาร/การใช้ข้อมูลจากสื่อสังคมมาเป็นแหล่งข่าว/ ในสภาวะวิกฤติโควิด ความแตกต่างระหว่างข่าวจริงกับข่าวปลอม /ความเร็ว และความถูกต้องในการนำเสนอข่าวสาร / จริยธรรมในการเสนอข่าว ในสภาวะวิกฤติโควิด
๔. ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้รับสาร (audience) ในสถานการณ์วิกฤติโควิด อาทิ ความต้องการในการรับรู้ข่าวสาร /ช่องทางในการรับรู้ข่าวสาร /ความคิดเห็นต่อการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน/ ความพึงพอใจที่มีต่อข่าวสารโควิดและประโยชน์ที่ได้รับ/ ข่าวสารที่จำเป็นต้องได้ ควรได้ เมื่อเปรียบเทียบกับข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชน
การจัดการองค์ความรู้สื่อมวลชนในสถานการ์โควิด-19 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้ สถาบันการศึกษา และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดย ‘เครือข่ายวิชาชีพและวิชาการวารสารศาสตร์’ ได้จัดประชุมเครือข่ายในรูปแบบการสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านวารสารศาสตร์ แล้วทั้งสิ้น ๑๕ ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ ๑ หัวข้อ ‘ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์’ วันศุกร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
- ครั้งที่ ๒ หัวข้อ ‘Convergence Newsroom’ วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ครั้งที่ ๓ หัวข้อ ‘การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring Media in the Convergence Era) วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ครั้งที่ ๔ หัวข้อ ‘ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม’ วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
- ครั้งที่ ๕หัวข้อ ‘คนเปลี่ยน สื่อปรับ รุก-รับ อย่างไร’ วันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- ครั้งที่ ๖ หัวข้อ ‘ASEAN Journalism & Education’ วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
- ครั้งที่ ๗ หัวข้อ ‘ตำราวารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นซ์’ วันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ครั้งที่ ๘ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ ปฏิรูปหลักสูตร’ วันศุกร์ที่ ๑๗-วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ครั้งที่ ๙ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว: ทิศทางการพัฒนาบุคลากรสื่อ’ วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- ครั้งที่ ๑๐ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว ทุน-อุดมการณ์การปรับตัวของนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล” ในวันอังคารที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ครั้งที่ ๑๑ หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต” วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ครั้งที่ ๑๒ หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?” วันศุกร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
- ครั้งที่ ๑๓ หัวข้อ “สมดุลสื่อ สัมพันธ์ธุรกิจ” วันพุธที่๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดี)
- ครั้งที่ ๑๔ ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค ๔.๐” ในวันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดี)
- ครั้งที่ ๑๕ ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมเปลี่ยนโลก” จะจัดในวันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย-ส.ส.ท. (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดี)
จะจัดครั้งที่ ๑๖ ภาคใต้หัวข้อ “สื่อไทยในวิกฤติโควิด -19 เข้าใจ เรียนรู้ ปรับตัว” ช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ จัดเวทีเสวนาวิชาการผ่านระบบซูม เผยแพร่ช่องทางเพจ และยูทูป สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสาร และความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน
๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน
รายละเอียดของโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน นักศึกษา
รูปแบบดำเนินการ
จัดเวทีเสวนาวิชาการ ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
เดือน ๑-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เนื้อหาส่วนหนึ่งหนังสือวันนักข่าว ปี ๒๕๖๕
๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน
๔. สร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีจากการมีสื่อที่คุณภาพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๒. คณะทำงานยุทธศาสตร์เพื่อวารสารศาสตร์แห่งอนาคต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต อันเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ ๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน