เปิดเสวนาวิธีทำข่าวแบบ Data J ช่วง “โควิด” หนุนนักข่าว “อัพสกิล-รีสกิล” ใช้เครื่องมือบันทึกฐานข้อมูล พัฒนาการรายงานข่าวในอนาคต

วันที่ 20 พ.ย. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564 หัวข้อ "วิธีการทำข่าวแบบ Data J ในช่วงโควิด-19" โดยมีธนพล บางยี่ขัน สื่อมวลชนอิสระ , ชนิตา งามเหมือน จาก www.onlinenewstime.com , กิตตินันท์ นาคทอง จากผู้จัดการ 360 องศา , กานต์ อุ่ยวิรัช จาก Data Craftsman & Technical Coach, ODDS , ประเมศฐ์ ศตประสิทธิ์ชัย นักวิจัยอิสระ และพุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท จาก Data Research Manager เป็นวิทยากรผู้บรรยาย

เริ่มต้นธนพล บางยี่ขัน สื่อมวลชนอิสระ กล่าวว่า กรณีที่เคยทำประเด็นข่าวคนล้นคุกที่ทำกัน ก็เริ่มจากตั้งประเด็นขึ้นมาโดยไปหาปรากฎการณ์ ที่มาของนักโทษในแต่ละปีมาจากสาเหตุอะไร และจำนวนเพิ่มขึ้นจากอะไร รวมถึงสัดส่วนปริมาณพื้นที่ของเรือนจำจะเพียงพอหรือไม่ ซึ่งข้อมูลดิบที่มาจากกรมราชทัณฑ์ ก็มีทั้งหมด จึงต้องรวบรวมข้อมูลแต่ละด้านออกมานำเสนอ เพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคม ไม่อยากให้คนล้นคุก และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในอนาคตได้ โดยผ่านจัดระเบียบหมวดหมู่ของทีม Data ที่มีจำนวนมาก เพื่อนำข้อมูลรายงานข่าวเป็นระบบ

"ส่วนเรื่องโควิดที่ผ่านมาถือว่าหาข้อมูลยากมาก เพราะข้อมูลอยู่ต่างหน่วยงาน แต่อาจเห็นการตื่นตัวเรื่องอินโฟ ผ่านการดีไซต์สวยๆ แบบต่างประเทศ เพื่อให้การนำเสนอมีพลังมากขึ้น แต่ข้อมูลภาพใหญ่ไม่ค่อยมาก เนื่องจากข้อมูลที่มีกระจัดกระจายที่จะต่อเป็นภาพใหญ่"ธนพล กล่าว

ธนพล กล่าวด้วยว่า ส่วนการทำให้นักข่าวสามารถบันทึกข้อมูลในโปรแกรมเชิงดาต้าถือว่าทำยาก เพราะต้องใช้เวลาทำ แต่ก็สามารถนำประเด็นไปต่อยอดได้จากข้อมูลที่มี พร้อมกับกาาดูนโยบายภาครัฐในการเปิดประเทศ หรือการฉีดวัคซีน การนำเข้าวัคซีนเพื่อนำข้อมูลส่วนนี้ไปตรวจสอบภาครัฐ และนำไปสู่การแก้ปัญหาโควิด แต่เราไม่มีฐานข้อมูลจริงว่าตัววัคซีนเข้ามาแล้วหรือนำไปกระจายอย่างไร ซึ่งภาครัฐเองอาจเป็นต้นตอเฟคนิว จึงต้องมีการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐด้วย

ด้านชนิตา งามเหมือน จาก www.onlinenewstime.com กล่าวว่า ทีมงานผ่านมามีการรวบรวมข้มูลเรื่องโควิดตั้งแต่ปี 2563 แต่ข้อมูลที่มีค่อนข้างละเอียดมาก จึงต้องนำชุดข้อมูลมาจัดทำให้ง่ายขึ้น โดยนำเสนอกราฟผู้ติดเชื้อแยกตามรายภาคแต่ละจังหวัดและกลุ่มอาชีพ นอกจากนี้จากกการพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปี 2563 จึงนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่าตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างไร โดยพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อมีมากถึง 202 % จากนั้นต้องทำข่าวด้วยการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ สกัดข้อมูล และนำเสนอ

"ส่วนเรื่องการทำข่าวแบบ Data J เป็นท้าทายที่เป็นเรื่องสนุกจากข้อมูลที่มีรายละเอียดจำนวนมาก และถ้านักข่าวไฝ่รู้ก็สามารรถเรียนรู้จากโปรแกรมต่างๆ ได้ และขอให้หน่วยงานต่างๆสนับสนุน เพื่อช่วยกันพิสูจน์ข้อเท็จจริง และแก้ปัญหาเฟคนิว แต่ที่ผ่านมาอยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลมากขึ้นด้วย"ชนิตา กล่าว

ขณะที่กิตตินันท์ นาคทอง จากผู้จัดการ 360 องศา กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ได้ไปประเด็นข่าวการจัดซื้อภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ก็มีอุปสรรคในการเปิดข้อมูลออกมาไม่หมด ทำให้การประมวลผลเป็นไปอย่างลำบาก จากเดิมเข้าค้นข้อมูลจากเว็ปไซต์ "ภาษีไปไหน" แต่กลับเป็นข้อมูลที่ได้มาเศษเสี้ยวเดียว แต่ถ้าเรามี Data ครบถ้วน เราจะได้เห็นการจัดซื้อจัดจ้างว่ามีบริษัทไหนเข้ามาจัดซื้อมากที่สุดมีวิธีอย่างไร อาทิ ตั้งแต่การบิดดิ่ง หรือไม่มีผู้แข่งขัน

กิตตินันท์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องโควิดนั้น สื่อหลักโฟกัสไปที่ยอดผู้ป่วยรายใหม่แต่วันมาจากข้อมูลของ ศบค. รวมถึงยังมีข้อมูลการฉีดวัคซีนจากกระทรวงสาธารณาสุขแต่ละจังหวัด ซึ่งตนเห็นว่าการฉีดวัคซีนเป็นเรื่องน่าสนใจการฉีวัคซีน แต่ช่วงหนึ่งมีการตั้งข้อสังเกตประเด็นวัคซีนการเมือง ว่ามีบางจังหวัดได้รับการจัดสรรวัคซีมากกว่าจังหวัดที่พบการระบาดมากในจังหวัดอื่น หรือการดูหุ้นของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่มีข่าวการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด ก็นำรูปแบบมานำเป็นวิดีโอ โดยการไปตรวจสอบการซื้อหุ้นในช่วงนั้น โดยเชื่อมโยงว่าใครซื้อหุ้นเท่าไหร่ และมีข่าวด้านใดที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น

"ส่วนตัวมองว่าเรื่องการนำ Data J ต้องนำเสนอให้โดนใจคนอ่าน ส่วนในอนาคตอยากให้องค์กรสื่อทำฐานข้อมูลกลางให้นักข่าวนำข้อมูลมาต่อยอดได้ เพราะทุกวันนี้นักข่าวต้องทำงานแข่งกับเวลา ต้องทำหลายสกิล จึงควรมีองค์กรกลาง ทำฐานข้อมูลให้นักข่าวนำไปค้น Data ให้ดูได้ง่าย เพื่อนำไปเสนอเป็นข่าวเหมือนรูปแบบห้องสมุดไปหาข้อมูล"กิตินันท์ ระบุ

มาที่ กานต์ อุ่ยวิรัช จาก Data Craftsman & Technical Coach กล่าวว่า สำหรับการเก็บข้อมูลในช่วงโควิดมาจากหลาวแหล่งเป็นอย่างมาก แต่การใช้ข้อมูลจากฝั่งนักพัฒนามีการรวบรวมสถานการณ์โควิดในประเทศไทย มาจัดทำเป็นกราฟ การรักษา การฉีดวันซีนแต่ละเข็ม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการหรือรัฐบาลเห็นว่า การแก้โควิดจะดำเนินการไปทิศทางไหน นอกจากนี้ ยังมีการรวมรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวบรวมสถานการณ์โควิดให้มาใครก็ดึงข้อมูลตรงนี้ได้ ส่วนความร่วมมือกับนักพัฒนากับนักข่าวควรจะมีความร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของกันและกัน ในการเช็คแหล่งที่มาและการเขียนโค้ด โดยเฉพาะต่างคนต่างทำหน้าที่ที่ถนัดถ้าจะมาร่วมมือกันจะเป็นเรื่องดี

ด้านพุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท จาก Data Research Manager กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิดมีการทำข้อมูลขึ้นมา อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค แต่บางข้อมูลไม่มีจากภาครัฐ แต่มีการสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาให้ประชาชนกรอกข้อมูล อาทิ นำข้อมูลไปใส่ในแผนที่เพื่อทราบว่าผู้ติดเชื้ออยู่ที่ใด แต่ในบ้านเรามีข้อมูลหลากหลาย ทั้งส่วนกลาง หรือผ่านเฟซบุ๊คเป็นภาพของจังหวัดทำให้เราเสียเวลาในส่วนนี้ เนื่องจากการใช้ข้อมูลมูลมีมากมาย จึงต้องเริ่มจากการอ่านข้อมูล หรือเริ่มตั้งคำถามจากข้อมูลที่เห็นจากนักข่าวแต่ละสาย จากนั้นค่อยสร้างชิ้นงานให้ออกมาได้

ประเมศฐ์ ศตประสิทธิ์ชัย นักวิจัยอิสระ กล่าวว่า จากข้อมูลที่มีมากมาย อาทิ กรณี 7 วันอันตรายก็พบว่าสื่อหลายแหล่งมีตัวเลขไม่ตรงกัน ทำให้ไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลที่จริงอยู่ที่ใด ทำให้สายโปรแกรมเมอร์ต้องถามว่า ข้อมูลน่าเชื่อถือแค่ไหน

ส่วนการทำข้อมูลดฝ Data สถานการณ์โควิด หากเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนได้ จะเห็นว่าการฉีดวัคซีนจะมีกราฟขึ้นหรือลง หรือการฉีดวัคซีนแบบไหนแล้วผลเป็นอย่างไร ป่วยหนักหรือไม่ สูตรไขว้มีคุณภาพหรือไม่ เพื่อทำให้เราวิเคราะห์ได้ แต่เราไม่มีข้อมูลตรงนี้

ประเมศฐ์ กล่าวถึงการทำ Data j จากที่รูปแบบการทำงานแต่ละอาชีพจะมีองค์ความรู้ต่างกัน ทั้งนักข่าว โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักสถิติ แต่นักข่าวสามารถเรียนรู้ข้อมูลได้โดยทำ Data ด้วยตนเองจากข้อมูลที่ง่ายๆ จากโปรแกมมีทั้งเสียเงินและฟรี เพราะต้องถือว่า นักข่าวเป็นตั้งโจทย์ได้เก่ง จึงต้องอาศัยประสบการณ์แต่ละวิชาชีพเข้ามาช่วยตรงนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่านักข่าวสามารถใช้เครื่องมือเหล่า เพื่อประมวลผลเป็นข้อมูล เพื่อให้นักข่าวและโปรแกรมเมอร์เป็นการอัพสกิล หรือรีสกิลเพื่อไม่ให้ดิสรัปชัน

สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อมวลชน การจัดการองค์ความรู้สื่อมวลชนในสถานการ์โควิด-19  ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้ สถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต