ถอดบทเรียน “วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน” การใช้สื่อในการสู้รบ

“ สงครามไม่เคยมีความชอบธรรม อยู่ที่ว่าการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อแล้วครอบงำความคิดเห็นของคุณว่านี่คือสงครามที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม จริงๆแล้วรัสเซียสามารถยูร่วมกันกับยูเครนได้อย่างสันติ หากผู้นำยูเครน เลือกใช้กลวิธีในการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ยั่วยุด้วยการประกาศจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ หรือการจัดซื้ออาวุธจำนวนมหาศาล แน่นอนคุณรู้อยู่แล้วว่าจะกระทบความมั่นคงของรัสเซียแต่คุณก็เลือกที่จะเดินหน้าทำ เพราะคิดว่าสมาชิกนาโต้จะช่วยเหลือคุณทันควัน แต่ผลสุดท้ายเขาก็จะเห็นว่าไม่ใช่ ดังนั้นความชอบธรรมไม่มี แต่อยู่ที่เหตุผลเท่านั้นเอง ……”

ตอนนี้ “สื่อ” ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมกับความไม่ชอบธรรมในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก บางคนที่เป็นผู้รู้อย่างสื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ออกมาเตือนว่านี่เป็นเรื่องของ “สงครามสื่อสารมวลชน” หรือ “สงครามโฆษณาชวนเชื่อ” บุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์ อดีต บก.ต่างประเทศ นสพ.คมชัดลึก และกรรมการชมรมนักหนังสือพิมพ์อาวุโส วิเคราะห์กรณีเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โดยระบุว่า แต่ตั้งแต่วันแรกที่รัสเซีย รับรอง สองสาธารณรัฐที่แยกตัวเป็นเอกราช และส่งทหารเข้าไปโดยเรียกว่ากองกำลังสันติภาพ ซึ่งจะเห็นว่าสื่อตะวันตกมีความระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษามาก มีการตั้งข้อสังเกตว่า ใช้คำว่ารุกรานหรือไม่ เพราะตอนนั้นวิธีการนี้ เป็นวิธีการใหม่ที่เวลาสหรัฐส่งทหารไปยึดครอง อิรัก- อัฟกานิสถาน จะใช้วิธีส่งทหารไปโดยตรง หรือใช้วิธีการกระตุ้นอยู่เบื้องหลังให้ประชาชน ก่อสงครามกลางเมืองขึ้น เผาบ้านเผาเมือง อย่างเช่นเหตุการณ์ในตะวันออกกลาง ปี 2555 นั่นคือวิธีการอยู่เบื้องหลัง

แต่รัสเซียมีความชาญฉลาดในแง่ที่ว่า สร้างความชอบธรรมเพื่อให้สองสาธารณรัฐของยูเครน แยกตัวเป็นเอกราช และรัสเซียรีบรับรอง ก่อนส่งกองกำลังเข้าไป นี่เป็นวิธีการใหม่ แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้น การนำเสนอข่าวของสื่อตะวันตก มีการนำเสนอข่าวไม่เหมาะสมทั้งการใช้ภาษา การสร้างข่าว และการสร้างภาพ ที่เราจะเห็นทางโซเชียลมีเดีย จนนำไปสู่การตั้งศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงขึ้นมา เรื่องของการใช้ภาพข่าว และมีการเปิดเผยว่าตอนนี้ข่าวปลอมเยอะมาก อย่างน้อยสามข่าวที่สื่อยักษ์ใหญ่จับผิด และนำมาประจาน อย่าง

NBC NEWS ซึ่งเป็นสื่อโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ นักข่าวอ้างว่าได้ลงพื้นที่รายงาน มีภาพของทหารกำลังกระโดดร่มลงมา โดยระบุว่า ทหารกำลังโดดร่มเหนือกรุงเคียฟของยูเครน ซึ่งข่าวนี้มีผู้ชมถึง 20ล้านคน แต่เมื่อตรวจสอบแล้วกลับพบว่าเป็นวีดีโอปลอม คือมีการนำภาพจากอินสตาแกรมที่เคยโพสต์ปี 2558 และนำมาโพสต์ซ้ำ กลายเป็นภาพปลอมขึ้นมา นอกจานี้ยังมีภาพที่ 2 เป็นภาพของเครื่องบินรัสเซียลำหนึ่งถูกระบุว่ากำลังบินวนอยู่เหนือกรุงเคียฟ แต่หลังตรวจสอบพบว่าเป็นภาพเก่าซึ่งความจริงเครื่องบินลำนี้ บินวนเหนือกรุงมอสโก ช่วงงานฉลอง และภาพที่3 ในรายงานข่าวอ้างว่ามีขบวนทหาร เคลื่อนรถถังกำลังไปยึดกรุงเคียฟ แต่ความจริงแล้วภาพเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรีย

บุญรัตน์ สรุปว่า ภาพทั้งหมดที่เห็นผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ เป็นภาพเก่าที่อยู่ในแฟ้มข่าวเก่าแล้วเอามาสร้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในยูเครน และมีการแชร์ต่อเยอะมาก จึงควรเพิมความระมัดระวังในการนำเสนอกันมากขึ้น รวมถึงเรื่องของการใช้ภาษา เราไม่ได้พูดถึงความชอบธรรม เราพูดในฐานะสื่อ จะพบว่าสื่อมีการใช้ภาษาเทียบเมื่อกับเหตุการณ์ที่สหรัฐส่งทหารไปบุกยึดอิรัก โค่นรัฐบาล ของซัดดัม ฮุสเซน ตอนนั้นมีการเผยแพร่ว่าช่วง1ปีก่อนหน้านั้น ตัวท่านประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยูบุช และรัฐบาลสหรัฐ ยุคนั้น ใช้สื่อโกหกผ่านสื่อกว่าหมื่นครั้ง โดยเฉพาะประธานาธิบดีบุชเองโกหกผ่านสื่อเป็นพันๆครั้ง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการจัดส่งทหาร ไปยึดอิรัก และประกาศออกมาเหมือนแบ่งค่ายเลย ว่าถ้าไม่เป็นพวกสหรัฐก็เป็นพวกศัตรู คือพวกของซัดดัม และการโกหกคือบอกว่ามีอาวุธที่มีประสิทธิภาพ ทำลายล้างศัตรู ที่สามารถเรียกว่า ทำลายประเทศเพื่อนบ้าน แต่ผลพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง

เพราะฉะนั้นช่วงที่สหรัฐส่งทหารไปบุกอิรัก และมีการขมขู่ ประเทศต่างๆว่าต้องเลือกข้างสหรัฐ ครั้งนั้นเหมือนเป็นการสร้างความชอบธรรม สื่อจะนำเสนอแต่เรื่องอาวุธ ทำให้รู้สึกว่าคุณไมได้คำนึงถึงชีวิตประชาชนเลย แต่พอมาอ่านข่าวเหตุการณ์รัสเซียยูเครน ส่วนใหญ่จะนำเสนอชีวิตประชาชน อ้างเรื่องเด็ก ผู้หญิง คนชรา เรียกร้องความสงสารให้กับยูเครนและมองภาพรัสเซียว่าก้าวร้าว หรือนำเสนอข่าวที่คลุมเครือ อย่างเช่น การเชิดชูวีรกรรมของหน่วยต่อต้านยูเครน หรือพวกรักชาติยูเครน ตอนนี้ยอมพลีชีพแล้ว เพื่อสกัดการรุกคืบของรัสเซีย รัสเซียข่าวส่วนใหญ่ตอนนี้คือส่งเครื่องบินไปถล่มพื้นที่ยุทธศาสตร์ แต่เหมือนกับว่ากำลังเคลื่อนพล จะไปยึดกรุงเคียฟ

สำนักข่าว CNN จึงต้องมีการเปิดคอลัมน์ตรวจสอบข้อเท็จจริง และมีสื่ออีกหลายสื่อ รวมไปถึงเฟสบุ๊ก ที่ตั้งศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่านำเสนอข่าวมีข้อเท็จจริงอย่างไร

บุญรัตน์ เล่าต่อว่า ตอนนั้นได้มีโอกาสติดตามข่าวอิรักมาตลอด อย่างที่บอกเวลานำเสนอ เขาจะนำเสนอแต่เรื่องของขีปนาวุธ อาวุธที่ล้ำสมัยของสหรัฐ จนหลายคนหลงประเด็น ติดตามเรื่องอาวุธที่ทันสมัยโดย ไม่ดูประเด็นความสูญเสียหรือความชอบธรรม ในการบุกรุก แต่กรณีของรัสเซียนำเสนอว่าจะบุก แต่ไม่บอกว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง คืออะไร ซึ่งเบื้องหลังรัสเซียถูกสร้างข้อเสนอมาตลอด แต่สหรัฐและนาโต้ไม่สนใจ นั่นคือคุณส่งอาวุธร้ายแรงไปที่ยูเครน จ่อคอหอยรัสเซีย และอานุภาพของอาวุธชนิดนี้สามารถยิงถล่มไปถึง ใจกลางของรัสเซียได้ ซึ่งรัสเซียก็ไม่มีทางยอมแน่นอน พูดในฐานะที่เป็นสื่อว่าเขาไม่มีทางยอม เขาบอกว่านาโต้อย่าส่งอาวุธให้ยูเครน และยูเครนก็พยายามเอาตัวรอดด้วยการขอเป็นสมาชิกของนาโต้

เพราะฉะนั้นนี่คือการที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์มาเป็นเหยื่อล่อให้รัสเซียออกมา ทำให้รัสเซีย เหมือนเป็นผู้ร้ายในการก่อศึกครั้งนี้ ผลจากการยั่วยุ และตัวของผู้นำยูเครน ก็ติดหล่มตรงที่คิดว่าตะวันตกจะช่วยคุณทันทีที่รัสเซียบุกมายึดกรุงเคียฟ แต่คุณไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เลยว่าสิ่งที่ตะวันตกจะมาช่วยเหลือ เขาต้องมีผลประโยชน์ต่อรองมหาศาลที่เขาต้องได้เช่นกัน

การที่สหรัฐและนาโต้ ร่วมมือกันสิ่งหนึ่งที่สหรัฐได้อย่างมากคือไม่ใช่การทำลายหรือการยั่วยุให้รัสเซียกระโดดข้ามาติดหล่มส่งครามในยูเครน แต่ที่เขาได้มากที่สุดซึ่งพยายามทำตั้งแต่สมัยของประธานาธิบดีทรัมป์ จนถึงประธานาธิบดีโจ ไบเดน คือการบีบ เยอรมันไม่ให้ซื้อก๊าซธรรมชาติ จากรัสเซีย ผลสุดท้ายสองประธานาธิบดี สำเร็จคือตัวเยอรมันเองต้องระงับโครงการซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐประกาศแล้วว่า เขาได้กว้านซื้อ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากทั่วโลก เตรียมพร้อมที่จะให้กับยุโรป ไม่ต้องซื้อน้ำมันจากรัสเซีย

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่คนไทยไม่เข้าใจว่าน้ำมัน เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่ของประเทศโซนยุโรปที่อยู่ในเขตหนาว ตอนนี่ยุโรป หนุนหลังให้ชาวยูเครน ก่อเหตุเผาบ้านเผาเมืองประท้วงติดต่อกันหลายเดือน ปี 2557 จนกระทั่งล้มรัฐบาลที่สนิทสนมกับวลาดีมีร์ ปูติน ได้สำเร็จ อันนั้นคือผลจากประเทศยุโรปตะวันตก สนับสนุนเบื้องหลัง เพราะว่า เหตุที่ประเทศยุโรปตะวันตกทนไม่ได้ คือการที่ยูเครนซื้อก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซีย เป็นวิกฤตเรื่องใหญ่ ซึ่งครั้งนี้ สหรัฐประสบความสำเร็จในการ กดดันให้เยอรมัน ระงับโครงการนี้ แต่สิ่งนี้คนไม่เข้าใจ เพียงแต่คิดว่ารัสเซียจะบุกยึดยูเครน และก็ไปตั้งคำถามว่า สงครามยึดเยื้อหรือไม่ สงครามเบ็ดเสร็จหรือไม่ หรือว่าเป็นการสั่งสอน

บุญรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สงครามไม่เคยมีความชอบธรรม เพียงแต่อยู่ที่ว่าการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อแล้วครอบงำความคิดเห็นของคุณว่านี่คือสงครามที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ถึงยกกรณีเหตุการณ์สหรัฐบุกอิรักนั่นก็สงคราไม่ชอบธรรม แต่คุณบอกว่าเป็นสงครามชอบธรรมเพราะอ้างว่าปราบผู้ก่อการร้าย แต่จริงๆคุณกำลังยึดประเทศ นี่คือสิ่งหนึ่งที่การใช้คำมีผลต่อความคิด เหตุการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครนครั้งนี้ ยิ่งไม่ชอบธรรม แต่เขาต้องทำเพราะยูเครนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ จริงๆแล้วรัสเซียสามารถยูร่วมกันกับยูเครนได้อย่างสันติ หากผู้นำยูเครน ใช้กลวิธีในการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่ยั่วยุด้วยการที่ประกาศว่าจะเป็นสมาชิกนาโต้ จะซื้ออาวุธจำนวนมหาศาล แน่นอนคุณรู้ว่ากระทบความมั่นคงของรัสเซียแต่คุณก็จะเดินหน้า ทำ เพราะคิดว่าสมาชิกนาโต้จะช่วยเหลือคุณทันควัน แต่ผลสุดท้ายเขาก็จะเห็นว่าไม่ใช่ ความชอบธรรมไม่มี แต่อยู่ที่เหตุผลเท่านั้นเอง

ติดตามรายการ​ "ช่วยกันคิดทิศทางข่าว ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5