TDJ เปิดเวทีรายงานความคืบหน้า 5 กลุ่ม Data JR ก่อนสรุปรอบสุดท้าย 28 ก.ย. นี้
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA) ร่วมกับชมรมเครือข่ายนักสื่อสารข้อมูลเชิงลึกแห่งประเทศไทย (TDJ) จัดเวทีรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มจากโครงการ Data Journalist Camp Thailand ณ ศูนย์ฝึกอบรมดีแทค อาคารจามจุรีสแควร์ เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา Data Journalist Camp Thailand นับเป็นโครงการต่อเนื่องขยายผลจากโครงการ อมรมเชิงปฏิบัติการ "พัฒนานักสื่อสารข้อมูลเชิงลึก (Data Journalism Workshop) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก่อนจะต่อยอดสู่การประสานความร่วมกับระหว่างนักข่าวและอาสาสมัครที่มาจากสาย Developer เพื่อร่วมผลิตผลงานด้วยข้อมูลเชิงลึก ณ นครริมขอบฟ้ารีสอร์ท เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ในครั้งนี้ ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มสุขภาพ 2. กลุ่มสิ่งแวดล้อม 3. กลุ่มภัยแล้ง 4. กลุ่มการเมือง และ 5. กลุ่มผู้ต้องขัง จะนำเสนอความคืบหน้าในแง่มุมต่างๆ ทั้ง ประเด็นหัวเรื่อง, แหล่งที่มาData, ประเด็นที่ได้จาก Data ที่นำมาวิเคราะห์พบอะไรน่าสนใจ ไปจนถึงโครงสร้าง Visaul ที่จะนำเสนอสู่สาธารณะ และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างแต่ละกลุ่มโดยมี ไกรก้อง ไวทยการ จาก Social Teacnology Institute, ดร.เอกพล เทียนถาวร ประธานชมรมเครือข่ายนักสื่อสารข้อมูลเชิงลึก, ปิยาวันทน์ ประยุกต์ศิลป์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อคนไทย, ดร.พรรณี อมรวิพุธพนิช หัวหน้าทีมวิทยากรหลักสูตร Data Journalism, ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ ผู้อนวยการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ จาการนำเสนอของแต่ละกลุ่มพบว่าหนึ่งในปัญหาที่ประสบคือเรื่องการเข้าถึง Data จากภาครัฐ ที่ยังติดขัดและมีความยากในกระบวนการขอข้อมูล ส่วนการใช้พ.ร.บ.ข้อมูลสาร ก็อาจต้องใช้เวลากว่าจะได้รับข้อมูล อีกด้านหนึ่งรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลภาครัฐที่ยังกระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบครบถ้วน ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่น หรือใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยดึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาร่วมประกอบการนำเสนอขณะที่ Open Data ของบางหน่วยงานที่เผยแพร่ก็ยังจัดเก็บในรูปแบบที่ไม่อำนวยต่อการนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ประเมินผล เช่น บางหน่วยงานจัดเก็บเป็นไฟล์ PDF แต่การจัดเก็บนำไปใช้เพื่อประเมินผลจะต้องใช้ไฟล์ Excel ทำให้ข้อมูลที่ได้มาต้องนำมาแปลงที่ต้องเพิ่มขั้นตอนหรืออาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้
อรอุมา วัฒนะสุข ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรของดีแทค
อรอุมา วัฒนะสุข ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรของดีแทค กล่าวว่า การทำพีอาร์ของ Dtac จะเปลี่ยนไป เราจะไม่ทำการตลาดแบบเก่าแบบ Media ralationship ที่ต้องถือกระเช้าเดินเข้าไปสวัสดีสื่อแล้ว คนทำ Marketing จะมาเพ้อเรื่องแบรนด์อย่างเดียวไม่ได้แล้ว คนทำงานพีอาร์หรือทำงาน Marketing ของ Dtac จะต้องรู้และมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่อง Data development mindset ต่อไปเวลาเราจะคัดคนเข้ามาทำงานในทุกๆ ด้านของDtac จะต้องถูกสัมภาษณ์และทดสอบในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ ทุกฝ่ายกำลังบ้าคลั่งกับ Data แต่ Dtac ก็กลับมาให้ความสำคัญกับ Data privacy ซึ่งดีแทคจะมีข้อมูลของลูกค้าหมดตั้งแต่เริ่มcall reccord จนถึงการดูเว็บโป๊ เราเก็บข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด แต่ Dtac เรามีระบบ privacy และทีมในการดูแลและป้องกันข้อมูลของลูกค้าอย่างแน่นหนา เราได้จ้างทีมมืออาชีพที่มาทำการป้องกันข้อมูลของลูกค้า ซึ่งเรามองว่าข้อมูลและความลับของลูกค้าเราก็เป็น Human rights เป็นสิทธิมนุษยชนของลูกค้าแบบหนึ่งที่ใครก็จะมาละเมิดไม่ได้ เราจึงขยายการทำงานกับภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรในเรื่องนี้ รวมถึงทำงานกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วย
ดร.พรรณี อมรวิพุธพนิช หัวหน้าทีมวิทยากรหลักสูตร Data Journalism กล่าวว่า ขอให้แต่ละกลุ่มกลับไป Re-Check ข้อมูลของตัวเองเพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวมทั้งนำประเด็นที่ได้ไปสอบถามตรวจสอบกับแหล่งข่าว และสัมภาษณ์บุลคลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการนำเสนอให้ครบถ้วนรอบด้าน พร้อมทั้งนัดนำเสนอผลงานครั้งสุดท้ายในวันที่ 28 ก.ย.นี้ และเตรียมเผยแพร่ผลงานและ Data เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป
เติ้ล – Developer จากกลุ่มการเมือง กล่าวว่า โครงการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำข่าวแบบ Data Journalism ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักข่าวและ Developer ซึ่งหากนักข่าวสามารถเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมบางโปรแกรมในเบื้องต้นที่ใช้งานไม่ยากนัก ก็อาจช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้นักข่าวสามารถมองหาประเด็นที่ต้องการจากข้อมูลที่มีได้ง่ายขึ้นด้วย