ปรีชา สามัคคีธรรม นายคชา ผู้ร่ายปากกาเป็นอาวุธ

"จุดหนึ่งที่ประชาชน นักศึกษา และหนังสือพิมพ์ร่วมกันต่อสู้ แม้จะเพลี่ยงพล้ำกำลังของฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐ แต่ก็เป็นสิ่งที่สำแดงให้เห็นว่า ความไม่พอใจของประชาชนนั้นมี ไม่ใช่ว่ากลุ่มที่มีอำนาจนั้นจะทำอะไรได้ตามใจชอบสิ่งที่ทำนี้ คือ การคานอำนาจไม่ให้ผู้ใช้อำนาจมากจนเกินธง"

นั่นเป็นคำสัมภาษณ์ที่สะท้อนตัวตนและอุดมคติของ "ปรีชาสมัคคีธรรม" นักหนังสือพิมพ์อาวุโส ตอบทบาทของการทำหน้าที่นักหนังสือพิมพ์ยาวนานกว่า 50 ปี และในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่เขายึดถือไม่เปลี่ยนแปลง จนได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างกับคนวงการนักหนังสือพิมพ์

ใน พ.ศ. 2519 ต่อเนื่องถึง พ.ศ. 2520 ซึ่งประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการ โดยกองทัพอีกครั้งหนึ่ง หลังการรัฐประหารอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของวิชาชีพสื่อมวลชน ที่ต้องเผชิญกับอำนาจทหาร เมื่อมีการออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นติน ฉบับที่ 42 หรือ ปร. 42 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ให้อำนาจรัฐควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด เป็นเสมือนโช่ตรวนที่จองจำสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

พี่ปรีชา ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยให้เป็นนายกสมาคมนักข่าวคนที่ 9 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2519 จึงมีภาระหน้าที่ที่สำคัญ ในการเป็นหัวหอก ของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของหนังสือพิมพ์และของประชาชน

จากบันทึกในจดหมาย ที่ “ปรีชาในฐานะนายกสมาคมนักข่าวฯคนที่ 9" เขียนรายงานถึงการทำกิจกรรมในรอบปี (4 มีนาคม 2519 - 5 มีนาคมจากบันทึกในจดหมาย ที่ "ปรีชา ในฐานะนายกสมาคมนักข่าวๆ2520) ถึงสมาชิก ที่ตีพิมพ์ไว้ในวารสารวันนักข่าว 5 มีนาคม พ.ศ. 2520 ได้บอกเล่าถึงสถานการณ์วงการข่าว และบทบาทการต่อสู้กับคำสั่ง ปร.42" ตอนหนึ่งว่า

"สำหรับปัญหาหนักอกที่สถาบันหนังสือพิมพ์ต้องเผชิญ และได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงภายหลังการปฏิรูปเมื่อ 6 ตุลาคม 2516ทั้งการสั่งปิดหนังสือพิมพ์และการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อวงการหนังสือพิมพ์นั้นสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันร่วมวิชาชีพอื่นก็ได้ประสานความสามัคคีกันเหนียวแน่นในอันที่จะทำความเข้าใจกับคณะปฏิรูปในช่วงต้น กับรัฐบาลธานินทร์กรัยวิเชียร ในช่วงหลัง แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ความเพียรพยายามในอันจะเสริมสร้างความเข้าใจต่อกัน ไม่บรรลุเป้าประสงค์เท่าที่ควร

แต่ก็เป็นที่น่ายินดีที่ปรากฎว่า วงการหนังสือพิมพ์เราได้ผนึกความสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่น เมื่อเผชิญกับกรณีที่คณะที่ปรึกษาของเจ้าพนักงานการพิมพ์ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการใช้กาษาพูด ภาษาเขียน ในครั้งนั้นสถาบันหนังสือพิมพ์ ได้มีการประชุมพบปะหารือเพื่อหาทางคลี่คลายกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ปรากฏว่า จากผลแห่งการแสดงพลังสามัคคีของพวกเรา ทางคณะที่ปรึกษาก็ได้มีการลดหย่อนผ่อนปรนความเข้มงวดพอสมควร

"จากวันนั้น ผ่านไปแล้ว 38 ปี อดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ หมายเลข 9รำลึกถึงปรากฎการณ์รวมใจรอบนั้นว่า

"คนที่มีบทบาทอย่างมาก มี พี่ทองใบ ทองเปาด์ พี่พงษ์ศักดิ์พยัฆวิเชียร เพราะปร.  ถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือปิดปาก กระบวนการต่อสู้ต้องใช้ความเป็นเอกภาพเพราะเป็นความเสี่ยหายร่วม เป็นการสู้เพื่อแสดง ให้ถึงจิตวิญญาณ ต้องการเสรีภาพ ความถูกต้อง ระยะเวลาสู้เพื่อทวงสิทธิ์กินเวลาหลายปี จนเขาเพลีย คือใช้อำนาจจนเพลียไปเอง

"นายกสมาคมนักข่าว และกรรมการบริหาร รุ่นต่อมา รวมทั้งองค์กรวิชาชีพหนังสือพิมพ์อื่นๆ ถือเป็นการะหน้าที่สำคัญ ในการเคลื่อนไหว เรียกร้องให้ยกเลิก ปร. 42 จนประสบผลสำเร็จ ในปี 2533 เมื่อรัฐบาลพลเอกชาติชายชุณหะวัณ ออกพระราชกำหนด ยกเลิก ปร. 42 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2533หลังจาก มีผลบังคับใช้นานถึง 14 ปี

เบ้าหลอมแห่งความคิด

บ่มเพาะการต่อสู้

กรอบความคิดและแนวทางการทำงานของพี่ปรีชา ส่วนหนึ่งมาจากนิสัยส่วนตัวที่รักความถูกต้องเป็นธรรมตั้งแต่วัยเยาว์ นับตั้งแต่เข้าเรียนที่โรงเรียนราชวชิรานุกูล จังหวัดสงขลา บ้านเกิด ในชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ในระดับมัธยม และถูกบ่มเพาะให้เติบโตอย่างเข้มเข็งระหว่างใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้ร่วมกับรุ่นพี่ในสถาบัน ที่มีแนวคิดก้าวหน้าแบบเดียวกัน ทำกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมก้มหัวให้กัอำนาจเผด็จการที่แผ่ขยายมายังสถาบันการศึกษา ซึ่งสร้างผลกระทบต่อผู้เรียนโดยเฉพาะด้านสิทธิการแสดงออก และความคิดเห็นเรื่องการเมือง ทั้งการเมืองภายในและภายนอกประเทศ

พี่ปรีชา เข้าเรียนที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ฯ ราวๆ ปี 2500"ยุคนั้นสังคมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ไม่มีความยุติธรรมคณะปฏิวัติใช้อำนาจที่เกินขอบเขต เข้ามาคุกคามนิสิต นักศึกษา เมื่อนักศึกษาพี่ทำกิจกรรมเราก็เข้ไปร่วม เพราะมีความรู้สึกนึกคิดใกล้เคียงกัน กิจช่วงนั้นที่ได้รับความนิยม และถือว่ามีอิทธิพลสูงมาก คือ การแสดงละครเรื่อง อนุภาพประชาชน มีคนดูเยอะมาก เราใช้พื้นที่หน้าตึกโดมริมน้ำเป็นเวทีจากนั้นก็มีกิจกรรมรณรงค์แจกใบปลิวต่อต้านความไม่ยุติธรรมปราศรัย เชน ต่อต้านจอมพลถนอม กิตติขจร ที่เข้ามาเป็นอธการบดื่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วขึ้นค่าสมัครสอบ จากปีละ 40 บาท เป็นปีละ 400 บาท

" คนทีมีบทบาทอย่างมาก มี พี่ทองใบ ทองเปาด์พี่พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เพราะปร. 42ถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือปิดปากกระบวนการต่อสู้ต้องใช้ความเป็นเอกภาพเพราะเป็นความเสียหายร่วมเป็นการสู้เพื่อแสดงให้ถึงจิตวิญญาณต้องการเสรีภาพ ความถูกต้องระยะเวลาสู่เพื่อทวงสิทธิ์กินเวลาหลายปีจนเขาเพลีย คือใช้อำนาจจนเพลียไปเอง "

นักศึกษาก็รณรงค์กัน"

ด้วยเหตุที่ร่วมกิจกรรมประท้วงการขึ้นค่าสมัครสอบ และพาดพิงแกนนำคนสำคัญของคณะปฏิวัติ ทำให้ "นายปรีชา สามัคคีธรรม" ถูกเลขาธิการมหาวิทยาลัยฯ คัดชื่อออก พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ขณะที่อยู่ชั้นปี 3 ด้วยเหตุผลที่ว่า "แสดงอาการก้าวร้าวต่อฝ่ายทหาร" ประกอบกับสภาพการเมืองอยู่ในจังหวะที่รัฐบาลปราบปรามปัญญาชนด้วยข้อหา "ฝ่ายช้าย" นักศึกษากลุ่มที่รักความยุติธรรมจึงถูกเหมารวม ปราศจากการแยกแยะความถูกต้องแต่ในความโชคร้ายที่ไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบัตรยังมีความโชคดี...คือ แรงผลักดันให้ พี่ปรีชา ได้เข้าสู่วงการหนังสือพิมพั

เพื่อคว้าปริญญาชีวิต และความสำเร็จในฐานะคนหนังสือพิมพ์"ตอนที่ร่วมทำกิจกรรมในธรรมศาสตร์ มีรุ่นพี่ชวนไปทำงานข่าวเพราะเห็นว่าเราเล่าข่าวสนุก หนังสือพิมพ์กรุงเทพถือเป็นที่แรกของการเริ่มต้นอาชีพนักข่าวควบคู่กับชีวิตนักศึกษา แต่พอถูกมหาวิทยาลัยลบชื่อ เราไม่มีเงินเรียนจึงไปทำหนังสือพิมพ์เต็มตัว อยู่มา 3-4 ฉบับ ทั้ง นส.พ.เสียงอ่างทอง ยุคที่คุณสนอง มงคล อดีตผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบรรณาธิการน.ส.พ.หลักเมือง, น.ส.พ.เดลินิวส์ ตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการ รับผิดชอบข่าว

การเมือง ควบคูไปกับทำหนังสือพิมพ์รายสับดาห์ ชื่อ มหาราษฎร์ นอกจากงานหนังสือพิมพ์แล้วยังมีโอกาสไปทำข่าวทีวีอยู่พักหนึ่งที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี

นายปรีชา สามัคคีธรรมถูกเลขาธิการมหาวิทยาลัยฯ คัดชื่อออกพันสภาพการเป็น นักศึกษาขณะที่อยู่ชั้นปี 3 ด้วยเทตุผลที่ว่าเสดงอาการก้าวร้าวต่อฝ่ายทหาร

ยุคที่สถานีตั้งอยู่ย่านเจริญผล"ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนข่าวมากฝืมืออย่างปรีชา ต้องย้ายสังกัดบ่อยครั้งในรอบ 20 ปีแรกของการทำงาน คือสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน แต่ด้วยไฟแห่งความรักในอาชีพ ประกอบกับมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในวงการจำนวนหนึ่งจึงทำให้เขาไม่ยอมแพ้และไม่ยอมถอยห่างจากถนนนักหนังสือพิมพ์งิ้วการเมืองนายชาร่าย-ชัย ราชวัตร รำบทบาทงานนักหนังสือพิมพ์ที่ น.ส.พ.เดลินิวส์ ซึ่งควบคู่ไปกับบรรณาธิการมหาราษฎร์รายสัปดาห์ที่สร้างชื่อ-ถูกกล่าวขานถึง คือ งานเขียนล้อเลียน-แชวนักการเมือง ด้วยนิยายจีนแปลง ชื่อ

"งิ้วการเมือง" ซึ่ง ปรีชาเขียนเรื่อง โดยใช้นามปากกา "นายคชา" โดยมี ชัย ราชวัตร" เขียนภาพประกอบเป็น งิ้วการเมือง ที่ นายคชาร่วย ชัย ราชวัตร รำ ตีพิมพ์อยู่บนหน้า 5 ของ

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์"พี่ปรีชา" ในวัย 75 ปี เล่าย้อนถึงจุดกำเนิด "นายคชา" ว่า เกิดขึ้นช่วงที่อยู่มหาราษฎร์ราวปี 2513-2514 โดยการยุจากเพื่อนๆ ให้นำนิยายจีนมาประยุกต์ให้เข้ากับบรรยากาศไทยๆ เขียนในสไตล์งิ้ว ล้อเลียนการเมืองเพื่อให้เรื่องสนุก ด้วยความที่ชอบอ่านนิยายจีนเป็นทุนเดิมจึงง่ายต่อการสร้างอารมณ์ขันในเรื่องราว สร้างตัวละครที่มีสีสัน โดยงานเขียนในบทบาทนายคชามีผู้ติดตามมากรวมถึงนักการเมือง

"ผมเขียนล้อเลียนการเมืองสนุกๆ นักการเมืองก็ไม่โกรธ อย่างพล.อ.กฤษณ์ ศรีวรา อดีตผบ.ทบ. ที่ถูกล้อว่าไปล่องเรือเพื่อปรึกษาหารือเรื่องการเมือง พอเขาอ่านงานเรา ก็โทรศัพท์หาโดยตรง ชี้แจงว่าไม่ได้ทำแบบนั้นเราก็เข้าใจและเขาก็เข้าใจเรา แต่ก็มีนักการเมืองที่โกรธ คือ ม.ร.ว .คึกฤทธิ์ปราโมช เพระเราไปให้ฉายาว่า เฒ่าสารพัดพิษ"

การวิพากษ์ วิจารณ์ ผู้มีอำนาจ โดยลูกเล่นแปลงจากนิยายจีน ถือเป็นอีกบทบาทของการท้วงติง ตรวจสอบฝ่ายบริหารอย่างมีชั้นเชิง และไม่นำาวิชาชีพไปเสี่ยงกับอำนาจเผด็จการนอกจากงานในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ แล้ว ปรีชา ยังมีผลงานที่เจ้าตัวภาคภูมิใจ คือ เป็นคนกลางเพื่อคลี่คลายความไม่เข้าใจระหว่างตัวแทนรัฐบาลและกลุ่มที่ถูกตั้งข้อหาเป็นพวกสร้างสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ในกรณีที่ชวน "เปาะสู วาแมดิซา" ครูใหญ่ ร.ร.บ้านจารังตาดง อ.รามันจ.ยะลา ที่ทางการระบุว่า เป็นหัวหน้าขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือโจรใต้เข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อพูดคุยกับ พล.อ.กฤษณ์ วรา ที่ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.ในขณะนั้น"ผมได้ถ่ายรูปคู่ครูเปาะสู่ แล้วลงหน้าหนึ่ง น.ส.พ.ดลินิวส์ ก็มีคนแชวว่า คนไหนโจรใต้ คนไหนนักข่าว เพราะครูเปาะสูเป็นคนสุภาพ ส่วนผมไว้หนวดไว้เครา"ปรีชา ลาออกจากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ เพราะหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่ยอมยืดถือวันที่ 5 มีนาคมเป็นวันหยุดประจำปีของนักข่าว อันเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา แต่การเขาที่เป็นผู้นำขององค์กรวิชาชีพ คือ นายกสมาคมนักข่าว จึงแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลาออกจากหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดและกลับไปรวมกลุ่มกับนักต่อสู้-ปัญญาชน ทำ "มหาราษฎร์รายสัปดาห์"เต็มตัว โดยมี "นายคชา" เป็นตัวชูโรง พะบู๊กับคนพาล อภิบาลคนดีด้วยสถานะที่ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมือง และมีมิตรสหายในเครือข่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท ) ที่ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ

ยุดที่พล.อ.เปรม ติณสลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดำเนินนโยบาย66/23 พี่ปรีชา จึงถูกเลือกให้เป็นผู้ประสานมิตรสหายที่ลี้ภัยการเมือง ให้กลับคืนสู่เมือง "สหาย" ส่วนใหญ่ที่รับฟังสถานการณ์และสารจากรัฐบาล เช่นไขแสง สุกใส, อาคม สุวรรณนพ, นพพร สุวรรณพานิช, ประสาร มฤคพิทักษ์จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด หลายคนได้เข้าสู่แวดวงการเมืองในเวลาต่อมาปัจจุบัน "ปรีชา สามัคคีธรรม" หรือ "นายคชา" ในวัย 75 ปี ได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ พักผ่อนอยู่กับครอบครัว ที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แต่ยังคงจับงานเขียน-วิเคราะห์-วิจารณ์สถานการณ์บ้านเมืองตามสไตล์ที่ถนัดที่ "นิตยสารสี่เหล่า" ซึ่งเขาเป็นประธานกรรมการบริหารนิตยสารฉบับนี้

วันนี้ ในแวดวง คนหนังสือพิมพ์รุ่นใหม่ ชื่อ ปรีชา สามัคคีธรรมอาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากสักเท่าไร แต่ในตำนานคนหนังสือพิมพ์ ปรีชา สามัคคีธรรมถือเป็นคนหนังสือพิมพ์คนหนึ่งที่ ถือปากกา เป็นอาวุธ ต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหาร และไม่ยอมก้มหัวให้กับทุนที่หวังประโยชน์ทางธุรกิจ-การเมือง และครอบงำเสรีภาพในการทำหน้าที่ของคนหนังสือพิมพ์