นักข่าวเวียดนามเยือนไทยภายใต้การเชื่อมความสัมพันธ์กับสื่อมวลไทย-เวียดนาม

ศึกษาดูงานสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยกย่องเป็นสื่อสาธารณะแท้จริง พร้อมทั้งงานกลุ่มธุรกิจกัลฟ์ตอบโจทย์พลังานยั่งยืนสู่อนาคต

                        นายชำนาญ ไชยศร อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และนายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด (บ้านเมืองออนไลน์) เหรัญญิก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้นำคณะสมาคมนักข่าวเวียดนามนำโดยนายเหงียน ดึ๊ก ลี (NGUYEN DUC LOI)   รองประธานสมาคมนักข่าวเวียดนาม เดินทางเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) ภายใต้กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับสื่อมวลไทย-เวียดนาม​ ตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 21-25 พ.ย. 2566 เป็นเวลา 5 วัน เพื่อยกระดับองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อมวลชนไทย - สื่อมวลชนเวียดนาม​ นำไปใช้ในการรายงานข่าวอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องตามหลักวิชาชีพ เพื่อประโยชน์สาธารณะต่อไป

                        การเยี่ยมชมศึกษาดูสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)มีนายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์​ ผอ. สสท. ด้านเทคโนโลยี การกระจายสื่อ และน.ส.กนกพรประสิทธิ์ผล ผอ.สำนักสื่อดิจิทัล องค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ส.ส.ท.) ​ให้การต้อนรับนำเยี่ยมชมกระบวนการทำงาน และการผลิตสื่อในแพลตฟอร์มรูปแบบต่างๆ โดยนายอนุพงษ์ กล่าวว่า Thai PBS เป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกในประเทศไทย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะมีแหล่งทุนสําคัญ คือ ภาษีที่เก็บจากสุรา และยาสูบปีละไม่เกิน 2 พันล้านบาท โดยรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการจัดเก็บในแต่ละประเทศ

                        เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะที่ยึดหลักการมีอิสระ ไม่ควรพึ่งพาเงินทุนจากภาครัฐ และทุนเอกชน อันเป็นการไม่ขัดวัตถุประสงค์ของสื่อสาธารณะให้ประชาชนได้ผลประโยชน์สูงสุดในฐานะเจ้าของสื่อสาธารณะ

                        เริ่มดำเนินการออกอากาศมาเป็นเวลา 16 ปี  ดําเนินการทางด้านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงสื่อในระบบอื่น และเทคโนโลยีทันสมัย ที่มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ และมีคุณธรรมบนฐานของความเป็นไทย ผ่านบริการข่าวสารเที่ยงตรง มีความรอบด้าน และสมดุล ตามจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อสาธารณะ และทําหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในฐานะเป็นพลเมืองไม่ใช่ผู้บริโภค

                        โดยมีการบริการวิทยุกระจายเสียงในรูปแบบออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม และสื่อเสียง(พอดคาสต์) ที่สามารถรับฟังได้ในรูปแบบการออกอากาศสดทางวิทยุชุมชนทั่วประเทศที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับวิทยุไทยพีบีเอสทั้งสิ้นกว่า 200 สถานี ส่วนการบริหารแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ กรุงเทพฯ 1 แห่ง และศูนย์ข่าว 3 แห่งที่จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ในส่วนความแตกต่างจากสื่อเอกชน คือ Thai PBS มีการสร้างนักข่าวพลเมืองให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักข่าวพลเมืองเข้าถึงการสร้างสรรค์เนื้อหา  และให้คนรุ่นใหม่เข้ามา เป็นนักข่าวพลเมืองได้ง่ายขึ้น 

                        น.ส.กนกพร กล่าวเสริมว่า จากการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของเนื้อหาจากไทยพีบีเอสที่มีรูปแบบหลากหลายและหมวดหมู่มากขึ้น ไทยพีบีเอส ได้การปรับเปลี่ยนดีไซน์ของเว็บไซต์ไทยพีบีเอส เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างครอบคลุมประกอบด้วย News & Program ข่าวสารและรายการคุณภาพน่าเชื่อถือ, Podcast รายการสื่อเสียงที่ต่อยอดและเสริมสร้างสังคม, ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุกสำหรับทุกคน, VIPA วิดีโอสตรีมมิ่งสัญชาติไทย ศูนย์รวมคอนเทนต์ของคนช่างเลือก, Thai PBS World แพลตฟอร์มรวบรวมข่าวภาษาอังกฤษ เที่ยงตรง ทันโลก

                        นายเหงียน ดึ๊ก ลี กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งถือเป็นสถานีโทรทัศน์ของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินจากภาครัฐ และเอกชน แต่ได้รับเงินจากสนับสนุนจากการเก็บภาษี บุหรี่ เหล้า ไม่ต้องมีแรงกดดัน ทำให้เป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชนสูงสุด

                        จริงๆแล้วสถานการณ์สื่อในเวียดนามไม่แตกต่างจากสื่อในไทย เนื่องจากสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากจนสื่อดังเดิมอย่างทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ต้องเผชิญปัญหาเรื่องรายได้ลดลงกว่า70% ดังนั้นสำนักข่าวต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนการออกอากาศผ่านทางสื่อออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter ติ๊กต๊อก เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้สื่อโซเชียลฯ ยังสามารถแสดงความคิเห็นเป็นอิสระในการเสนอส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องข่าวจริง ข่าวปลอม บนโลกโซเชียลฯเป็นอย่างมาก ขณะที่สื่อหลักดั่งเดิมยังมถูกตรวจสอบให้อยู่บนพื้นที่ของหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อ และการออกอากาศต้องได้รับอนุญาตจากภาครัฐด้วย

                        จากนั้นคณะเดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้ากัลฟ์ บีพี ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์ ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณสัมพันธ์ ภู่เจริญ ผู้จัดการโรงไฟฟ้ากล่าวต้อนรับคณะ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าว่า โรงไฟฟ้ากัลฟ์ บีพี เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (Small Power Producer หรือ SPP) มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งจำนวน 127 เมกะวัตต์ และจ่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม และกฟผ.

                        สำหรับภาพรวมธุรกิจของกลุ่มบริษัทกัลฟ์นั้น แบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน ทั้งผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจก๊าซ และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เท่านั้นกัลฟ์เล็งเห็นถึงการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในประเทศไทย จึงลงทุนในธุรกิจด้านนี้มากขึ้น เพื่อตอบรับกระแสของการดำเนินธุรกิจในอนาคต

                        นอกจากนี้กัลฟ์ยังตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนต่อหนึ่งหน่วยของการผลิต (Carbon Intensity) ให้ได้ 25% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐานปี 2562 และเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ไม่น้อยกว่า 40% ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในปี 2578 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กัลฟ์เน้นพัฒนา 5 ด้านผ่านการทำกิจกรรม CSR ได้แก่ ด้านการศึกษา, สาธารณสุข, สิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิตและกีฬา สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน