สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ แถลงยืนยั่นเสรีภาพสื่อมวลชน คือ เสรีภาพในการคิด และการแสดงออกในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกประจำปี 2567

เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2567 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ UNESCO และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ร่วมกันจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาส “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day)” ประจำปี 2567 น.ส.น.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นางอุษา มีชารี อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ นายโจ ฮิโรนากะ หัวหน้าแผนกการสื่อสารและสารสนเทศ สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพมหานคร นายสเปนเซอร์ แอนเดอร์สัน รองโฆษก สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กรรมการบริหารสมาคมนักข่าวฯ และสมาชิกสมาคมนักข่าวฯ เข้าร่วม ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สำนักงานชั่วคราว) อาคารบางซื่อจังชั่น เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร


นางสาวน.รินี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กล่าวว่าตามที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศให้ วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วัน เสรีภาพสื่อมวลชนโลก” (World Press Freedom Day) เพื่อย้ำถึงเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของ เสรีภาสื่อมวลชนทั่วโลก คือ เสรีภาพในการคิด และการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงได้อย่างเสรี และปลอดภัย อย่างไรก็ตามยังมีสื่อมวลชนทั่วโลก ทำหน้าที่ด้วยความยากลำบาก ต้องเผชิญกับภัยจากการขมขู่ คุกคาม และการใช้ความรุนแรงจนบาดเจ็บและเสียชีวิตในโอกาสนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนของไทย ขอแสดงความเสียใจกับเพื่อนผู้ร่วมประกอบวิชาชีพทั่วโลก ที่ต้องสูญเสียบุคลากรอันมีค่าไปมากในปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 3 พฤษภาคม มีสื่อมวลชนเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 21 ราย โดย 1 รายเสียชีวิตในเมียนมา และอีก 20 รายเสียชีวิตในดินแดนปาเลสไตน์


ก่อนยืนสงบนิ่งเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้พวกเขาเหล่านั้น ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน เป็นเวลา 1 นาที
จากนั้นนางอุษา มีชารี อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ อ่านแถลงการณ์ ระบุว่า วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อแสดงเจตนารมณ์และกระตุ้นให้สังคมได้คำนึงถึงความสำคัญของเสรีภาพสื่อมวลชน ทำให้เกิดการรณรงค์ในประเด็น “เสรีภาพสื่อกับความยั่งยืนในยุค AI” การนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ตามสถานการณ์ของสังคมยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็น การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนที่จะต้องแสวงหาข้อมูลและนำมาเผยแพร่ให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับรู้และมีความเข้าใจอย่างถูกต้องในสถานการณ์นั้นๆ


ทั้งนี้การค้นหาข้อมูลต่างๆ ยังมีอุปสรรคอยู่มากในหลายสถานการณ์ นับเป็นความท้าทายของสื่อมวลชนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ประกอบกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่มีการพัฒนาและส่งต่อเพื่อการประยุกต์ใช้อย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้หลากหลายช่องทาง สิ่งสำคัญ การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ยังต้องมีความโปรงใส่ ถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสม เป็นกลาง จะช่วยให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์นำมาประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะทิศทางที่เกี่ยวข้องกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ


เนื่องในโอกาสครบรอบวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกอีกครั้ง จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและองค์กรสื่อมวลชน 1.เรียกร้องให้รัฐบาลเคารพความเป็นอิสระของสื่อมวลชน และสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อ ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐอย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสารการตรวจสอบโครงการของรัฐบาลที่ใช้เงินภาษีประชาชน 2.เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้สื่อเกิดความเข้มแข็ง มีหลักประกันในการทำงาน ขณะที่สื่อยังต้องเผชิญปัญหาท้าทายหลายด้าน ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ การเลิกจ้าง ความอยู่รอดในวิชาชีพ


3.เรียกร้องให้รัฐบาลคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพสื่อ การแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการชุมนุมหรือแสดงออกทางการเมืองที่สงบ สันติ และปราศจากอาวุธ รัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่คุกคามสื่อและประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการดำเนินคดี การคุกคามต่อร่างกายและทรัพย์สิน และ 4.เรียกร้องต่อองค์กรสื่อ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบตามกรอบจริยธรรม นำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยความ “โปร่งใส ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นธรรม” กับทุกฝ่าย ควบคู่กับความรับผิดชอบ


นอกจากนี้ ยังขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องเพื่อนร่วมวิชาชีพต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคในสถานการณ์ที่ยากลำบากและท้าทายในยุคนี้ เสรีภาพสื่อมวลชนถือได้ว่าเป็นหลักการสำคัญของสังคมในระบอบประชาธิปไตย การเคารพปกป้องเสรีภาพจึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน และประชาชน เพื่อให้สังคมไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน


นอกจากนี้ภานในงานยังมีการมอบรางวัลประกวด-ภาพถ่าย และวิดีโอสั้นบนแพลตฟอร์ม Tiktok ในหัวข้อเสรีภาพสื่อ เสรีภาพประชาชน และการประกวดคลิปสั้น “ชีวิตคนทำงานสื่อ” สำหรับผลงานภาพถ่าย ในหัวข้อ #เสรีภาพสื่อเสรีภาพประชาชน ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล  10,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ผลงานของนายฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ
รางวัลรองชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล  5,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ มี 2 รางวัล ได้แก่ผลงานของนางสาวชนากานต์ เหล่าสารคาม และผลงานของนายสุภณัฐ รัตนธนาประสาน
รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล  2,500 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ มี 8 รางวัล ได้แก่ นายณาฌารัฐ ภักดีอาสา นายทวีชัย จันทะวงค์  นายจุมพล นพทิพย์  นายกอบบุญ บูรโชควิวัฒน์ นายสุรกิจ แก้วมรกต นายฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ และนายเมธิชัย เตียวนะ 19 กรกฎาคม 2023 , หน้าอาคารรัฐสภา , ประชาชนรวมตัวชุมนุมบริเวณอาคารรัฐสภา ในวันประชุมร่วมรัฐสภา #โหวตนายกรอบ2 #ม็อบ19กรกฎา66 , ช่างภาพ : ณาฌารัฐ ภักดีอาสา


รางวัลชนะเลิศการประกวดคลิปสั้น ชื่อผลงาน “เบื้องหลังคนทำงานสื่อ และนี่คือ 1 วันที่เราต้องเจอ” ผลงานของนายสรวิชญ์ บุญจันทร์คง (แซนวิช) ผู้สื่อข่าวภาคสนามไทยรัฐออนไลน์ได้รับเงินรางวัล  10,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

รองชนะเลิศการประกวดคลิปสั้น คือ ณัฐพร สร้อยจำปา ได้รับเงินรางวัล  5,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
รางวัล Popular Vote 1 ได้รับเงินรางวัล  5,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ นายณาฌารัฐ ภักดีอาสา 

ส่วนรางวัล Popular Vote 2 ได้รับเงินรางวัล  2,500 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ นางสาวชนากานต์ เหล่าสารคาม 
ขณะที่นายสรวิชญ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้รับรางวัลนี้เพราะเป็นรางวัลแรกในชีวิตของการทำงานข่าว โดยปกติก็มีการผลิตคลิปสั้นประเด็นข่าวอยู่แล้ว ทั้งชอบถ่ายโมเมนต์ต่างๆ ในงานภาคสนามของตัวเอง และเพื่อนร่วมอาชีพ จึงนำมาร้อยเรียงเล่าเรื่องชีวิตการทำงานของนักข่าวใน 1 วัน เพื่อสะท้อนสิ่งที่นักข่าวต้องเจอในแต่ละวัน

World Press Freedom Day Speech

By Deputy Spokesperson Spencer Anderson, U.S. Embassy Bangkok

Ladies and gentlemen, distinguished guests. My name is Spencer Anderson and I’m the deputy spokesperson at the U.S. Embassy here in Bangkok. I’d like to thank the Thai Journalists Association for the kind invitation and warm reception. It really is an honor to speak to all of you on World Press Freedom Day, and present the awards for journalism students. 

Today holds profound significance in our global community and for us as a Mission. As we commemorate this occasion, it's essential to reflect on the crucial role that a free and independent press plays in shaping our societies, not only here in Thailand, but also around the world. 

Secretary of State Antony Blinken said, “A free press is essential to an informed citizenry and to holding governments accountable. Journalists tell the stories we need to hear, even when some would rather we didn't.” 

These words underscore the indispensable role of the press in our society. Journalists serve as the guardians of truth, shedding light on the issues that matter most and holding power to account. So I would like to thank all of you, for your dedication, and your courage in your work. The United States and the Biden administration remains committed to supporting a free press everywhere in the world. 

Some of you may know this already, but before joining the State Department, I too was a journalist, working mostly in London, Hong Kong, the U.S. While I can’t say I had much of a career or broke any really big stories, it was very clear to me that if I wrote something that a powerful company, individual or a government didn’t like, there were things they could do that could make my work and life very difficult. 

So in my experience, even in countries where freedom of the press and expression are well-protected under the law, journalists still face risks when speaking truth to power. They can be sued, face threats and sometimes far worse. So press freedom is a global issue, and it’s one that affects all of us. 

That’s one reason why the one consistent theme of World Press Freedom Day is "Information as a Public Good." It underscores the fundamental importance of reliable, accurate information in fostering democracy, promoting accountability, and advancing human rights. In an era characterized by the rapid spread of misinformation and disinformation, the role of the press in providing verified facts and holding power to account has never been more critical.

Thailand has a rich history of journalism, with brave reporters and media outlets working tirelessly to uncover truth and amplify diverse voices. However, we also recognize the challenges that journalists face, including censorship, intimidation, and violence. It's imperative that we stand in solidarity with journalists who risk their lives and livelihoods to report the truth, uphold democracy, and defend the public's right to know.

On this World Press Freedom Day, let us reaffirm our commitment to upholding press freedom and defending the rights of journalists. Let us also recognize the importance of media literacy in equipping citizens with the skills to critically evaluate information and discern truth from falsehood.

As we look to the future, let us envision a world where the press is free to fulfill its vital role as a watchdog, a catalyst for change, and a guardian of democracy. Together, let us strive to build societies where freedom of expression is cherished, where journalists can work without fear or intimidation, and where the pursuit of truth is celebrated as a public good.

In closing, I’d like to end with a quote from a famous American journalist and someone who inspired me to pursue a career in media, the late Tim Russert from NBC and Meet the Press. For those of you not familiar with him, I highly recommend checking out his interviews online. His attention to detail and techniques for holding politicians to account was extraordinary. Russert believed that the primary job of the media was to ask the tough questions. The government’s job is to answer them. It sounds so simple, but without genuine press freedom, it is so difficult. But it’s why we do the work we do, and it’s why it’s so important. 

I urge each of you to take a moment today to reflect on the importance of a free press and to consider how you can support journalists in their essential work. Together, let us defend press freedom, uphold the principles of democracy, and work towards a more informed and enlightened world.

Thank you.

สุนทรพจน์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

โดยรองโฆษกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย สเปนเซอร์ แอนเดอร์สัน

ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมชื่อ สเปนเซอร์ แอนเดอร์สัน เป็นรองโฆษกสถานทูตสหรัฐฯ ที่กรุงเทพฯ ครับ ขอขอบคุณสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยที่กรุณาเชิญผมมาและให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก และมามอบรางวัลให้แก่นักศึกษาโครงการพิราบน้อย

วันนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับนานาชาติและสำหรับเราในฐานะสถานทูต ขณะที่เราเฉลิมฉลองโอกาสนี้ เราจะต้องระลึกถึงบทบาทสำคัญที่สื่อเสรีและอิสระมีต่อการพัฒนาสังคมของเรา ทั้งที่นี่ ในประเทศไทย และทั่วโลก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน กล่าวว่า “สื่อเสรีจำเป็นต่อการทำให้พลเมืองรู้ข้อมูลข่าวสาร และต่อการเรียกร้องให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบ สื่อมวลชนเล่าเรื่องราวที่เราจำเป็นต้องได้ยิน แม้ในเวลาที่บางคนอาจจะไม่อยากให้เราได้ยินก็ตาม”

ถ้อยคำเหล่านี้เน้นย้ำบทบาทที่ขาดไม่ได้ของสื่อมวลชนในสังคมของเรา สื่อมวลชนทำหน้าที่ผู้พิทักษ์ความจริง ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญยิ่ง และเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบการกระทำของตน ดังนั้นผมอยากจะขอบคุณทุกท่าน ขอบคุณในความทุ่มเทของท่าน และความกล้าหาญในการทำงานของท่าน สหรัฐฯ และรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดน มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสื่อเสรีทุกที่ทั่วโลกสืบไป

บางท่านอาจจะรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ก่อนที่ผมจะมาทำงานกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ผมเองก็เคยเป็นนักข่าวมาก่อน โดยที่ส่วนใหญ่ทำงานที่ลอนดอน ฮ่องกง และสหรัฐฯ แม้ว่าจะพูดไม่ได้ว่า ผมก้าวหน้าในอาชีพการงานมาก หรือได้เขียนเรื่องราวที่กลายเป็นข่าวดัง แต่ผมก็รู้ดีว่า หากผมเขียนข่าวซึ่งธุรกิจห้างร้าน บุคคล หรือรัฐบาลไม่ชอบ คนเหล่านั้นก็อาจทำสิ่งที่ทำให้งานและชีวิตของผมยุ่งยากมากได้

ดังนั้นในประสบการณ์ส่วนตัวผม แม้ในประเทศที่กฎหมายปกป้องคุ้มครองเสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี แต่สื่อมวลชนก็ยังเผชิญกับความเสี่ยงเมื่อยืนหยัดเพื่อสิ่งที่ถูกต้องและเรียกร้องความยุติธรรมจากผู้มีอำนาจ สื่อมวลชนอาจโดนฟ้อง เผชิญกับการข่มขู่ และบางครั้งอาจจะประสบกับสิ่งที่แย่กว่านั้นมาก เสรีภาพของสื่อจึงเป็นประเด็นระดับโลก และเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบกับพวกเราทุกคน 

นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหัวข้อหนึ่งของวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกคือ "Information as a Public Good." ซึ่งเน้นความสำคัญของข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ในการเสริมสร้างประชาธิปไตย ส่งเสริมความรับผิดชอบ และขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน ในยุคที่ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สื่อมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่าที่ผ่าน ๆ มาในการให้ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง และเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้มีอำนาจ

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในด้านสื่อสารมวลชน มีนักข่าวและสำนักข่าวที่กล้าหาญมากมาย ซึ่งทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อเปิดเผยความจริงและเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้คนทั้งหลาย อย่างไรก็ดี เราตระหนักถึงความท้าทายที่สื่อมวลชนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการตรวจสอบ การข่มขู่ หรือความรุนแรง เราจะต้องยืนหยัดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสื่อมวลชนที่เสี่ยงชีวิตและการทำมาหาเลี้ยงชีพของตน เพื่อรายงานความจริง ส่งเสริมประชาธิปไตย และปกป้องสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกนี้ ขอให้เราทั้งหลายยืนหยัดมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาเสรีภาพของสื่อ และปกป้องสิทธิของสื่อมวลชน ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อในการช่วยให้พลเมืองมีทักษะในการประเมินข้อมูลที่จำเป็นและแยกแยะความจริงจากการหลอกลวงได้

เมื่อเรามองไปข้างหน้า ให้เรามองเห็นภาพโลกที่สื่อมีเสรีในการทำหน้าที่สำคัญในฐานะสุนัขเฝ้าบ้าน ผู้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย เราทั้งหลายจะร่วมกันต่อสู้เพื่อสร้างสังคมที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ได้รับการเชิดชู สังคมที่สื่อมวลชนสามารถทำงานได้โดยปราศจากความกลัวหรือการข่มขู่ และสังคมที่ตระหนักว่าการแสวงหาความจริงเป็นประโยชน์ของสาธารณชน

ผมอยากจะทิ้งท้ายไว้ด้วยคำกล่าวของสื่อมวลชนอเมริกันที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผมในการเริ่มทำงานสื่อสารมวลชน นั่นคือ Tim Russert ผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นนักข่าวของ NBC และพิธีกรรายการ Meet the Press หากท่านไม่รู้จักเขา ผมขอแนะนำให้ลองดูบทสัมภาษณ์ของเขาทางออนไลน์นะครับ เขาใส่ใจในรายละเอียดและมีเทคนิคในการเรียกร้องให้นักการเมืองรับผิดชอบการกระทำของตนเป็นอย่างมาก เขาเชื่อว่า งานแรกของสื่อคือถามคำถามที่ไม่มีใครอยากตอบ และงานของรัฐบาลคือตอบคำถามเหล่านั้น ฟังดูง่ายนะครับ แต่หากไม่มีเสรีภาพสื่ออย่างแท้จริงแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงทำงานที่เราทำอยู่ และเป็นเหตุผลว่าทำไมงานนั้นสำคัญ

ผมขอให้ทุกท่านได้ใช้เวลาสักครู่ในวันนี้ระลึกถึงความสำคัญของสื่อเสรี และลองคิดว่าท่านจะช่วยสนับสนุนสื่อมวลชนในงานที่สำคัญของพวกเขาได้อย่างไร ขอให้เราร่วมกันปกป้องเสรีภาพของสื่อ สนับสนุนหลักการประชาธิปไตย และทำงานเพื่อให้โลกนี้มีข้อมูลและรับทราบข่าวสารมากขึ้น

ขอบคุณครับ