สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รับมอบหน้ากากอนามัยซีพี

นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รับมอบหน้ากากอนามัยซีพี จากนางสาวเรวดี  พงศ์ไชยยง ผู้จัดการทั่วไป ด้านการสื่อสารและความเชื่อมั่นของสาธารณะ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่สื่อมวลชนที่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

หน้ากากอนามัยซีพีที่ผลิตเป็นหน้ากากอนามัยที่เรียกว่า Surgical Mask จัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ โดยหน้ากากอนามัยนี้ประกอบด้วย 3 ชั้น  ชั้นแรก เป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (สีเขียว) เคลือบสารไฮโดรโฟบิกซึ่งมีคุณสมบัตป้องกันน้ำ  ชั้นต่อมา เป็นนอนวูฟเวนชนดิเมลต์โบลน (สีขาว) ใช้ป้องกันเชื้อโรค และชั้นสุดท้าย เป็นนอนวูฟเวนชนดิสปันบอนด ์(สีขาว) โดยวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในการผลิตล้วนมีคุณภาพได้มาตรฐาน อาทิ นอนวูฟเวนชนดิ เมลต์โบลน (meltblown nonwoven) ซึ่งเป็นแผ่นป้องกันเชื้อโรค  ได้คัดเลือกวัตถุดิบเกรด A ที่ได้มาตรฐานระดับโลก  มีประสทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย (BFE) > 99% รวมถึง กรองฝ่นุ อนุภาคขนาดเล็ก 0.1 ไมครอน(PFE) เฉลี่ย > 99.9% และไดรับใบรับรองคุณภาพจาก Nelson Labs องค์กรมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทยจ์ากประเทศสหรัฐอเมรกิา จึงมั่นใจได้ว่าหน้ากากอนามัยซีพีมีคุณภาพและได้มาตรฐานในระดับสูงรายหนึ่งของเมืองไทย  

ปัจจุบัน  ซีพีโซเชียลอิมแพคท์ได้มีการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยฯ ไปแล้วกว่า 11 ล้านชิ้น โดยระยะแรก  เริ่มตั้งแต่ 16 เมษายน 2563 แจกจ่ายผ่านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ โดยมุ่งเน้นแจกจ่ายแก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลเป็นลำดับแรก ทำให้โรงงานต้องผลิตในกำลังการผลิตสูงสุด ทำงาน 24 ชั่วโมง ภายใต้ความยากลำบากในการหาวัตถุดิบที่ขาดแคลนทั่วโลก เนื่องจากในชวงเวลานั้นหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลน ทำให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อน จากการขาดแคลนหน้ากากอนามัยได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภารกิจของภาครัฐในการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้กับบคุลากรทางการแพทย์ที่เป็นหน้าด่านในการต่อสู้กับโควิด-19

ระยะที่ 2 ระยะขยายการแจกจ่ายจากบุคลากรทางการแพทย์ไปสู่ประชาชนกลุ่มเปราะบางตั้งแต่ 1 มิถินายน – 31 กรกฎาคม 2563  แจกจ่ายหน้ากากอนามัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล จำนวน 4 ล้า้ชิ้น และบางส่วน ให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางผ่านเครือข่ายกาชาด จำนวน 1 ล้านชิ้น  รวมทั้ง 2 ระยะเป็น 8 ล้านชิ้น จากนันได้เข้าสู่ ระยะที่ 3 ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563 เนื่องจากมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทยเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก และ เมื่อสำรวจความต้องการในตลาด และปริมาณการผลิตในประเทศ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ  โรงพยาบาลจฬุาลงกรณ์ฯ จึงมีเจตนารมย์ ให้โรงงานผลิตหนา้กากอนามัยปรับกระบวนการผลิตกลับมาอยู่กำลังการผลิตปกติ โดยสำรอง หน้ากากอนามัยให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ เดือนละประมาณ 300,000 ชิ้น และ เพื่อใหเ้กิดรายได้นำมาใช้ในการดำเนินโรงงานอย่างยั่งยืน บริษัทในเครือสามารถลงงบประมาณให้ก้บโรงงานผลิตหน้ากากเพื่อผลิตและซื้อหน้ากากอนามัยไปบริจาคและแจกจ่ายเพิ่มเติมโดยจัดสรรกำไรทั้งหมดจากการดำเนินกิจการโรงงานหน้ากากอนามัยในทุกปีการผลิตแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ดังนี้ ศูนย์โรคหัวใจ 30% โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ 30% คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30% และสภากาชาดไทย 10% ทั้งนี้ปัจจุบันซีพีโซเชียลอิมแพคท์ยังไม่มีการจำหนายให้กับบุคคลภายนอก