เกาะติด “มหัตภัยร้าย!!!มลพิษมาบตาพุด”

เกาะติด “มหัตภัยร้าย!!!มลพิษมาบตาพุด”

กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

 

“ฐานเศรษฐกิจ” เป็นฉบับแรกที่เปิดประเด็นปัญหามลพิษในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปลายปี2549ข่าว”รง.ไบโอดีเซลพ่นสารก่อมะเร็ง” เริ่มจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้เพลิงชีวภาพ(กชช.)เข้าสำรวจโรงงานไบโอดีเซลในพื้นที่ อ.บ้านค่ายจ.ระยอง อ.เมืองจ.สมุทรสาคร อ.กบินทร์บุรีจ.ปราจีนบุรีอละอ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยกชช. พบว่ามีการปล่อยสารเมธานอลที่เป็นสารก่อมะเร็งในตับ หัวใจ  หากสูดดมมากอาจถึงแก่ชีวิต โดยมีต้นเหตุมาจากโรงงานไม่มีระบบกักเก็บสารเมธานอลที่ดีพอ จึงมีการจี้ให้กรมโรงงานและกรมควบคุมมลพิษเข้าตรวจสอบ

ทีมข่าวกองบรรณาธิการจึงลงพื้นที่สุ่มสำรวจเริ่มจากที่อ. กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พบโรงงานปล่อยควันพิษ ทำให้ชาวบ้านกว่า100 หลังคาเรือนเดือนร้อน ตามข่าว”เยื่อรง.ไบโอดีเซลโวยเช็ด  พาโมลากระทุ่มแบนพ่นพิษทำให้กรมโรงงานและกรมควบคุมมลพิษ เดินแผนเข้าตรวจสอบ        และขยายผลต่อเนื่องไปยังพื้นที่อื่น  โดยโฟกัสไปที่โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง   เพราะมองว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง ที่จะเกิดปัญหามลพิษได้ในระดับสูง  และเป็นประเด็นที่ทำให้เทศบาลทั่วประเทศตื่นตัวกันมาก   มีการลงพื้นที่สำรวจที่ตั้งโรงงานในมาบตาพุด  พบการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง 25 ชุมชนในเขตมาบตาพุด  ทำให้หลายเสียงมองตรงกันว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหามลพิษขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว

จากเสียงต่อต้านไม่เอาโรงงานใหม่ในพื้นที่มาบตาพุดทำให้ภาครัฐบาลและหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมตื่นตัว   และจากการนำเสนอข่าวนี้อย่างต่อเนื่อง  ทำให้เมื่อปี2550 ฐานเศรษฐกิจ”ได้รับรางวัลรางวัลชมเชยข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2550  ในวันนักข่าว 5 มีนาคม ที่มีการประกาศผลการประกวดข่าวรางวัลใหญ่สุดของวงการหนังสือพิมพ์เมืองไทย คือ การประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยมรางวัลอิศรา อมันตกุล ของมูลนิธิอิศรา อมันตกุล และรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย!

แต่เนื่องจากข่าวที่นำเสนอไปยังไม่มีข้อสิ้นสุด ปี2552 “ฐานเศรษฐกิจ”ยังต้องเกาะติดความเคลื่อนไหวนี้ต่อไปอีก  เพราะมองเห็นว่าในแง่กฎหมายปัญหานี้ยังมีมุมที่นำเสนอต่อ และข่าวมลพิษมาบตาพุดก็กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งเมื่อศาลปกครองจังหวัดระยองมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศให้ท้องที่ในเขต5ตำบล ประกอบด้วย ต.มาบข่า ต.เนินพระ ต.ทับมา ต.บ้านฉาง และท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ต.มาบตาพุด จ.ระยอง  เป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามข่าวที่นำเสนอ”ได้-เสียคุมมลพิษมาบตาพุด” และนำเสนอต่อเนื่องมาอีกหลายมุม โดยเฉพาะการเรียกร้องของชาวบ้านและเอ็นจีโอให้โครงการที่อยู่ระห! ว่างก่อสร้างหรือเปิดดำเนินการไปแล้วและเป็นโครงการที่ได้รับอนุญาตตั้งหรือขยายโรงงานหลังประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี2550 ที่ประกาศใช้24สิงหาคมปี2550 จะต้องเดินตามกรอบรัฐธรรมนูญมาตรา67วรรค2ก่อนจึงจะดำเนินการใดๆต่อไปได้

ต่อมาทีมข่าวนำเสนอข่าว “ศาลปกครองเบรก76 โครงการลงทุนกว่า3แสนล.มาบตาพุดชะงัก” โดยจี้ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 รายจากหน่วยงานรัฐสั่งระงับให้76 โครงการหยุดลงทุนไว้เป็นการชั่วคราวก่อน  แต่เมื่อ8หน่วยงานรัฐไม่มีแอกชั่นอะไร  ทำให้เอ็นจีโอโดยสมาคมภาวะโลกร้อนยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โทษฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ละเลยคำสั่งศาลสั่งระงับ76 โครงการ ในขณะที่อัยการสูงสุดก็ยื่นอุทรณ์ต่อศาลปกครองแทนผู้ฟ้องทั้ง8หน่วยงานรัฐ

หลังจากนั้นศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งว่าใน76 โครงการนั้น ให้ระงับการลงทุนลง65 โครงการและถอนการคุ้มครองชั่วคราวใน11 โครงการ ให้ดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่ได้เป็นโครงการที่เกิดผลกระทบรุนแรงชัดเจน  ขณะที่ภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นห่วงสถานะภาพของเศรษฐกิจก็ออกมาประเมินความเสียหายที่เกิดจาการแช่แข็ง65โครงการเป็นมูลค่ากว่า6 แสนล้านบาท

วันนี้แม้ว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ  แต่ประเด็นปัญหาก็ยังไม่ถึงที่สิ้นสุด เพราะขณะนี้ยังอยู่ในขบวนการจัดทำรายละเอียดเนื้อหาของการจัดตั้งองค์กรอิสระของคณะกรรมการ4ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน นั่งเป็นประธาน

การนำเสนอข่าว”มาบตาพุด”ของ”ฐานเศรษฐกิจ”ทุกฉบับที่ตีพิมพ์ออกไปในช่วงที่ผ่านมา ต้องใช้พละกำลังความสามารถที่มี และประสบการณ์จากการที่เคยทำข่าวนี้มาก่อนหน้านั้นต่อเนื่องเป็นปี มาพัฒนาประเด็นหรือครีเอทประเด็นให้ฉีกไปจากหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งมีความถี่มากกว่า   โดยคำนึงถึงผู้อ่านที่ควรได้รับประโยชน์สูงสุดและได้มองเห็นแง่มุมต่างๆของข่าวที่หลากหลายขึ้น  ทำให้การเกาะติดข่าวมลพิษมาบตาพุด  ที่นำเสนอออกไปอย่างต่อเนื่องได้รับความสนใจจากผู้อ่านและในแวดวงข่าวด้วยกันทั้งใน! สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ โทรทัศน์  โดยนำเสนอมุมข่าวให้ทันกับสถานการณ์แบบหลากหลายมีทั้งรายงาน บทสัมภาษณ์ ข่าวหน้า1 ข่าวหน้าในติดต่อกันหลายฉบับ รวมไปถึงการจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมที่รวมเอาความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหามาบตาพุดมาระดมความเห็นร่วมกัน นอกจากนี้การนำเสนอข่าวยังได้ รับความอนุเคราะห์จากบริษัทเอกชน ภาครัฐ นักวิชาการ ชาวบ้าน เอ็นจีโอ และอื่นๆ ที่ให้การสนับสนุนข้อมูลในการนำเสนอข่าวให้มีความชัดเจน ตรงประเด็น รวมถึงข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวกับกับสิ่งแวดล้อม ช่วยประกอบ อ้างอิงในหนังสือพิมพ์”ฐานเศรษฐกิจ”จนเรียบเรียงออกมาเป็นข่าวได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง.