แถลงการณ์ของเครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือซีป้า

แถลงการณ์ของเครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือซีป้า
เนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม
ความท้าทายและคำมั่นสัญญาในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


การฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนและชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้และอันตรายที่สื่อมวลชนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในการทำหน้าให้ข้อมูลข่าวสารและทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง

สำหรับการฉลองในปีนี้จัดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญที่ภูมิภาคฯ โดยในขณะที่การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้สร้างความหวังและทางเลือกสำหรับการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคและความท้าทายต่างๆที่รัฐบาลในภูมิภาคฯกำลังเผชิญอยู่ ประชาชนและชุมชนต่างๆเองก็ได้เรียกร้องบรรดาผู้นำทางการเมืองให้ยืนหยัดและยึดมั่นในพันธกรณีที่มีต่อสื่อที่มีเสรีภาพ เป็นอิสระและมีความหลากหลาย

ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์และพม่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น การหมิ่นศาสนากำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อและนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในประเทศไทย และความกังวลในเรื่องภัยคุกคามความมั่นคงที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาบดบังความกังวลในด้านอื่นๆทั่วทั้งภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นในประเทศเวียดนาม ไปจนถึงสิงคโปร์และติมอร์ตะวันออก ส่งผลให้คุณค่าและหลักการที่เป็นหัวใจของการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนในปีนี้ได้ถูกทดสอบ

การสังหารหมู่ผู้สื่อข่าว 31 คน ที่จังหวัดมากินดาเนา ในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งส่อเค้าว่ามีความผิดปกติในกระบวนการการดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้บงการ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ชี้ให้เห็นถึงความสุ่มเสี่ยงของสื่อมวลชนในภูมิภาคฯ และยิ่งไปกว่านั้น การสังหารผู้สื่อข่าวเป็นรูปแบบของการใช้ความรุนแรงกับสื่อที่มีเสรีภาพเพียงรูปแบบเดียวที่พวกเรากำลังต่อต้านอยู่ในขณะนี้

ทั่วภูมิภาคฯในปัจจุบัน มีผู้สื่อข่าวและผู้ที่ทำงานด้านข่าวอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงถูกคุกคามทางร่างกาย ไม่เป็นที่ยอมรับและถูกเกลียดชังในสังคม ต้องโทษจำคุก ถูกหน่วงเหนี่ยวกักกัน และถูกคุกคามทางกฎหมาย และยังมีทนายความ และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่ถูกจับและถูกคุกคาม นอกเหนือไปจากผู้สื่อข่าวและนักเขียนในประเทศเวียดนาม พม่า กัมพูชา ตลอดจน สิงคโปร์และฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอีกเป็นจำนวนมาก เช่น กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงภายใน กฎหมายหมื่นประมาท กฎหมายความลับของทางราชการ และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดขี่สื่อมวลชนในมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ลาวและพม่า ความหมิ่นประมาทยังคงเป็นความอาญา กฎหมายการดูหมิ่นเกลียดชังรวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมเพื่อจัดการกับบทวิจารณ์ต่างๆ และถูกนำมาอ้างว่ามีความจำเป็นต่อการรักษาไว้ซึ่งความเสถียรภาพ และ/หรือ เพื่อรักษาวัฒนธรรมและความอ่อนไหวทางด้านศาสนา จนส่งผลกระทบต่อการถกเถียงอย่างชอบธรรมในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์สาธารณะ

กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นได้ถูกนำมาใช้กับสื่อออนไลน์ ข่าวสารทางโทรศัพท์มือถือและบทวิจารณ์ต่างๆที่ความเป็นกังวลของรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคหรือบางส่วนทั่วโลกเพื่อปิดกั้นการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่มากมายมหาศาลอันเกิดมาจากสื่อใหม่

ในขณะที่วิชาชีพวารสารศาสตร์ สื่อมวลชน และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขตได้มีวิวัฒนาการไปอย่างมากในยุคดิจิตอล และที่เหลวร้ายยิ่งไปกว่านั้น การคุกคามสื่อในภูมิภาคฯไม่ได้เกิดจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวแต่เกิดจากภาคประชาสังคมที่เป็นตัวแทนของกลุ่มศาสนา กลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มที่ไม่มีขันติทางการเมือง ความเสื่อมทรามทางสังคมและความอ่อนแอของนิติรัฐ ด้วยเช่นกัน

การละเว้นไม่ลงโทษผู้กรทำผิดในฟิลิปปินส์ซึ่งมีผู้สื่อข่าวถูกสังหารไปกว่า 100 คน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ยังคงเป็นผลพวงจากความล้มเหลวของรัฐบาล ความซับซ้อนของระบบความยุติธรรมที่อ่อนแอ และอำนาจนอกระบบในระดับท้องถิ่นและชุมชน

การที่ประชาชนขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องสื่อทั่วทั้งภูมิภาคเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเข้าใจสื่อผิดๆได้ง่าย ทำให้สื่อตกเป็นเป้าหมายของความโกรธของผู้ชุมนุมและความเกลียดชังของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง

ในประเทศไทย การปะทะกันระหว่างฝ่ายทหารและผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ได้ทำให้สื่อมวลชนตกอยู่ในดงกระสุนหรือโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศได้ตกเป็นเหยื่อโดยตรงของความเป็นปรปักษ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุมที่ต้องการให้สื่อเลือกข้างและแทนที่จะส่งเสริมให้สื่อมีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่หรือให้ความคุ้มครองในเรื่องความแตกต่างหลากหลาย กลุ่มที่ขัดแย้งกันในประเทศไทยกลับใช้สื่อเป็นอาวุธในการต่อสู้หรือทำลายล้างกัน

กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา เป็นกลุ่มที่คุกคามสื่อที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียและมาเลเซีย การไม่เคารพความต่างทางศาสนาได้ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการกำกับเสรีภาพในการแสดงออก

การฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกในปีนี้และที่เริ่มขึ้นเมื่อ 17 ปีก่อน ไม่ได้มีขึ้นเพื่อเป็นการแสดงการไว้อาลัย แต่ยังเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักว่าเราจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไรหรืออย่างน้อยเป็นโอกาสที่จะสร้างความหวังในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อมวลชน และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในเดือนนี้ ประเทศฟิลิปปินส์กำลังตกอยู่ในภาวะที่กฎหมายสำคัญของประเทศซึ่งจะรับรองสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนจะมีโอกาสผ่านรัฐสภาในวินาทีสุด้ายหรือตกไปในวินาทีสุดท้าย ส่วนกฎหมายข้อมูลข่าวสารของอินโดนีเซียกำลังจะมีการประกาศใช้ในปีนี้ และถือเป็นประเทศที่สองนับจากประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่บังคับใช้กฎหมายและมีกลไกเพื่อความโปร่งใสของรัฐ แม้แต่ในประเทศเวียดนามก็เริ่มปรึกษาหารือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเริ่มสำรวจทางเลือกที่จะยกระดับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศลาวได้ให้การสัตยาบรรณต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง นอกจากนี้ยังมีการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การมีคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนเปิดเวทีให้มีการท้าทายเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ให้รัฐบาลในภูมิภาคปฏิบัติตามพันธกรณีที่ให้ไว้

ที่แน่นอนก็คือ การเปลี่ยนประธานการประชุมอาเซียนจากไทยเป็นเวียดนามก่อให้เกิดคำถามใหญ่ว่าอาเซียนและ คณะกรรมาธิการสิทธิฯจะให้การรับรองเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นประเด็นที่มีชอบธรรมสำหรับบรรดาผู้นำอาเซียนได้มากน้อยแค่ไหน คำตอบของเรื่องนี้เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นและจะมีการถกเถียงกันมากขึ้นในอนาคตข้างหน้านี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับทุกๆเรื่องในการสร้างประชาธิปไตยในพม่า และการแก้ไขปัญหาการละเว้นการลงโทษผู้กระทำผิดในฟิลิปปินส์ ไปจนถึงความสำคัญของอินเตอร์เน็ตในฐานะที่เป็นสื่อประชาธิปไตยของภูมิภาคฯ

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราควรตระหนักว่าประชาชนอาเซียนได้ใช้สิทธิเสรีภาพในรูปแบบใด

ในโอกาสการฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกในปีนี้ ขอเรียกร้องให้ผู้นำในภูมิภาคฯใช้เวลาในการรับฟังเสียงจากประชาคมโลกที่ได้ร่วมกันสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ หากปราศจาก เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงออกแล้วหลักประกันในสิทธิต่างๆแล้ว ความพยายามต่างๆในการพัฒนาสร้างสรรค์สังคม และธรรมาภิบาลจะเกิดความชะงักงันและส่อเค้าว่าจะไม่สำเร็จลุล่วงได้อย่างแท้จริง และหากปราศจากความโปร่งใส ความหลากหลาย และสื่อที่อิสระแล้ว โครงการต่างๆและการส่งเสริมด้านสิทธิทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้หญิงและเด็ก ไปจนถึงธรรมาภิบาล และการยุติปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง ก็จะไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะประชาชนถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการสร้างชีวิตของตนเองและสร้างสังคม


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่
seapa@seapa.org หรือ โทรศัพท์ 02 2435579