ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๖ ภาคเหนือ

กำหนดการ  ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน  ประจำปี ๒๕๕๖  ภาคเหนือ

ประชุมสัมมนา  “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์”  ครั้งที่  ๔ ตอน “ ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม”

วันเสาร์ที่ ๑๙  มกราคม ๒๕๕๖  เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ณ  มหาวิทยาลัยเนชั่น  ลำปาง

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศรา  มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น.                          ลงทะเบียน

๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น.                         กล่าวต้อนรับ โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี  มหาวิทยาลัยเนชั่น

๐๘.๔๕– ๐๙.๐๐ น.                          กล่าวเปิดงาน โดย นายประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร  สถาบันอิศรา

๐๙.๐๐ – ๑๐.๒๐  น.                          บรรยายพิเศษ  “สงครามแพลตฟอร์ม”

โดย นายสุทธิชัย   หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น กรุ๊ป

๑๐.๒๐ – ๑๐.๔๐ น.                          พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๐ – ๑๒.๐๐ น.                          บรรยายพิเศษ  CTH ผู้พลิกโฉมธุรกิจเคเบิลไทย?”

โดย นายวิชัย  ทองแตง ประธานกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช

ดำเนินรายการโดย นางสาวอมรรัตน์  มหิทธิรุกข์ อุปนายกฝ่ายวิชาการและเลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.                          พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.                          เสวนา หัวข้อ “ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม

วิทยากร

นายอดิศักดิ์  ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

นายวิชิต   เอื้ออารีวรกุล

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง(8888) จำกัด

นางสาววริษฐา  ภักดี

บรรณาธิการผู้พิมพ์ โฆษณา หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ จ.ลำปาง

ดร.เสริมศิริ  นิลดำ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ดำเนินรายการโดย ดร. มานะ  ตรีรยาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

๑๕.๐๐ – ๑๕.๒๐ น.                         สรุปการสัมมนา โดย

อาจารย์สกุลศรี  ศรีสารคาม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์เอกพล   เธียรถาวร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

๑๕.๒๐ – ๑๕.๓๐ น.                        กล่าวปิดสัมมนาโดย นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

ประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี ๒๕๕๖ ภาคเหนือ

“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่  ๔

ตอน “ ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม”

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยี             ที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆที่เป็นทางเลือกให้กับผู้รับสารนอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร   การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์  งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ในระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คนและคุณภาพของเนื้อหา  ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี    (Technology  Investment) และการดำเนินการทางการตลาด  ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ  รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ การหลอมรวมกันของสื่อ (Media Convergence)  นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยี  ที่ใช้องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน  การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง  แนวโน้ม  Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ   นอกจากการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์           ที่เคลื่อนเข้าหาสื่ออื่นๆ สื่อโทรทัศน์ก็กำลังถูกท้าทายจากโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ( Cable TV) โทรทัศน์ดาวเทียม  (Satellite TV) และอินเทอร์เน็ตทีวีอีกด้วย การแย่งชิงผู้รับสารที่บริโภคผ่านหลากหลายแพลตฟอร์มจึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้  สถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักจำเป็นต้องนำมาพิจารณา  ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยเครือข่ายวิชาชีพและวิชาการวารสารศาสตร์ได้จัดประชุมเครือข่ายในรูปแบบของ การสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆอันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านวารสารศาสตร์  ไปแล้วทั้งสิ้น ๓ ครั้ง

  • ครั้งที่ ๑ ตอน  “ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์” เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๒ ตอน  “Convergence Newsroom” เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๓  ตอน “การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era)” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑  ตุลาคม ๒๕๕๕  ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สำหรับในครั้งที่ ๔ เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ในส่วนภาคเหนือ   คณะทำงานจึงจะจัดสัมมนา “ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ ๔ ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “สงครามแพลตฟอร์ม” ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ในวันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖  โดยจะเปิดเวทีนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น      ในประเด็น “ ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม”

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสารและความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน รวมทั้งสอดรับกับอนาคต

๓. เพื่อเป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อวงการวิชาชีพสื่อมวลชน  โดยเฉพาะในยุค “สงครามแพลตฟอร์ม”

กลุ่มเป้าหมาย

นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน นักศึกษา  จำนวน    ๘o      คน

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖

สถานที่จัดงาน

ณ   มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่างๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน  ภาคเหนือ

องค์กรที่รับผิดชอบ

๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓. สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

๔. มหาวิทยาลัยเนชั่น  ลำปาง

#