ผุสดี คีตวรนาฎ

หญิงเหล็กแห่งซินจงเอี๋ยน

หนุ่ม สมคะเน

ภายในห้องประชุม ซึ่งเป็นห้องทำงานเล็กๆ ของ มูลนิธิไทย   จีนเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม ผมได้มีโอกาสสนทนากับสุภาพสตรี วัย 69 ป ท่านหนึ่ง ซึ่งว่ากันว่า เธอเป็นนักหนังสือพิมพ์ภาษาจีน ประจำประเทศไทยที่อายุน้อยที่สุดในขณะนี้

เส้นทางชีวิตการทำงานของเธออาจจะดูเรียบง่าย ไม่หวือหวาเหมือนคนข่าวหลายๆ คน แต่ก็ไม่ง่ายนักที่ใครจะประสบความสำเร็จ และรักษาจิตวิญญาณสื่อสารมวลชนระหว่างชาวจีนกับชาวไทย เช่น  ผุสดี คีตวรนาฎ  คนนี้ ซึ่งปัจจุบันเป็น บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์ซินจงเอี๋ยน

วันนี้ อาจจะไม่มีใครรู้จัก  พี่ผุส  หรือ นาง ผุสดี คีตวรนาฎ อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ คนนี้ก็ได้ หากย้อนกลับเมื่อ 50ปีที่แล้ว เธอไม่ได้รับการผลักดันจากคุณ พลเชษฐ คีตวรนาฎ * คนรักในขณะนั้น ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ภาษาจีน ให้เรียนวารสารศาสตร์ มธ. แทนการเรียนบัญชี ด้วยเหตุผลที่ว่า  เรียนบัญชี ไม่มีประโยชน์ 

ตอนนั้นหลังจบชั้นมัธยม พี่ก็ไม่รู้จะเรียนอะไรต่อ ตอนแรกคิดว่าจะเรียนบัญชีเหมือนเพื่อนหลายๆ คน แต่แฟนพี่(พลเชษฐ คีตวรนาฎ ) คัดค้าน บอกว่า เรียนบัญชีไม่มีประโยชน์หรอก เรียนวารสารฯ ดีกว่ายังสามารถทำงานไปด้วยได้ ก็เลยเชื่อแฟนเพราะเขาทำหนังสือพิมพ์จีนในขณะนั้นอยู่ก่อนแล้ว ส่วนพี่ทำงานที่กองการต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่แปล และตรวจบทความหนังสือจีน ที่มีการตีพิมพ์และวางขายในประเทศไทย ไปพร้อมกับการเรียนที่ มธ.  ผุสดี เล่าถึงจุดเริ่มต้นชีวิตคนข่าว

กระทั่งในปี 2506 จึงได้เริ่มเป็นนักข่าวภาคสนามครั้งแรก กับหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ ในฐานะผู้สื่อข่าวการเมืองและข่าวต่างประเทศ ซึ่งต้องรายงานข่าวสำคัญระดับชาติทันที ข่าวอาการป่วยและเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และทำให้ ผุสดี คีตวรนาฎ แจ้งเกิดในสายข่าวการเมืองทันที ในฐานะที่เป็นนักข่าวคนแรก ที่เข้าไปติดตามรายงานข่าวจากภายในทำเนียบรัฐบาลเป็นคนแรก

{xtypo_quote}ว่าไปแล้วเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า สมัยนั้นยังไม่มีการอนุญาตให้นักข่าวเข้าไปทำข่าว รายงานข่าวในทำเนียบรัฐบาล การหาข่าวส่วนใหญ่ต้องนั่งรอดักสัมภาษณ์รัฐมนตรีที่นั่งออกมาจากทำเนียบ เป็นการทำข่าวที่ยากมาก แต่ที่พี่เข้าไปได้ เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากตอนนั้นพี่เพิ่งเรียนจบมาใหม่ ไม่รู้เรื่องระเบียบปฏิบัต จึงเดินดุ่มๆ เข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ได้ติดใจสอบถาม เพราะเห็นว่าพี่แต่งตัวเรียบร้อยเหมือนพวกข้าราชการสาวๆ ในทำเนียบ จึงปล่อยเข้าไป จนกระทั่งเจอคุณ ประจวบ สุนทรางกูร โฆษกรัฐบาลในขณะนั้น ความจึงแตก จึงต้องออกมารอทำข่าวข้างนอกเหมือนๆ พี่คนอื่น{/xtypo_quote}

อย่างไรก็ตาม ผุสดี ยอมรับว่า เหตุผลที่เธอค่อนข้างจะได้ข่าวจากแหล่งข่าวในทำเนียบรัฐบาล บ่อยๆ ก็เพราะความเป็นนักข่าวผู้หญิง

{xtypo_quote}แม้ยุคนั้น จะมีนักข่าวสตรีน้อย แต่ค่อยมีปัญเรื่องชู้สาว เนื่องจากวัฒธรรมไทยไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงแต่งตัวฟู่ฟ่าอย่างสมัยนี้ ประกอบกับแหล่งข่าวส่วนใหญ่ค่อนข้างจะให้เกียรติผู้หญิงมาก ทำให้นักข่าวผู้หญิงค่อนข้างได้เปรียบในการหาข่าว แต่ก็ไม่ใช่นักข่าวผู้หญิงจะโชคดีเหมือนกันหมดนะ ถ้าทำตัวก๋ากั่น ไม่วางตัวดีๆ แหล่งข่าวก็ไม่ให้ความสำคัญ ถึงขั้นตกข่าวไปเลยก็มี ผุสดีระบุ{/xtypo_quote}

หลังจากข่าวจอมพลผ้าขาวม้าแดงสิ้นมนต์ขลังชีวิตผุสดี ก็ไม่ต่างกระจอกข่าวคนอื่นๆ ที่จำต้องย้ายรังใหม่ เนื่องจากหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ได้สิ้นมนต์ขลังไปด้วย

ผุสดี ถึงกลับเปลี่ยนเส้นทางชีวิตไปทำงานโทรทัศน์อยู่พักใหญ่กับ ช่อง4บางขุนพรหม และ ช่อง 7 แต่ก็ไม่ประความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งถูกทาบทามมาร่วมบุกเบิกโต๊ะข่าวต่างประเทศ ให้กับ เดอะเนชั่น พร้อมกับทำหนังสือพิมพ์ซินเสียนเยอะเป้า ไปด้วย

{xtypo_quote}ระหว่างนั้น แม้ ผุสดี จะไม่ได้งานมีเขียนโจมตีรัฐบาล เนื่องจากเป็นการเขียนข่าวต่างประเทศ ที่แปลจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ แต่กระนั้นจากเหตุการณ์การเมือง ช่วง 14 ตุลาคม 2516 -6 ตุลาคม 2519 ส่งผลให้ ผุสดี และคุณ พลเชษฐ ผู้เป็นสาม ต้องถูกขึ้นบัญชีดำจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรไปด้วย ในข้อหาคอมมิวนิสต์ ในฐานะเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุง ส่งผลให้ผุสดีต้องหยุดงานเขียนซินเสียนเยอะเป้า ไปถึง 1เดือน ขณะที่คุณพลเชษฐ ต้องเปลี่ยนอาชีพเลิกทำหนังสือพิมพ์ไปชั่วคราว โดยเปลี่ยนไปทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แทน{/xtypo_quote}

เนื่องจากในช่วงรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. 2518 นั้น นักข่าวตัวเล็กๆ อย่าง ผุสดี เป็นคีย์แมนคนสำคัญ ที่ร่วมกับ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในขณะนั้น ผลักดันนโยบายเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลจีน เหมาเจ๋อตุง

{xtypo_quote}แม้ผลงานครั้งนั้น จะกลายเป็นผลงานที่สร้างชื่อให้กับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ 2อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นอย่างมาก แต่ด้วยสายสัมพันธ์ของผู้บริหารหนังสือพิมพ์ซินเสียนเยอะเป้า กับผู้บริหารในพรรคคอมมิวนิวต์จีนในขณะนั้น โดยที่มี ผุสดีเป็นผู้ช่วยประสาน งานให้รัฐบาลไทยอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้การติดต่อเป็นไปอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ {/xtypo_quote}

ดังที่ สละ ลิขิตกุล นักหนังสือพิมพ์อาวุโสแห่งสยามรัฐ เขียนเล่าบรรยากาศความสำเร็จครั้งนั้น ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือสารคดี ฉบับที่ ๑๙๕ เดือน พฤษภาคม ๒๕๔๔ ไว้ว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๓ ของไทย ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก และเป็นเชื้อพระวงศ์ในบรมราชสกุลจักรีวงศ์คนแรก ที่เดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยได้รับการต้อนรับจากประชาชนคนจีน และคณะผู้บริหารประเทศจีนคอมมิวนิสต์ทุกระดับ เป็นการต้อนรับชนิดยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ กล่าวได้ว่าจีนไม่เคยจัดการต้อนรับเช่นนี้ แก่บุคคลใดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีแห่งประเทศมหาอำนาจ หรือมุขบุรุษของประเทศใด ๆ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่ ให้ได้เข้าพบท่านเหมาเจ๋อตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ผู้มีอำนาจสูงสุด ซึ่งใช้เวลาพบปะสนทนากันนานเป็นประวัติการณ์ ประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่เคยให้โอกาสผู้ใดเข้าพบได้นานถึงขนาดนั้น คือเป็นเวลาถึง ๕๘ นาที และได้สนทนากันอย่างเป็นกันเอง

ผมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ เพราะสถานที่ ที่ท่านประธานเหมาเจ๋อตุงพำนักอยู่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวัง เป็นสถานที่หวงห้ามในลักษณะ "คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า" เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากท่านประธานเหมาให้เข้าพบได้ แต่เมื่อ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์กลับออกมาแล้ว ท่านเล่าให้ผมฟังอย่างละเอียดว่า

ท่านประธานเหมาฯ ก็เริ่มพูดขึ้นก่อน คือท่านชมผมว่า ที่ลื้อไปให้สัมภาษณ์ไว้ที่ฮ่องกง ก่อนมาถึงปักกิ่งนั้นถูกต้องแล้ว ท่านเห็นด้วย ผมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ฮ่องกง คืนก่อนที่จะเข้าประเทศจีน แต่ท่านรู้รายละเอียด ที่ผมให้สัมภาษณ์หมดก่อนที่ผมจะมาพบท่าน ท่านรู้ว่าผมพูดอะไรกับหนังสือพิมพ์ไว้ นักหนังสือพิมพ์ที่ฮ่องกงเขาถามผมว่า รัฐบาลไทยก็ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และมีผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ ในประเทศไทยมาก ในประเทศอะไรต่ออะไรที่ใกล้ ๆ กับไทยก็มีคอมมิวนิสต์มาก แล้วทำไมผมจึงได้มาผูกสัมพันธไมตรี กับประเทศจีนคอมมิวนิสต์ ผมก็ตอบหนังสือพิมพ์ว่า ไอ้เรื่องลัทธิคอมนิสต์นั้นน่ะ เป็นเรื่องของพรรคการเมือง แต่การไปผูกไมตรีกับประเทศจีน มันเป็นเรื่องรัฐบาลต่อรัฐบาล ไม่ได้คำนึงถึงพรรค มันเป็นเรื่องของประชาชนชาวจีน กับประชาชนชาวไทย ไม่ได้คำนึงถึงลัทธิ ผมจึงไปประเทศจีนด้วยเหตุนี้

{xtypo_quote}ท่านก็บอกกับผมว่า ให้สัมภาษณ์ไว้ดีมาก พูดเก่ง แล้วก็คุยกันเรื่อยไป แล้วต่อจากนั้นผมก็บรรยายความว่า ผมมาประเทศจีนด้วยความสมัครรักใคร่ อยากผูกสัมพันธไมตรี ประเทศไทยกับประเทศจีน เป็นมิตรไมตรีกันมาช้านาน เป็นเวลาหลายพันปี มีเหตุการณ์บางอย่าง ทำให้ไมตรีสะดุดหยุดลง บัดนี้ผมจะมาขอเริ่มใหม่ อะไร ๆ ก็ว่ากันไปตามอย่างนั้นแหละครับ{/xtypo_quote}

ผุสดี เล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยความภูมิใจว่า เรื่องเปิดสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน เหมา เจ๋อตุง เป็นความพยายามของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยใช้เรื่องการติดต่อซื้อน้ำมันจากประเทศจีน เป็นประเด็นนำร่อง แต่การติดต่อครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะผลักดัน โน้มน้าวให้ ม.รว.คึกฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เชื่อได้ว่า การเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ เป็นผลดีกับประเทศไทย แต่หลังจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล คณะสื่อมวลชนที่ติดตาม ม.รว.คึกฤทธิ์ ไปเยือนจีนครั้งนั้น หลายคน โดยขึ้นบัญชีดำกันเกือบหมด

แต่หลังจากว่างงานไม่นานนัก ผุสดีก็กลับมาทำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนอีกครั้ง โดยครั้งนี้ เธอมาเขียนให้กับ หนังสือพิมพ์ซินจงเอี๋ยน ก่อนที่เธอและสามีจะรับซื้อกิจการซินจงเอี๋ยนมาสานต่อจากเจ้าของคนเก่า เพื่อเป็นกระบอกเสียงในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน อย่างถูกต้อง

แม้วันนี้ จะไม่มีคุณพลเชษฐ เพื่อนและครูคนสำคัญที่ผลักดันให้เธอก้าวขึ้นมาเป็นคนข่าวสาวแกร่งแนวหน้าในวงการสนามข่าวคนหนึ่ง แต่วันนี้ ผุสดี ก็ยัง เป็น  พี่ผุส  ที่ใจดีของน้องๆ นกน้อยในไร่ส้ม โดยเธอยังเฝ้ารอที่จะถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ให้นักข่าวคนรุ่นใหม่ๆ ที่ฝันอยากเป็นหนังสือพิมพ์

เพียงแต่จะมีใครสักคนไหม ที่กล้าจะเข้ามาสานอุดมการณ์ต่อจากเธอ  ผุสดี คีตวรนาฎ  คนนี้