พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร

ต้นแบบสู้เพื่อศักดิ์ศรี จริยธรรมวิชาชีพสื่อสารมวลชน

 การสร้างจริยธรรมสื่อมวลชน การสร้างความเป็นอิสระ และสร้างภูมิคุ้มกันในการที่สื่อจะไม่ถูกแทรกแซง ต้องเป็นความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่เฉพาะคนในอาชีพทำข่าวเท่านั้น   เป็นเหตุผลสำคัญอย่างยิ่งของการดำเนินธุรกิจและการทำหน้าที่สื่อสารมวลชนยุคโลกาภิวัตน์ ในมุมความคิดของ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร แห่งหนังสือพิมพ์มติชน ผู้มีประสบการณ์และย่างก้าวในเวทีน้ำหมึก มาตั้งแต่ยุคสมัยคนเดือนตุลาคม

    ในฐานะคนที่ตั้งใจทำงานข่าวเพื่อรู้เป้าหมายความต้องการของตัวเอง พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ซึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวารสารศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา กระทั่งได้รับ ปริญญาวารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต้นแบบสู้เพื่อศักดิ์ศรี จริยธรรมวิชาชีพสื่อสารมวลชน        การสร้างจริยธรรมสื่อมวลชน การสร้างความเป็นอิสระ และสร้างภูมิคุ้มกันในการที่สื่อจะไม่ถูกแทรกแซง ต้องเป็นความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่เฉพาะคนในอาชีพทำข่าวเท่านั้น   เป็นเหตุผลสำคัญอย่างยิ่งของการดำเนินธุรกิจและการทำหน้าที่สื่อสารมวลชนยุคโลกาภิวัตน์ ในมุมความคิดของ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร แห่งหนังสือพิมพ์มติชน ผู้มีประสบการณ์และย่างก้าวในเวทีน้ำหมึก มาตั้งแต่ยุคสมัยคนเดือนตุลาคม

    ในฐานะคนที่ตั้งใจทำงานข่าวเพื่อรู้เป้าหมายความต้องการของตัวเอง พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ซึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวารสารศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา กระทั่งได้รับ ปริญญาวารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     วันนี้ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีประสบการณ์สูง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการอำนวยการบริษัท มติชน จำกัด ได้รับรางวัล เป็นนักหนังสือพิมพ์ดีเด่น และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมื่อปี  2531 และในปี.2539 ได้รับรางวัล นักหนังสือพิมพ์ดีที่ควรยกย่อง จากสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งเป็นกรรมการร่างหลักสูตรด้านวารสารศาสตร์ และเป็นผู้บรรยายพิเศษ ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

     เส้นทางความเป็นนักหนังสือพิมพ์มืออาชีพ เริ่มนับตั้งแต่ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ยังเป็นนักศึกษา นับว่าเป็นคนหนุ่มมีไฟ และมีอุดมคติที่จะสร้างสรรค์และต่อสู้เพื่อสังคมยิ่งนัก โดยร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งกองบรรณาธิการ 7 สถาบันทำวารสารรายเดือน ชื่อว่า  หนังสือเล่มละบาท  วารสารฉบับเดียวที่เป็นของกลุ่มนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มาจากกลุ่มนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย 7 สถาบัน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

     นิสิตนักศึกษาเหล่านี้ ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้น นับตั้งแต่ยุค จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ที่นิสิตนักศึกษาจากต่างสถาบันได้เข้ามาร่วมทำงานร่วมกัน เพราะในช่วงเวลานั้นทางฝ่ายรัฐบาลไทยได้กีดกันนักศึกษาออกไปจากปริมณฑลทางการเมือง

      หนังสือเล่มละบาท  เริ่มออกเผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2507 เป็นมีเนื้อหาต่อต้านสงครามเวียดนามอย่างเป็นนัย และวิจารณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 

     มีบทกวี แด่สงคราม ที่พรรณนาถึงความเหลวแหลกของสงครามไม่มีอะไรหยุดยั้งความโหดเหี้ยมของสงครามไว้ได้อีกแล้ว เสียงระเบิดตูมตามอยู่ที่นี่และที่นั้น มีแต่ซากปรักหักพัง มีแต่ความตาย มีแต่ความพลัดพรากจากกัน มีแต่น้ำตาในแววตาที่สิ้นหวังแล้ว ทุกครั้งคราที่สงครามเกิดขึ้น มีใครเล่ารับผิดชอบต่อชีวิตที่ปราศจากความผิด ปราศจากการทวงถาม ปราศจากการร้องขอเหล่านั้น ใครเล่าเป็นผู้รับชดใช้หนี้แห่งความยากแค้นลำเค็ญให้ เมื่อตายใครเล่าชดใช้ค่าของชีวิต ไม่มี 

     เมื่อปืนอยู่ในมือ และคำสั่งอยู่ข้างหลังจะเบนปลายกระบอกปืนไปสู่ความว่างเปล่าไม่ได้ บุคคลข้างหน้าจะเป็นใคร มาจากไหน และมีอะไรผิดพ้องหมองใจกัน หรือไม่ก็ตามต้องเป็นศัตรู, ต้องฆ่า, ต้องทำลายกฎของสงครามเป็นเช่นนี้ เช่นนี้ และเช่นนี้ตลอดไป

    การนำเสนอเนื้อหาเช่นนั้น ผลที่ตามมาคือ  ตำรวจสั่งเก็บวารสารฉบับนี้ และสั่งห้ามตีพิมพ์

     ความเป็นนักศึกษาถูกปิดกั้น ถูกลดบทบาทด้านการเมือง จนมีฐานะไม่ต่างจากนักเรียนที่มีหน้าที่เรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ด้วยนโยบายรัฐบาล ทำให้บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยต่างๆ ถูกควบคุม  ถูกปิดหูปิดตาจากการรับรู้ สภาพดังกล่าว มีผลในการก่อรูปของวัฒนธรรมใหม่ในหมู่นักศึกษารุ่นใหม่ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "วัฒนธรรมยุคสายลมหรือแสงแดด"

     วัฒนธรรมยุคสายลมแสงแดด ซึ่งหมายถึงรูปแบบของวัฒนธรรมที่ไม่ผูกพันกับสภาพสังคมและการเมืองตามที่เป็นจริง การจำกัดความสนใจหรือมีกิจกรรมอยู่ในวงแคบรอบๆ ตัวเอง และมีแนวโน้มในด้านบันเทิงเริงรมย์มากกว่าการแสดงความสามารถทางด้านสติปัญญา มีแนวคิดแบบเพ้อฝัน

     กระทั่ง พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เริ่มต้นชีวิตการทำงาน จากการทั้งนักข่าวและช่างภาพ ซึ่งต้องทำงานไปพร้อมกันในคนๆ เดียว ที่หนังสือพิมพ์หลักเมือง แล้วก้าวสู่การเป็นนักข่าวสายการเมืองของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ด้วยพื้นฐานความสนใจซึ่งรู้เรื่องสงครามเวียดนามเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่สามารถที่จะรายงานข่าวสงครามเวียดนามได้อย่างเป็นอิสระ เนื่องจากปัญหาของระบอบเผด็จการทหาร สื่อมวลชนใดๆ ก็ไม่สามารถเสนอข่าวที่ประเทศไทยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนามได้

     พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร สั่งสมประสบการณ์แก่กล้าขึ้นตามลำดับ ก้าวสู่  ผู้ช่วยหัวหน้ากองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ มาเป็นบรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น จนเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ประชาชาติรายสัปดาห์ บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์รวมประชาชาติรายวัน

     ทั้งยังเป็นอดีตนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ประจำปี   2520 และเป็นที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และคณะกรรมการสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนสื่อ เข้าทำหน้าที่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปี 2516   2518 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ช่วงมีนาคม ปี 2534   มีนาคม 2535

      ได้รับรางวัลนักหนังสือพิมพ์ดีที่ควรยกย่องประจำปี พ.ศ.2539 จากสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ

     ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำประเทศ มักจะตำหนิและว่ากล่าวสื่อมวลชนอย่างรุนแรง ประจวบกับเป็นช่วงที่ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร์ ดำรงตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกมาต่อสู้ และตอบโต้ เพื่อศักดิ์ศรีคนทำสื่อ พร้อมกับเรียกร้องให้สื่อ ปฏิบัติภารกิจตามหลักวิชาชีพ 

     พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงเวลานั้นเท่าที่ได้ติดตามกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ กลายเป็นว่าสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แสดงออกมาเหล่านี้ไม่เคยเกิดในประเทศไทย กลายเป็นความดีงามของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นการยอมอ่อนลงมามากของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นการลดความแข็งกร้าวลงมา แต่สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นความต้องการและการผลักดันของสื่อมวลชนเอง ที่ต้องการเห็นการให้สัมภาษณ์นั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง และให้การเสนอเนื้อหาจากการให้สัมภาษณ์นั้นถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นการตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน ไม่เป็นไปมาตามอารมณ์ หรือเล่นลิ้น แต่เป็นการตอบที่ให้ข้อมูลออกมาจนเสร็จสิ้นคำถามทั้งหมดอย่างเป็นระบบระเบียบ 

     โดยอธิบายว่า เวลานั้น ผู้บริหารประเทศใช้วิธีไม่ให้สัมภาษณ์สื่อ ในฐานะประธานสภาการหนังสือพิมพ์ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เห็นว่า การประชุม แถลงข่าวเป็นสิ่งที่หนังสือพิมพ์เรียกร้องเอง เพื่อความถูกต้องของเนื้อหาข่าว ที่นำเสนอได้มาจากคำสัมภาษณ์ ไม่ต้องการให้มีการดูหมิ่นดูแคลน และเรียกร้องให้เลิกกล่าวหาว่าหนังสือพิมพ์นั้นพูดไม่รู้เรื่อง

     เพราะสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาดูเหมือนว่า นายกรัฐมนตรีนึกสนุกและคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของการให้สัมภาษณ์ เป็นเจ้าของความถูกต้องดีงาม เป็นเจ้าของคำถามคำตอบ และเป็นเจ้าของข่าวทั้งหมดว่า เรื่องใดเป็นข่าว เรื่องใดไม่เป็นข่าว ข่าวใดสร้างสรรค์ ข่าวใดไม่สร้างสรรค์ นายกรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะคิดเช่นนั้นได้ในใจ แต่มิใช่ใช้วิธีการแสดงออกโดยยกป้ายบอกว่า คำถามนั้น ๆ สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ 

       ถ้าเป็นสากลเขาเห็น ก็หัวเราะบอกว่าประเทศนี้มาตรฐานตกต่ำมาก ที่หนังสือพิมพ์เป็นอย่างนี้ และผู้ให้ข่าวก็เป็นอย่างนี้ รัฐบาลเป็นอย่างนี้ เพราะเป็นการผิดหลักการของการประชุมแถลงข่าวโดยสิ้นเชิง ผู้แถลงข่าวคนใดก็ตามไม่มีสิทธิเลือกคำถามเลือกข่าวว่า สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็แล้วแต่ หน้าที่ในการให้สัมภาษณ์ในการประชุมแถลงข่าวนั้นคือ การตอบคำถามหรือไม่ตอบคำถาม การตอบคำถามจะตอบมากหรือตอบน้อย ตอบผิดตอบถูก ตอบฉลาดหรือตอบโง่ เป็นหน้าที่ของผู้แถลง แต่ผู้แถลงไม่มีหน้าที่วินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้นว่า คำถามใดไม่สร้างสรรค์ หากทำเช่นนั้นต่อไปก็จะวินิจฉัยว่าคำถามใดบ่อนทำลายชาติ เป็นคำถามของอาชญากร หรือของคนดี 

     นั่นคือความคิดของ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร กับท่าทีในการต่อสู้ เพื่อยกระดับวิชาชีพคนทำข่าว เป็นแบบอย่างที่เห็นอย่างชัดเจน. วันนี้ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีประสบการณ์สูง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการอำนวยการบริษัท มติชน จำกัด ได้รับรางวัล เป็นนักหนังสือพิมพ์ดีเด่น และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมื่อปี  2531 และในปี.2539 ได้รับรางวัล นักหนังสือพิมพ์ดีที่ควรยกย่อง จากสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งเป็นกรรมการร่างหลักสูตรด้านวารสารศาสตร์ และเป็นผู้บรรยายพิเศษ ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

     เส้นทางความเป็นนักหนังสือพิมพ์มืออาชีพ เริ่มนับตั้งแต่ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ยังเป็นนักศึกษา นับว่าเป็นคนหนุ่มมีไฟ และมีอุดมคติที่จะสร้างสรรค์และต่อสู้เพื่อสังคมยิ่งนัก โดยร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งกองบรรณาธิการ 7 สถาบันทำวารสารรายเดือน ชื่อว่า  หนังสือเล่มละบาท  วารสารฉบับเดียวที่เป็นของกลุ่มนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มาจากกลุ่มนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย 7 สถาบัน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

     นิสิตนักศึกษาเหล่านี้ ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้น นับตั้งแต่ยุค จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ที่นิสิตนักศึกษาจากต่างสถาบันได้เข้ามาร่วมทำงานร่วมกัน เพราะในช่วงเวลานั้นทางฝ่ายรัฐบาลไทยได้กีดกันนักศึกษาออกไปจากปริมณฑลทางการเมือง

      หนังสือเล่มละบาท  เริ่มออกเผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2507 เป็นมีเนื้อหาต่อต้านสงครามเวียดนามอย่างเป็นนัย และวิจารณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 

     มีบทกวี แด่สงคราม ที่พรรณนาถึงความเหลวแหลกของสงครามไม่มีอะไรหยุดยั้งความโหดเหี้ยมของสงครามไว้ได้อีกแล้ว เสียงระเบิดตูมตามอยู่ที่นี่และที่นั้น มีแต่ซากปรักหักพัง มีแต่ความตาย มีแต่ความพลัดพรากจากกัน มีแต่น้ำตาในแววตาที่สิ้นหวังแล้ว ทุกครั้งคราที่สงครามเกิดขึ้น มีใครเล่ารับผิดชอบต่อชีวิตที่ปราศจากความผิด ปราศจากการทวงถาม ปราศจากการร้องขอเหล่านั้น ใครเล่าเป็นผู้รับชดใช้หนี้แห่งความยากแค้นลำเค็ญให้ เมื่อตายใครเล่าชดใช้ค่าของชีวิต ไม่มี 

     เมื่อปืนอยู่ในมือ และคำสั่งอยู่ข้างหลังจะเบนปลายกระบอกปืนไปสู่ความว่างเปล่าไม่ได้ บุคคลข้างหน้าจะเป็นใคร มาจากไหน และมีอะไรผิดพ้องหมองใจกัน หรือไม่ก็ตามต้องเป็นศัตรู, ต้องฆ่า, ต้องทำลายกฎของสงครามเป็นเช่นนี้ เช่นนี้ และเช่นนี้ตลอดไป

    การนำเสนอเนื้อหาเช่นนั้น ผลที่ตามมาคือ  ตำรวจสั่งเก็บวารสารฉบับนี้ และสั่งห้ามตีพิมพ์

     ความเป็นนักศึกษาถูกปิดกั้น ถูกลดบทบาทด้านการเมือง จนมีฐานะไม่ต่างจากนักเรียนที่มีหน้าที่เรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ด้วยนโยบายรัฐบาล ทำให้บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยต่างๆ ถูกควบคุม  ถูกปิดหูปิดตาจากการรับรู้ สภาพดังกล่าว มีผลในการก่อรูปของวัฒนธรรมใหม่ในหมู่นักศึกษารุ่นใหม่ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "วัฒนธรรมยุคสายลมหรือแสงแดด"

     วัฒนธรรมยุคสายลมแสงแดด ซึ่งหมายถึงรูปแบบของวัฒนธรรมที่ไม่ผูกพันกับสภาพสังคมและการเมืองตามที่เป็นจริง การจำกัดความสนใจหรือมีกิจกรรมอยู่ในวงแคบรอบๆ ตัวเอง และมีแนวโน้มในด้านบันเทิงเริงรมย์มากกว่าการแสดงความสามารถทางด้านสติปัญญา มีแนวคิดแบบเพ้อฝัน

     กระทั่ง พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เริ่มต้นชีวิตการทำงาน จากการทั้งนักข่าวและช่างภาพ ซึ่งต้องทำงานไปพร้อมกันในคนๆ เดียว ที่หนังสือพิมพ์หลักเมือง แล้วก้าวสู่การเป็นนักข่าวสายการเมืองของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ด้วยพื้นฐานความสนใจซึ่งรู้เรื่องสงครามเวียดนามเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่สามารถที่จะรายงานข่าวสงครามเวียดนามได้อย่างเป็นอิสระ เนื่องจากปัญหาของระบอบเผด็จการทหาร สื่อมวลชนใดๆ ก็ไม่สามารถเสนอข่าวที่ประเทศไทยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนามได้

     พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร สั่งสมประสบการณ์แก่กล้าขึ้นตามลำดับ ก้าวสู่  ผู้ช่วยหัวหน้ากองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ มาเป็นบรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น จนเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ประชาชาติรายสัปดาห์ บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์รวมประชาชาติรายวัน

     ทั้งยังเป็นอดีตนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ประจำปี   2520 และเป็นที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และคณะกรรมการสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนสื่อ เข้าทำหน้าที่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปี 2516   2518 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ช่วงมีนาคม ปี 2534   มีนาคม 2535

      ได้รับรางวัลนักหนังสือพิมพ์ดีที่ควรยกย่องประจำปี พ.ศ.2539 จากสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ

     ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำประเทศ มักจะตำหนิและว่ากล่าวสื่อมวลชนอย่างรุนแรง ประจวบกับเป็นช่วงที่ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร์ ดำรงตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกมาต่อสู้ และตอบโต้ เพื่อศักดิ์ศรีคนทำสื่อ พร้อมกับเรียกร้องให้สื่อ ปฏิบัติภารกิจตามหลักวิชาชีพ 

     พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงเวลานั้นเท่าที่ได้ติดตามกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ กลายเป็นว่าสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แสดงออกมาเหล่านี้ไม่เคยเกิดในประเทศไทย กลายเป็นความดีงามของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นการยอมอ่อนลงมามากของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นการลดความแข็งกร้าวลงมา แต่สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นความต้องการและการผลักดันของสื่อมวลชนเอง ที่ต้องการเห็นการให้สัมภาษณ์นั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง และให้การเสนอเนื้อหาจากการให้สัมภาษณ์นั้นถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นการตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน ไม่เป็นไปมาตามอารมณ์ หรือเล่นลิ้น แต่เป็นการตอบที่ให้ข้อมูลออกมาจนเสร็จสิ้นคำถามทั้งหมดอย่างเป็นระบบระเบียบ 

     โดยอธิบายว่า เวลานั้น ผู้บริหารประเทศใช้วิธีไม่ให้สัมภาษณ์สื่อ ในฐานะประธานสภาการหนังสือพิมพ์ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เห็นว่า การประชุม แถลงข่าวเป็นสิ่งที่หนังสือพิมพ์เรียกร้องเอง เพื่อความถูกต้องของเนื้อหาข่าว ที่นำเสนอได้มาจากคำสัมภาษณ์ ไม่ต้องการให้มีการดูหมิ่นดูแคลน และเรียกร้องให้เลิกกล่าวหาว่าหนังสือพิมพ์นั้นพูดไม่รู้เรื่อง

     เพราะสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาดูเหมือนว่า นายกรัฐมนตรีนึกสนุกและคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของการให้สัมภาษณ์ เป็นเจ้าของความถูกต้องดีงาม เป็นเจ้าของคำถามคำตอบ และเป็นเจ้าของข่าวทั้งหมดว่า เรื่องใดเป็นข่าว เรื่องใดไม่เป็นข่าว ข่าวใดสร้างสรรค์ ข่าวใดไม่สร้างสรรค์ นายกรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะคิดเช่นนั้นได้ในใจ แต่มิใช่ใช้วิธีการแสดงออกโดยยกป้ายบอกว่า คำถามนั้น ๆ สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ 

{xtypo_quote}ถ้าเป็นสากลเขาเห็น ก็หัวเราะบอกว่าประเทศนี้มาตรฐานตกต่ำมาก ที่หนังสือพิมพ์เป็นอย่างนี้ และผู้ให้ข่าวก็เป็นอย่างนี้ รัฐบาลเป็นอย่างนี้ เพราะเป็นการผิดหลักการของการประชุมแถลงข่าวโดยสิ้นเชิง ผู้แถลงข่าวคนใดก็ตามไม่มีสิทธิเลือกคำถามเลือกข่าวว่า สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็แล้วแต่ หน้าที่ในการให้สัมภาษณ์ในการประชุมแถลงข่าวนั้นคือ การตอบคำถามหรือไม่ตอบคำถาม การตอบคำถามจะตอบมากหรือตอบน้อย ตอบผิดตอบถูก ตอบฉลาดหรือตอบโง่ เป็นหน้าที่ของผู้แถลง แต่ผู้แถลงไม่มีหน้าที่วินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้นว่า คำถามใดไม่สร้างสรรค์ หากทำเช่นนั้นต่อไปก็จะวินิจฉัยว่าคำถามใดบ่อนทำลายชาติ เป็นคำถามของอาชญากร หรือของคนดี{/xtypo_quote}

     นั่นคือความคิดของ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร กับท่าทีในการต่อสู้ เพื่อยกระดับวิชาชีพคนทำข่าว เป็นแบบอย่างที่เห็นอย่างชัดเจน.