กาชาดประกาศสร้างความเชื่อมั่นวางมาตรการเข้ม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยรับบริจาคทุกภาคบริการโลหิตทั่วประเทศ เป็นสถานที่สะอาดปลอดเชื้อ COVID-19
วิกฤติ COVID-19 ส่งผลกระทบบริจาคโลหิตน้อย ไม่เพียงพอวอนคนไทยต้องช่วยกัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยต้องช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ ชี้สถานการณ์การระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ได้รับโลหิตไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสารองไม่เพียงพอ พร้อมประกาศเป็นแกนกลางสร้างมาตรการเข้มเป็นสถานที่สะอาดปลอดเชื้อ COVID-19 สร้างความมั่นใจความปลอดภัยทั้งผู้บริจาคโลหิต และการส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยไปยังผู้ป่วยทั่วประเทศ
เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบกับการบริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต จากเป้าหมายที่ต้องได้รับโลหิตวันละ 2,000-2,500 ยูนิต ได้รับโลหิตลดลงเฉลี่ยวันละ 1,400 ยูนิต ต่อเนื่อง 3 วัน อีกทั้งหลายหน่วยงานที่ได้นัดหมายล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตแจ้งยกเลิกจานวนมาก เนื่องจากมีการเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทาให้จานวนการบริจาคโลหิตลดลงต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสารองไม่เพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จาเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษาอย่างยิ่ง
ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงออกมาตรการสร้างความมั่นใจ ให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจาก COVID-19 ดังนี้
1. ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ผู้ประสงค์บริจาคโลหิตและบุคคลภายนอกที่เข้ามาภายในอาคาร หากตรวจอุณหภูมิครั้งแรกเกิน 37.5 ?C ให้นั่งพักรอบริเวณสถานที่จัดไว้ประมาณ 10 นาที และจะวัดอุณหภูมิครั้งที่ 2 หากผ่านเกณฑ์ ให้เข้าสู่ภายในอาคาร หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะมีเอกสารคาแนะนาให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และยืนยันว่าสามารถทางานได้ตามปกติ หรือให้ลาหยุด
2. ติดตั้งแอลกอฮอลล์เจลทั่วอาคาร เช่น บริเวณทางเข้า-ออกอาคาร และตามจุดต่างๆเพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตทาความสะอาดมือ และจุดปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
3. ทาความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ด้านการรับบริจาคโลหิตทั้งในสถานที่และหน่วยเคลื่อนที่ และวัสดุอุปกรณ์บนรถบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อ 70% alcohol ซึ่งสามารถทาลายเชื้อไวรัสได้ เช่น เตียงรับบริจาคโลหิต เครื่องชั่งเขย่าถุงบรรจุโลหิต เครื่องรับบริจาคโลหิตเฉพาะส่วน เครื่องวัดความดัน ลูกบีบบริจาคโลหิต เป็นต้น และ 0.05% Sodium hypochlorite ใช้ทาความสะอาด เครื่องชั่งน้าหนัก และ พื้นทางเดินรถรับบริจาคโลหิต
4. ทาความสะอาดพื้นห้องรับบริจาคโลหิต ห้องปฏิบัติการ ห้องผลิต ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อ 0.05% Sodium hypochlorite ในส่วนพื้นห้องสานักงานให้ใช้น้ายาทาความสะอาดทั่วไปตามมาตรฐาน
5. ทาความสะอาดบริเวณปฏิบัติงาน โต๊ะเก้าอี้ ปุ่มกดลิฟต์ และจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อ 70% alcohol เช่น โต๊ะลงทะเบียน กรอกประวัติคัดกรองเบื้องต้น ห้องรับบริจาคโลหิต พื้นที่สาหรับผู้บริจาคหลังบริจาคโลหิต ราวบันได ราวบันไดเลื่อน เครื่องบันทึกเวลาเข้า-ออก บัตรจอดรถ เป็นต้น
6. เปลี่ยนผ้าคลุมตัวผู้บริจาคโลหิตผืนใหม่ทุกวัน ผู้บริจาคโลหิตชาย ไม่ต้องใช้ผ้าคลุม ส่วนผู้บริจาคหญิงที่สวมกระโปรงหรือต้องการใช้ผ้า ให้พับครึ่งผ้าและคลุมช่วงตัว ไม่คลุมเท้า
7. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สาหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการรับบริจาคโลหิต ห้องปฏิบัติการทดสอบ พื้นที่ผลิต และพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สาหรับพนักงานทาความสะอาด ให้สวมใส่ถุงมือตามความเหมาะสมของงาน
มาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้ง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค) ห้องรับบริจาคโลหิต (fixed station) เดอะมอลล์บางกะปิ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน เดอะมอลล์บางแค และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต รวมทั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ รวม 13 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และ งานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์
นอกจากนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้มีการออกมาตรการป้องกันการถ่ายทอดโรคติดเชื้อ COVID-19 ทางโลหิต โดยมีแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองตนเองก่อนบริจาคโลหิต ป้องกันความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อจากผู้บริจาคโลหิตไปสู่ผู้ป่วยรับโลหิต ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคาถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง ตรงตามความเป็นจริง เช่น หากเป็นผู้ที่อาศัย หรือ เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ และหายป่วยโดยไม่มีอาการใดหลงเหลืออยู่ให้งดบริจาคโลหิต 3 เดือน เป็นต้น
จึงมีความจาเป็นที่ต้องวอนผู้ที่มีสุขภาพดี หรือผู้ครบกาหนดบริจาคโลหิต 3 เดือนแล้ว บริจาคโลหิตเร่งด่วน เพื่อช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม บางแค ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และงานบริการโลหิต รวม 13 แห่ง ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และงานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสาขาบริการโลหิตโรงพยาบาลประจาจังหวัดทั่วประเทศ
****************
ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม 2563
ขอบคุณที่ท่านได้กรุณาเผยแพร่ข่าวนี้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต
โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1101, 1760, 1761