ทำแท้ง
ถึงเวลาทำให้การทำแท้งมีมาตรฐานทางการแพทย์ และ ทางสังคมได้หรือยัง
การทำแท้งกำลังกลายเป็นปัญหาที่โยนให้เป็นภาระของ ประชาชนเพศหญิง เท่านั้น
สังคมกำลังพุ่งประเด็นการมองลึกไปถึง เบื้องหลังการตั้งท้อง
ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมของผู้หญิงที่เป็นผู้ทำแท้ง เพียงอย่างเดียว
สังคมไม่ยอมรับการทำแท้ง แต่สังคมยอมรับ หรือไม่พูดถึง การทำท้อง
การทำแท้ง ห้ามเด็ดขาด ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย บ้านเมือง
ห้ามการทำแท้ง หมายถึง
1 ห้าม จัดให้มีผู้ให้บริการใด ๆ เพื่อการรักษาทางการแพทย์ ในการทำแท้ง
2 ห้าม จัดให้มีการรักษาการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน หรือ เรียกว่า
ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ไม่สามารถทำการรักษาดูแลรักษาและให้ความปลอดภัยได้
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เรียกว่า การทำแท้ง
3 ห้าม จัดให้มีสถานที่การทำแท้งที่ปลอดภัย และให้ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ในสังคมปัจจุบัน จึงต้องมีการทำแท้งแบบไม่ปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เท่านั้น
รวมถึง สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการทำแท้ง และซากรก เลือดจากการทำแท้ง
ก็ไม่สามารถทำการกำจัดด้วยวิธีการที่มีสุขอนามัยทางการแพทย์ได้
เนื่องจากสิ่งปฏิกูลทางการแพทย์ ถือว่า เป็นหลักฐานชี้มูลความผิด
ทางกฎหมาย อันเนื่องการความผิดการทำแท้ง
นอกจากนั้น ค่าบริการสูงมาก เฉลี่ยแล้ว ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
สถานที่ทำแท้ง ไม่สามารถตั้งเป็นสถานพยาบาลที่มีการอนามัยที่มีมาตรฐาน
และเปิดเผย ไม่ได้ เพราะห้ามทำแท้ง
ผู้ที่ต้องการทำแท้ง เดินเข้าไปในสถานพยาบาล คลินิค
ที่ไม่มีมาตรฐานทางการแพทย์ และ ไม่มีมาตรฐานการรักษาพยาบาล ความเจ็บป่วย
เสมือนหนึ่งโรคตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์
การทำแท้งจึงถูกทำให้ ไม่มีมาตรฐาน ความปลอดภัย ไม่มีมาตรฐานการสาธารณสุข
ไม่มีมาตรฐานทางจริยธรรม สังคม แม้แต่ การกำจัดเศษปฏิกูลจากการทำแท้ง
ก็ไม่สามารถทำให้มีมาตรฐานทางสังคม และสุขอนามัยได้
ซากเศษรก และก้อนเลือด ที่ออกมาจากคลีนิค จึงอยู่ในสภาพใส่ถุงพลาสติก
มากมาย ถึง 2,000 ถุง เป็นภาพที่สังคมได้เห็นได้ดูเป็นข่าว บทความ เสียง
และ ภาพในสื่อมวลชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศที่มีอารยธรรม
เงินนอกกฎหมาย
หากจะคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่คำนวนได้จาก การทำแท้งที่ไม่มีมาตรฐาน
คิดง่าย ๆ จากเงินหมุนเวียนเพียงขั้นต่ำ ค่าบริการ ครั้งละ 10,000 บาท x
2,000 ราย ตามหลักฐานปัจจุบ้น เป็นเงิน 20,000,000 เป็นเงิน
ยี่สิบล้านบาทเป็นอย่างน้อย ยังไม่รวมค่าบริการกำจัดขยะทางการแพทย์
อีกประมาณ 200 บาท x 2,000 เป็นเงิน 400,000
เงินก้อนนี้ น่าจะเพียงพอ โดยมีการบริหารให้การทำแท้งปลอดภัยมีมาตรฐานทางการแพทย์ และ มาตรฐานทางสังคมได้
รัฐบาล ที่กำลังมุ่งนำประเทศสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
สู่การมีมาตรฐานทางการเมืองและ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
และความเท่าเทียมเคารพในความแตกต่างทางเพศ
รัฐบาลต้องมีแนวทางในการส่งเสริมให้
ปัญหาการทำแท้งได้รับการดูแลให้มีมาตรฐาน ให้เหมาะสมกับประเทศมีอารยธรรม
อย่างประเทศไทยอย่างไร ?
…………………………………………………………….
จันทวิภา อภิสุข
มูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง
www.empowerfoundation.org
โทร. ๐๘-๑๖๕๕-๗๕๑๔
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓