รายงานกิจกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมัยที่ ๒๑/๒๕๖๓

คณะกรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมัยที่ ๒๑ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓-๔ มีนาคม ๒๕๖๕ ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานไว้ ๒ ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์หลักที่ ๑ พัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน ให้เห็นโอกาส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในวิชาชีพด้วยการเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทันกับภูมิทัศน์สื่อและเทคโนโลยี รองรับอุตสาหกรรมสื่อที่เปลี่ยนแปลง  แต่ไม่ทิ้งหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และการใช้เสรีภาพให้อยู่บนความรับผิดชอบ  ยุทธศาสตร์หลักที่ ๒ พัฒนาและสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายสื่อมวลชนทั้งประเทศและต่างประเทศ เพื่อแสวงหาความร่วมมือ องค์ความรู้ รูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพร่วมกัน

ในปี ๒๕๖๓ คณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น ๕ คณะอนุกรรมการ ดังนี้

๑) คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

๒) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

๓) คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์

๔) คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

๕) คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

๑. คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ

ในปี ๒๕๖๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ในการปกป้อง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน โดยมุ่งเน้นเรื่อง เสรีภาพสื่อ คือ เสรีภาพประชาชน ทำให้สื่อมวลชนและ ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปสื่อสารมวลชน โดยยึดหลักการกำกับดูแลกันเอง ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่าย และแนวร่วมของภาคีสื่อมวลชนและภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนร่วมกัน  แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงานดังนี้

๑.๑ กลุ่มงานรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพ

๑.๑.๑ โครงการวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ ๓ พฤษภาคม เนื่องจากเป็นวันที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันที่ ๓ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก ซึ่งก็คือเสรีภาพในการแสดงออก ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๔๓ โดยในปี ๒๕๖๓ สมาคมฯงดจัดงานวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด ๑๙ 

๑.๑.๒ ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม   สมาคมฯ ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์, สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย จัดตั้งศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม   

เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยและด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ถนนสามเสน ตรงข้าม ร.พ.วชิระ) เพื่อให้การประสานงานระหว่างสื่อมวลชนกับฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และมีการจัดทำ "ปลอกแขนสัญลักษณ์" ในการปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวการชุมนุม  เมื่อ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๓

๑.๑.๓ แจกหมวกนิรภัย สมาคมฯ มีความห่วงใยในสวัสดิภาพผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมที่มีความเสี่ยงที่อาจจะมีเหตุวุ่นวายจนได้รับบาดเจ็บ จึงจัดหมวกนิรภัยจำนวน ๒๐๐ ใบ แจกให้กับสื่อมวลชนไว้สวมใส่ในยามที่มีความจำเป็น

๑.๒ กลุ่มงานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว ในปี ๒๕๖๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๑ หลักสูตร

๑.๒.๑ อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย” รุ่น ๑๑ (Safety Training)” สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย” ขึ้นเพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพ จากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้เรียนรู้เรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง สามารถรายงานข่าวภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย การเรียนรู้การบริหารจัดการความเสี่ยงในการเข้าพื้นที่ความขัดแย้งและภัยพิบัติ, เรียนรู้ภาษาและการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง , เรียนรู้โครงสร้างความขัดแย้ง , และเรียนรู้การช่วยชีวิตและการปฐมพยาบาลเชิงยุทธวิธี เป็นต้น จัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๑๑ - วันอาทิตย์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๓  ณ วังยางรีสอร์ท จ.สุพรรณบุรี  มีสื่อมวลชนเข้าร่วมการอบรมจำนวน ๒๘ คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ๑.สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ๒.เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ๓. CO FACT

๒. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

ในปี ๒๕๖๓  คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ภราดรภาพ ความร่วมมือ สวัสดิการ และการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาชีพแก่มวลสมาชิก ส่งเสริมทักษะ วิชาชีพ (ติดอาวุธ) ให้นักข่าว ภายใต้นโยบายประหยัด ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรสื่ออื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ และติดตาม มีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปสื่อ เฝ้าระวังปรากฎการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพสื่อมวลชน ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนการใช้เสรีภาพสื่อมวลชนบนความรับผิดชอบ แบ่งงานออกเป็น ๕  กลุ่มงาน คือ

๒.๑. กลุ่มงานส่งเสริมทักษะวิชาชีพข่าว สมาคมฯ ได้จัดทำโครงการด้านการฝึกอบรมจำนวน ๑  หลักสูตร คือ

๒.๑.๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวพิราบน้อยรุ่น ๒๓ เป็นโครงการต่อเนื่องจัดขึ้นเป็นปีที่ ๒๓ ซึ่งหากนับถึงปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมกว่า ๑,๐๐๐ คนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้านสิ่งพิมพ์  (Professional Development) ความรับผิดชอบต่อจริยธรรมในวิชาชีพ (Ethics Responsibility)  และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะองค์กรเพื่อสังคม (Organizational Social Responsibility) ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสถาบันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักข่าวรุ่นพี่ที่ทำงานทั้งในภาคสนาม และในส่วนของผู้บริหารงานข่าว อันเป็นการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วิชาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการปลูกฝังอุดมคติให้กับนักศึกษาด้วย 

ในรุ่นที่ ๒๓  มีนักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์จากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมจำนวน ๒๐ คน จาก  ๑๒  สถาบัน จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ –วันเสาร์ที่ ๒๑  พฤศจิกายน  ๒๕๖๓  ณ โรงแรมวี กรุงเทพ  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน  และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

๒.๒ กลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ ได้มีการจัดทำโครงการในกลุ่มงานเสวนาและสื่อสารสาธารณะ จำนวน ๓ กิจกรรม ดังนี้

๒.๒.๑ ราชดำเนินเสวนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๒๒  ซึ่งเป็นความริเริ่มจากสมัยที่นายกวี จงกิจถาวร เป็นนายก สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๔๒) มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานข่าวให้มีคุณภาพและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง  โดยมีการเชิญแหล่งข่าวมาพบปะพูดคุยและตอบคำถามนักข่าว เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างนักข่าวกับแหล่งข่าวในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในปี พ.ศ.  ๒๕๖๒  ได้จัดราชดำเนินเสวนาไปจำนวน ๓ ครั้ง สามารถติดตามเนื้อหาราชดำเนินเสวนาได้ที่ www.tja.or.th

๑) วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ (ผ่านแอพพลิเคชันซูม) หัวข้อ “จับตาประชุมสองสภาจีน กับเส้นทางการก้าวสู่ประเทศมหาอำนาจ”

๒) วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔  หัวข้อ “เลื่อน “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย”

๓) วันพุธที่ ๙  ธันวาคม ๒๕๖๓ หัวข้อ “เลือกตั้ง อบจ. อำนาจท้องถิ่นในมือคุณ”

๒.๒.๒. รายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด มหาชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท.  FM ๑๐๐.๕ Mhz ทุกวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐น. เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักข่าวรุ่นใหม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับสมาคมฯ รวมทั้งเป็นเวทีในการสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้สาธารณชนได้ รับทราบ รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงทิศทางข่าวในสัปดาห์ต่อไป โดยเน้นความหลากหลายของประเด็นข่าว ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และอื่นๆที่เป็นประเด็นร้อนในขณะนั้น

สำหรับนักจัดรายการประจำปี  ๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๐ คนคือ ๑.นายวสวัตต์ โอดทวี  ๒.นางสาวดารากาญจน์  ทองลิ่ม ๓.นายสิทธิชน  กลิ่นหอมอ่อน ๔.นายธนัชพงศ์  คงสาย  ๕.นางสาวพิมพ์นารา  ประดับวิทย์   ๖.นางสาวนันทพร  ทาวะระ   ๗.นายบัญชา  จันทร์สมบูรณ์ ๘.นางสาวดารินทร์  หอวัฒนกุล  ๙. นางสาวเยมิณ  แหวนเครือ โดยมีนายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เป็นบรรณาธิการรายการและนายมงคล บางประภาเป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ   ติดตามฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ที่  www.tja.or.th  

๒.๒.๓ www.tja.or.th เป็นเวบไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรม,รายงานกิจกรรม,กฎหมายที่เกี่ยวข้อง,ประวัติความ เป็นมา จุดยืนและท่าทีของสมาคมฯต่อสถานการณ์ต่างๆของบ้านเมือง รวมทั้งการบันทึกผลงานข่าวที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  และเป็นชุมชนออนไลน์ของนักวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงสื่อสารมวลชน  ได้มีการปรับปรุงระบบเว็บไซต์โดยเปลี่ยนจากการใช้โปรแกรม Joomla มาเป็น Wordpress  เมื่อต้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๓  

๒.๒.๔ เพจจุลสารราชดำเนินออนไลน์ https://www.facebook.com/rajdamnernbook/  มีวัถตุประสงค์  เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าว  และวิชาการสื่อมวลชนรวมถึงวิชาชีพสื่อที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน  เพื่อเป็นกลไกสร้างความเข้าใจระหว่าง นักวิชาชีพสื่อ นักวิชาการด้านสื่อและประชาชนผู้บริโภคสื่อ เป็นการตรวจสอบซื่งกันและกัน   เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของสมาคม และข่าวสารการปรับตัวของสื่อในประเทศและต่างประเทศ จัดทำโดยทีมงานสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒.๓ กลุ่มงานหนังสือ ในปี   ๒๕๖๓  ฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำหนังสือ ๑  เล่ม คือหนังสือวันนักข่าว ประจำปี ๒๕๖๔  เป็นหนังสือรายงานประจำปีที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการข่าวและหนังสือพิมพ์  ตลอดจนรายงานกิจกรรมของสมาคม  และทำเนียบรายชื่อนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นสมาชิกสมาคม  เนื้อหาหลักในปีนี้เน้นเรื่อง  “อุตสาหกรรมสื่อยุคโควิด๑๙ การปรับตัวอย่างไร และพฤติกรรมการบริโภคสื่อในยุคปัจจุบัน” นายวรพล กิตติรัตวรางกูร เป็นบรรณาธิการ และนายธนพล บางยี่ขัน เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ มีการแจกจ่ายหนังสือวันนักข่าวถึงมือสมาชิก สมาคมฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๔  ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ

๒.๔. กลุ่มงานเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน เป็น เครือข่ายที่นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ทำให้ในปีที่ผ่านมาไม่มีการจัดกิจกรรมในกลุ่มงานนี้ 

๒.๕. กลุ่มงานประกวดข่าว

๒.๕.๑ การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิอิศรา อมันตกุล ให้ดำเนินการจัดการประกวดข่าวและภาพข่าวยอดเยี่ยม รางวัลอิศรา อมันตกุล เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายอิศรา อมันตกุล นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรกและนักหนังสือพิมพ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภาย ใต้กรอบจริยธรรม โดยดำเนินการจัดการประกวดมาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๕ สำหรับในปี ๒๕๖๓  มีผลงานงานข่าวส่งเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจำนวน  ๗ ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ๒ ฉบับ และส่งผลงานภาพข่าวเข้าประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจำนวน   ๕๐  ภาพ จากหนังสือพิมพ์  ๖ ฉบับ

๒.๕.๒ การประกวดรางวัลข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓ ของ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ซึ่งจัดการประกวดมาตั้งแต่ปี  ๒๕๓๒ สำหรับในปี ๒๕๖๓ มีผลงานข่าวส่งเข้าประกวดจำนวน ๑  ข่าว คือข่าวตีแผ่นายทุนขุดถมทะเล - วางท่อน้ำ หยุดยั้งการทำลายระบบนิเวศชายฝั่งฉบับ ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  

๒.๕.๓ การประกวดรางวัลพิราบน้อยและรางวัลริต้า ปาติยะเสวี ประจำปี ๒๕๖๓ เป็นการประกวดผลงานฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการทำ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งการประกวดออกเป็น ๒ รางวัล ๗ ประเภท คือ รางวัลพิราบน้อย ประกอบด้วย ๑.ประเภทหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ๒. ประเภทข่าวฝึกปฏิบัติ ๓.ประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวสิ่งแวดล้อมฝึกปฏิบัติ ๔.ประเภทข่าวออนไลน์ฝึกปฏิบัติ ๕. ประเภทบรรณาธิกรหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ  ๖.ประเภทนิตยสารฝึกปฏิบัติ  และ ๗.ประเภทสารคดีเชิงข่าวฝึกปฏิบัติ (รางวัลริต้า ปาติยะเสวี)

เริ่มจัดการประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ.   ๒๕๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำหนังสือพิมพ์และการทำข่าวของ นิสิตนักศึกษาวิชานิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์  ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษา  กับสมาคมฯ    ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด มหาชน ในปี ๒๕๖๓ มีผลงานส่งเข้าประกวดดังนี้

๑. หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติและบรรณาธิกรหนังสือพิมพ์  จำนวน  ๒ ฉบับ จากสถาบันการศึกษา ๒ สถาบัน
๒. นิตยสารฝึกปฏิบัติ    จำนวน  ๓   ฉบับ  จากสถาบันการศึกษา  ๓ สถาบัน
๓. สารคดีเชิงข่าว     จำนวน ๖  ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ฉบับ สถาบันการศึกษา  ๔  สถาบัน
๔. ข่าวฝึกปฎิบัติ   จำนวน ๕  ข่าว จากหนังสือพิมพ์ ๒ ฉบับ สถาบันการศีกษา ๒ สถาบัน
๕. ข่าวสิ่งแวดล้อม   จำนวน ๕ ข่าว จากหนังสือพิมพ์  ๓ ฉบับ สถาบันการศึกษา ๓ สถาบัน
๖. ข่าวออนไลน์    จำนวน ๘   ข่าว จากสถาบันการศึกษา ๓  สถาบัน

๓. คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสมาชิกสัมพันธ์

ในปี ๒๕๖๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สมาคมนักข่าวฯ  ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาและปรับปรุงสวัสดิการสมาชิก และขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ไปยังองค์กรวิชาชีพสื่ออื่น ๆ แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ

๓.๑ กลุ่มงานสมาชิกสัมพันธ์

๓.๑.๑ โครงการบริจาคโลหิต สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมการบริจาคโลหิตขึ้นเป็นประจำทุกสามเดือน โดยในปี ๒๕๖๓ จัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๑๗) วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๑๘) และวันอังคารที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๑๙) และ วันอังคารที่ ๘  ธันวา ๒๕๖๓ (ครั้งที่ ๒๐) ณ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์

๓.๑.๒ คนข่าวมาขายของครั้งที่ ๔ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย  ร่วมกับ MBK Group จัดงาน “คนข่าวมาขายของครั้งที่ ๔ “ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือพี่น้องสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในของแต่ละองค์กร และจากปัจจัยภายนอก ทั้งเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งวิกฤตโควิด-๑๙  ระหว่างวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม - วันอาทิตย์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  ณ ชั้น G ลานรามาฮอลล์ ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์  มีสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนสินค้าจำนวน ๔๐ บูท

๓.๒ กลุ่มงานสวัสดิการสมาชิก

๓.๒.๑ ทุนการศึกษา สมาคมฯ มอบทุนการศึกษาให้กับบุตร-ธิดา สมาชิก โดยแบ่งทุนการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ทุนส่งเสริมการศึกษา เป็นการให้ทุนแบบรายปี โดยใช้งบประมาณจากกองทุนการศึกษาเพื่อบุตร-ธิดา สมาชิกสมาคมฯ มีผู้ได้รับการอนุมัติทุนการศึกษาจำนวน ๗๙ ทุน ทุนละ ๔,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓๑๖,๐๐๐ บาท มีการจัดพิธีมอบเมื่อวันพุธที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ และ ๒) ทุนต่อเนื่อง เป็นทุนที่มอบให้แบบต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-ระดับปริญญาตรี โดยได้รับการอนุเคราะห์ทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี ปีละ ๑๐ ทุน ต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๓ ปัจจุบันมีผู้รับทุนแล้ว ๑๓๔ คน

๓.๒.๒ การมอบสินไหมมรณกรรมและการร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ สมาคมฯ ได้จัดทำประกันชีวิตกลุ่ม ให้กับ สมาชิกที่ชำระเงินค่าบำรุงประจำปีกับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด  ในปี ๒๕๖๓ มีทายาทของสมาชิกได้รับสินไหมมรณกรรมจาก บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต  ๗ คน โดยได้รับคนละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๖ คน (เสียชีวิตจากการเจ็บไข้ได้ป่วย) และคนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ๑ คน (เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ)  รวมเป็นเงิน ๘๐๐,๐๐๐ บาท

๓.๒.๓  มอบเงินสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่สังกัดหนังสือพิมพ์คมชัดลึก  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มอบเงินสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกสมาคมฯ ที่สังกัดหนังสือพิมพ์คมชัดลึกซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดหนังสือพิมพ์  จำนวน ๑๒ คนๆละ ๓,๐๐๐ บาท

๓.๒.๔ ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน ๒ ทุน จากบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และสถาบันการจัดการโดยคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ ได้คัดเลือกนางสาวกมลพร วรกุล (TNN) และนายอรรถชยา โทนุศิษย์ (นสพ.เดลินิวส์) สมาชิกสมาคมฯ เป็นผู้รับทุนการศึกษา  หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงนวัตกรรมเพื่อองค์กรสมัยใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 ๓.๒.๕ มาตรการและแนวทางดูแลสมาชิกสมาคมฯ ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด ๑๙ 

๑.)เพิ่มความคุ้มครองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)  สมาคมฯได้ทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกที่ชำระค่าบำรุงประจำปีไว้กับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด มหาชน เป็นประจำทุกปี โดยในปีที่ผ่านมา  บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตได้เพิ่มความคุ้มครองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้กับสมาชิกสมาคมฯ โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่ลงทะเบียน  ถึง ๓๐ มกราคม ๒๕๖๔ 

๒.) มอบ “หน้ากากพลาสติกสำหรับป้องกันสารคัดหลั่งกระเด็นใส่บริเวณใบหน้า (Vajira face shield)” สมาคมฯ ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โรงพยาบาลวชิรพยาบาล  แจกหน้ากากพลาสติกสำหรับป้องกันสารคัดหลั่งกระเด็นใส่บริเวณใบหน้า (Vajira face shield)” ให้กับสื่อมวลชนที่มีความต้องการนำไปใช้ในการรายงานข่าว เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันตัวเอง โดยที่หน้ากาก Vajira face shield เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นเองด้วยวัสดุที่หาซื้อได้ทั่วไป ไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ที่มาจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยงบประมาณของรัฐ แจกเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ 

๓.)มอบ “หน้ากากผ้า” ให้สื่อมวลชนใช้เพื่อป้องกันตัวเองและลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย โดยมีหน่วยงานต่างๆให้ความอนุเคราะห์หน้ากากผ้า ดังนี้ ๑. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  ๒.บริษัท แมคยีนส์ (MC JEANS)

๔.)มอบ “แอลกอฮอล์ล้างมือ” สำหรับฆ่าเชื้อสู้ภัยโควิด  โดยมีหน่วยงานต่างๆให้ความอนุเคราะห์แอลกอฮอล์ล้างมือ ดังนี้ ๑.กลุ่มน้ำตาลไทย โดย บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน ๒.บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด บริษัทผู้ผลิต เอทานอลจากกากน้ำตาล ภายใต้กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ๓.มูลนิธิเอสซีจี

๕.)มอบ “ถุงยังชีพ” สมาคมฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากโครงการ”ปรม.๑๙ ยิ้มด้วยกัน” ของนักศึกษาหลักสูตรปรม.๑๙ สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นการร่วมพลังของนักศึกษาปรม.๑๙ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมกันรวบรวมทุนทรัพย์และสิ่งของ ข้าวสาร

๔. คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ

ในปี ๒๕๖๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ๑๙ ทำให้กิจกรรมด้านการเยี่ยมเยือนต้องชะงักลง 

๔.๑ กลุ่มงานสร้างเครือข่ายวิชาชีพต่างประเทศ

๔.๑.๑ ความร่วมมือสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย  นายมงคล บางประภา  นายกสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมฯให้การต้อนรับ นางสาวนิโคล ฟ็อกซ์ โฆษกประจำสถานเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่ พร้อมด้วยคณะที่มาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นประเด็นบทบาทหน้าที่ขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและสถานการณ์ของสื่อไทย โดยนางสาวนิโคล ได้แสดงความห่วงสถานการณ์ข่าวสารในปัจจุบันที่ถูกบิดเบือนจากความจริงและอยากให้สื่อช่วยกันดูหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ทั้งนี้ในอนาคตอาจมีกิจกรรมและความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓  

๔.๑.๒ ให้กำลังใจสื่อเมียนมาที่ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์การรัฐประหาร สมาคมฯได้ส่งจดหมายแสดงความห่วงใยและให้กำลังใจสื่อเมียนมาไปยัง  Myanmar Journalists Association (MJA) และMyanmar Journalists Network (MJN) เมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

…We would like to express concerns about the safety of members of the media in case of violent situation, and also the limitation of freedom of the press during this period. However, we hope that all the people are safe and the journalists are still able to perform their duties professionally without any harm or threat…

๔.๒. กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพนักข่าว ในปี ๒๕๖๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้จัดการอบรมขึ้น ๑หลักสูตร

๔.๒.๑ โครงการมองจีนยุคใหม่ ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้ ปีที่ ๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย จัดทำโครงการมองจีนยุคใหม่ ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้ ปีที่ ๓  ระหว่างวันพุธที่  ๑๑  – วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน   ๒๕๖๓   ณ ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (ไม่มีการเดินทางไปทัศนศึกษาที่ประเทศจีน)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑.ให้ข้อมูลสื่อมวลชนไทยเพื่อทำความรู้จักและเข้าใจจีนในยุคใหม่ในมิติต่างๆ อันจะนำไปสู่การรายงานข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนรอบด้าน  ๒.เสริมสร้างกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนรวมทั้งหน่วยงานต่างๆจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และ๓.เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับสื่อมวลชนไทยและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

กิจกรรมในหลักสูตรประกอบด้วย

๑.เวทีสาธารณะ (public forum) หัวข้อ “สงครามการค้าจีน-สหรัฐ: สงครามตัวแทน  ผลกระทบต่อไทยและโลก”  ผู้ร่วมเสวนาในเวทีจะประกอบด้วย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร  ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ ผศ. ดร. หลี่ เหริน เหลียง  (Li Ren Liang) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดำเนินรายการโดย ณัฎฐา โกมลวาทิน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  ในวันพุธที่ ๑๑  พฤศจิกายน ๒๕๖๓

๒.การจัดบรรยายให้ความรู้เป็นวงปิดเฉพาะสื่อมวลชนผู้เข้าร่วมโครงการ วิทยากรประกอบด้วย ดร.ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย (“ หลังโควิด เศรษฐกิจจีนและโลกจะฟื้นตัวอย่างไร”) ผศ. วรศักดิ์ มหัทธโนบล รักษาการ อดีตผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จากประวัติศาสตร์สู่จีนภายใต้ “สีจิ้นผิง”) ดร.ปิติ  ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาฯ  (จีน- อาเซียน-อินเดียและโลก) นายณัฐพร วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมดิจิตัลไทย และผู้ร่วมก่อตั้ง TeC : Thailand e-business centre  (นวัตกรรมจีน : ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกยุคใหม่) เป็นต้น

๓.เรียนรู้วัฒนธรรมผ่านอาหารจีน"สื่อมวลชนที่เข้าร่วมอบรมจะได้สัมผัสวัฒนธรรมจีนผ่านการกินอาหาร จีนและฟังบรรยายจากผู้รู้ด้านวัฒนธรรมอาหารจีนเผ่าต่างๆ เช่น อาหารจีนแคระ อาหารจีนกวางตุ้ง อาหารจีนเสฉวน ฯลฯ

มีสื่อมวลชนจากทุกแขนงเข้าร่วมโครงการจำนวน ๒๒ คน

๕. คณะกรรมการอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

ในปี ๒๕๖๓ คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นการประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพสื่อและกิจกรรมที่ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอก แบ่งงานออกเป็น ๒ กลุ่มงานดังนี้

๕.๑ กลุ่มงานระดมทุน

๕.๑.๑ TJA Talk สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงานดินเนอร์ทอล์คขึ้นเป็นประจำในวันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙  แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด ๑๙  จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานจากงานดินเนอร์ทอล์ค เป็นงาน TJA Talk(จัดช่วงเช้า ไม่มีการบริการอาหาร) โดยจัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) หัวข้อ "มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ” โดย  ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการอังค์ถัด และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก เศรษฐกิจไทยท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง”

๕.๑.๒ หนังสือวันนักข่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือวันนักข่าว ซึ่งเป็นหนังสือรายงานประจำปีเผยแพร่ทุกวันที่ ๔ มีนาคม นอกจากจะเป็นการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมฯ แล้ว ยังได้รวบรวมผลการประกวดข่าวประเภทต่างๆ ของสมาคมฯ เอาไว้ด้วย สมาคมฯ ได้มอบหมายให้บริษัท นักทุ่งเที่ยว จำกัด เป็นผู้ดำเนินการการจัดหาโฆษณา

๕.๒ กลุ่มงานบริหารจัดการ

๕.๒.๑ งานบริหารสำนักงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ๑๙  สมาคมฯ ได้ออกประกาศเรื่องการบริหารจัดการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ สองรอบคือรอบแรกเมื่อ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓ และรอบที่ ๒ เมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ โดยสาระสำคัญเน้นเรื่องความเป็นแบบอย่างและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยออกการทำงานที่บ้าน แทนการปฏิบัติงานที่สำนักงาน การงดและเลื่อนการประชุมกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกไปก่อน หรือ ใช้การประชุมผ่านช่องทางออนไลน์   และการปฏิเสธการขอเช่าใช้สถานที่จากองค์กรภายนอกในการจัดประชุม /เสวนา / สัมมนา 

๕.๒.๒ การรับพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการและสื่อสารองค์กร  สมาคมฯ ได้ประกาศรับสมัครพนักงาน คัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์และสอบภาคปฏิบัติและทดลองงานจนได้นางสาวณัฐชา บุญเมือง พนักงานประจำสมาคมฯ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการและสื่อสารองค์กร  เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๓

๕.๒.๓ จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาการดำเนินการของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  เพื่อให้การขับเคลื่อนไปข้างหน้าขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายและตอบโจทย์ของสถานการณ์ของวิชาชีพ จึงต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ อดีตกรรมการบริหาร อนุกรรมการ คณะทำงาน สมาชิก เพื่อนรวมวิชาชีพ นักวิชาการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป และองค์กรภายนอก เพื่อเป็นเข็มทิศทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ของสมาคม