26ตค52- จับกระแส Blackberry ในไทย

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11552 มติชนรายวัน
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act03261052&sectionid=0130&day=2009-10-26

จับกระแส Blackberry ในไทย

โดย อนุพงศ์ อวิรุทธา anupong.av@spu.ac.th หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ใน ช่วงปีที่ผ่านมานั้นกระแสในเรื่องของโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเรานั้นได้ เกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงโดยเฉพาะตั้งแต่ที่ทางบริษัท Apple ได้วางจำหน่าย Iphone จนทำให้หลายๆ บริษัทที่ผลิตโทรศัพท์มือถือต้องมีการปรับตัวกันอย่างหนัก โดยเฉพาะในเรื่องของการออกแบบและรูปแบบเมนูการใช้งานเรียกว่าแทบจะตามแบบของ Iphone กันออกมาเลยก็ว่าได้

แต่ในปีนี้จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำเป็นต้องเดินตามการออกแบบของ Iphone แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและถล่มทลาย

นั่นก็คือ Blackberry หรือหลายๆ คนเรียกว่า BB นั่นเอง แม้ว่าเจ้า BB จะออกมาสู่ตลาดก่อน Iphone ก็ตาม

สำหรับ ในตลาดต่างประเทศ Blackberry ไม่ใช่สิ่งใหม่เลย เนื่องจาก RIM บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ Blackberry ได้ออก Blackberry รุ่นแรกมาตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นการให้บริการในเรื่องของ Text Message เท่านั้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับ Pager หรือ Beeper ในอดีต

โดยเฉพาะในตลาด สหรัฐ Blackberry เป็นแบรนด์ที่กลุ่มองค์กรและนักธุรกิจมักจะเลือกเป็นทางเลือกแรกสำหรับ เครื่องมือการสื่อสารระหว่างพนักงานองค์กร

แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น การเติบโตอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานของโทรศัพท์จากการรับ สายเข้าและโทร.ออกเป็นการออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ถือได้ว่าเป็นการเปิดตัว Blackberry อย่างน่าสนใจ

ซึ่งทำให้การแข่งขันในตลาดของสมาร์ทโฟนเกิดความคึกคักขึ้นอีกครั้ง

แม้ ว่าช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจะอยู่ในสภาวะที่ถดถอย แม้ว่ามีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านในช่วงต่ำสุดไปแล้ว แต่กระแสของ Blackberry เอง ไม่ได้ลดลงหรือชะลอความร้อนแรงลงไป

ในทางกลับกันความ ต้องการของตัวสินค้าเองสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ใช้เองจำเป็นที่จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมเพื่อใช้ Blackberry อย่างเต็มความสามารถ

ซึ่งจากการทำวิจัยและศึกษาผู้ใช้ Blackberry จำนวน 200 คนในเขตกรุงเทพมหานคร ปรากฏว่าผู้ใช้ Blackberry เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยคิดเป็นร้อยละ 59 และเพศชาย ร้อยละ 41 โดยมีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 8 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24 และระดับปริญญาโท ร้อยละ 68

ซึ่งผู้ใช้ Blackberry ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 25-32 ปี ร้อยละ 67 อายุระหว่าง 32-39 ปี ร้อยละ 20 อายุระหว่าง 18-24 ปี ร้อยละ 10 และช่วงอายุมากกว่า 40 ปี ร้อยละ 3 ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้สมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็น Iphone หรือ PDA Phone มาก่อนหน้านี้แล้ว

โดยคิดเป็นร้อยละ 93

สิ่ง ที่น่าสังเกตคือผู้ใช้ Blackberry ส่วนใหญ่จะมีโทรศัพท์มือถืออยู่แล้วอีกเครื่องหนึ่ง แต่การใช้งานบนเครื่อง Blackberry จากการสำรวจพบว่า มีผู้ใช้ประมาณ 1 ใน 10 ที่ไม่ได้ใช้ Blackberry ในส่วนของการใช้งานโทรศัพท์ของพวกเขาเลย แต่ใช้ Blackberry ในการส่งและรับข้อความ หรือ Twit และ Chat เท่านั้น

นอกจากนั้นผู้ ใช้ Blackberry ร้อยละร้อย ได้ใช้เวลาไปกับการ Chat และตอบข้อความบน Social Network ต่างๆ เช่น FaceBook โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่หลังจากการได้ใช้ Blackberry ทำให้เกิดการติดอยู่ในโลกออนไลน์ แม้ว่าผู้นั้นจะไม่เข้าสู่ Social Network บน PC เลยก็ตาม

ซึ่งผู้ใช้ Blackberry ส่วนใหญ่โดยคิดเป็นร้อยละ 45 ได้ใช้เวลาเฉลี่ย 2-3 ชั่วโมงต่อวันในการอยู่บนโลกออนไลน์สำหรับกิจกรรมดังกล่าว

ใน ปัจจุบัน Social Network ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญมาก และเป็นไปได้ที่จะมีความสำคัญสำหรับการติดต่อพอๆ กับอี-เมล ถ้าสังเกตให้ดีในนามบัตรทางธุรกิจปัจจุบัน นอกจากชื่อ ตำแหน่ง บริษัท ที่อยู่ อี-เมล เว็บไซต์แล้ว ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ Twitter นั่นเอง

และก็มีความเป็นได้อย่างมากที่ในอนาคตจะมีส่วนของ Blackberry PIN Code เพิ่มเข้าไปในนามบัตรเช่นกัน

สิ่ง ที่ผู้ใช้ Blackberry ต้องการกลับไม่ใช่หน้าจอสัมผัสหรือทัชสกรีนที่เหมือนกัย Iphone และสมาร์ทโฟนอื่นๆ แม้ว่า Blackberry เอง จะออกรุ่นที่มีหน้าจอสัมผัสออกมา แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับรุ่น Bold และ Curve เนื่องมาจากสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการกลับกลายเป็นความง่ายของเมนูในการใช้งาน ที่ไม่ต้องเข้าเมนูหลายๆ เมนูเพื่อใช้งาน

และที่สำคัญคือ การที่มี Qwerty Keyboard ที่สามารถทำให้การพิมพ์ข้อความและอี-เมลมีความสะดวกง่ายดาย

นอก จากนี้จากการสำรวจพบว่า ผู้ใช้ Blackberry ในปัจจุบัน แม้ว่าจะเน้นในการรับและส่งอี-เมล แต่เป็นอี-เมลส่วนตัวเท่านั้น (BIS-Blackberry Internet Service เช่น POP3)

นั่นก็หมายถึงว่าในภาค ของธุรกิจไทยเองยังไม่ได้มีการขยับตัวในการเข้าสู่ระบบ Push Mail (BES-Blackberry Enterprise Server) ขององค์กรอย่างเต็มที่ ในแง่มุมของการใช้งานในการทำงาน

โดยส่วนใหญ่ได้ใช้โปรแกรมที่เกี่ยว ข้องกับการสื่อสารคิดเป็นร้อยละ 45.9 การบริหารจัดการข้อมูลคิดเป็นร้อยละ 37.8 และการบริการลูกค้าสัมพันธ์คิดเป็นร้อยละ 25

โดยสรุปแล้วจากการ สำรวจผู้ใช้ Blackberry จะเน้นในส่วนของการออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งพฤติกรรมการใช้งานจะเน้นในเรื่องของอี-เมล การติดต่อสื่อสาร เข้า Social Web ชอบอัพเดตเรื่องราวของตัวเองไม่ว่าจะเป็นรูป หรือสถานะต่างๆ ให้เพื่อนๆ คนสนิท ได้ทราบ

ดังนั้น การที่ Blackberry สามารถสร้างกระแสนิยมได้รวดเร็ว แต่การใช้งานที่เหมาะสมในกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตอบโจทย์ที่แท้จริงในระยะ ยาว

หน้า 6