คิดเพื่อประเทศไทย

คิดเพื่อประเทศไทย

คำกล่าวปาฐกถา พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

 

“คิดเพื่อประเทศไทย” การบอกทิศทางของประเทศที่จะเดินไปข้างหน้าคำกล่าวปาฐกถา ของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีต่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ วันที่ 5 มีนาคม 2550

สมาชิกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แขกผู้มีเกียรติและเพื่อนๆ ทุกท่าน

ผมขอขอบคุณสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสำหรับ โอกาสที่ได้มาพูดคุยกับท่านในครั้งนี้ โดยความตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญยิ่งของสื่อในสังคมไทยในยุคของการเปลี่ยน แปลงนี้ ในช่วงเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา ผมได้พยายามเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสื่อด้วยการจัดพบปะอย่างสม่ำ เสมอกับผู้แทนสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ผม เชื่อว่า วันนี้สื่อมีเสรีภาพมากกว่าภายใต้รัฐบาลที่แล้ว โดยเฉพาะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ แม้ผมยังรอคอยให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ใช้เสรีภาพดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี สภาพการณ์ปัจจุบันของสื่อสะท้อนถึงสภาพการณ์ของประเทศเราในหลายๆด้านด้วยกัน คือ มีทั้งส่วนดีและส่วนที่ไม่ดี มีทั้งซื่อสัตย์และที่ฉ้อโกง มีเรื่องผลประโยชน์ของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งเพียรการแสวงหากำไร ในขณะที่สื่อขนาดเล็กลงมาพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูล

กรอบทางกฎหมายสำหรับสื่อวิทยุและโทรทัศน์ส่วนมากไม่มีระบบ เรามีผู้ให้บริการเคเบิลทีวีกว่า 500 ราย และสถานีวิทยุชุมชนหลายร้อยราย ที่ปฏิบัติการโดยผิดกฎหมายหรือโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? เป็นเพราะว่าในช่วงเวลา 9 ปีหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐบาลและรัฐสภาที่ผ่านมาไม่เคยสามารถจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติได้

หากท่านเพียงดูสภาพของกิจการวิทยุและโทรทัศน์และคูณอีกพันเท่า ก็จะเห็นภาพสิ่งท้าทายที่สลับซับซ้อนที่ประเทศของเราต้องเผชิญ ณ วันนี้

ท่านได้เชิญผมมาพูดคุยกับท่านในคืนนี้ ในหัวข้อ คิดเพื่อประเทศไทย – การบอกทิศทางของประเทศที่จะเดินไปข้างหน้า” หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่หน้าสนใจ

หัวข้อที่ท่านเสนอแนะว่าเป็นหน้าที่ของผมในฐานะนายกรัฐมนตรีที่จะต้องคิดดำเนิน การทุกอย่างและกำหนดทิศทางสำหรับประเทศที่มีประชากรกว่า 64 ล้านคน ภายในเวลาน้อยหว่า 12 เดือน ผมขอเรียนว่าเรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายของรัฐบาลชุดนี้ หรือที่จริงของรัฐบาลใดก็ตาม ที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อนในระยะเวลาอันสั้น

ความพร้อมของประชาชนทุกคนของประเทศใดประเทศหนึ่งในการที่จะรับผิดชอบต่อการ ปกครองชุมชนและรัฐของตนสะท้อนถึงภาวะความเติบโตทางการเมืองของประชาชาตินั้น หากท่านเอาใจใส่น้อยเพียงใด หรือท่านรู้สึกว่าเสียงของท่านมีความหมายน้อยเพียงใด สังคมก็จะมีความเติบโตทางการเมืองน้อยแค่นั้น และสังคมนั้นก็จะมีความเป็นธรรมน้อยลง

ดังนั้น เราควรจะหันมาประเมินประเทศของเราในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมาว่า เราเป็นประเทศที่มีพลวัตทางเศรษฐกิจมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ระหว่างปี พ.ศ.2508 ถึง พ.ศ.2539 ประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยเกินร้อยละ 7 ต่อปี หมายความว่าเราเป็นหนึ่งในสามประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด

เกือบ ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว เราได้มีรัฐบาลผสมที่มุ่งสร้างฉันทามติ แต่เป็นรัฐบาลที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและมีความยุ่งเหยิง ข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญย่อมจะเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายและนำไปปฏิบัติ นักการเมืองส่วนมากก็รวยไป

ท่ามกลางเงื่อนไขดังกล่าวมีจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญที่โดดเด่น 2 จุด คือ เหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2516 และเหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ.2534-2535 ในกรณีแรกเยาวชนของเราได้แสดงออกซึ่งความสำนึกทางการเมืองในระดับใหม่ที่ได้ รับการซึมซับโดยเร็วทั่วประเทศ

ในกรณีที่สองชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็วในกรุงเทพฯ ได้ดึงประเทศกลับมาสู่เส้นทางใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ตลอดช่วงเวลานี้ พลวัตทางเศรษฐกิจของเราได้สร้างความร่ำรวยเพิ่มเติมอย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ “แต่”และขอย้ำว่าเป็นคำ “แต่” ที่ใหญ่และสำคัญมาก การกระจายความร่ำรวยดังกล่าวไม่เท่าเทียมกันมาโดยตลอดและยังคงเป็นเช่นนั้น ในวันนี้ ที่จริงแล้วเมื่อคำนึงถึงขนาดและรายได้ต่อหัวของเราแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการกระจายรายได้ที่ไม่เทียมกันในอัตราที่สูงที่สุด ในโลกประเทศหนึ่งในโลก คนที่จนที่สุดร้อยละ 20 ของประชากรไทยทั้งหมดมีรายได้คิดเป็นร้อยละ 4.5 ของรายได้ของประชากรไทยทั้งหมด ขณะที่คนที่รวยที่สุดร้อยละ 20 มีรายได้คิดเป็นร้อยละ 55 ของรายได้ของประชากรไทยทั้งหมด

หากเรามีวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศในวันนี้ก็เพราะเรื่องนี้ เพราะโดยพื้นฐานแล้วการเมืองคือกลไก เพื่อที่สังคมจะสามารถตัดสินใจว่า “ใครจะได้อะไรบ้าง” และความร่ำรวยและผลประโยชน์ต่างๆของสังคมจะกระจายไปยังประชาชนในลักษณะใด

ดังนั้น สิ่งท้าทายทางการเมืองที่เรากำลังเผชิญอยู่ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา สิ่งท้าทายทางการเมืองที่เรากำลังเผชิญอยู่ พวกเราทั้ง 64 ล้านคน ได้สะสมมาเป็นทศวรรษ และในจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ผมได้กล่าวถึงคือ เมื่อปี พ.ศ.2516 และเมื่อปี พ.ศ.2535 ในแต่ละครั้งเราพยายามใช้วิธีการรุนแรงที่จะปรับระบบการเมืองของเรา และโดยรวมผมก็คิดว่า ในแต่ละครั้งเราประสบความสำเร็จ ในการรำมาซึ่งสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

นี่คือสิ่งท้าทายที่เราต้องเผชิญในวันนี้ ไม่มีรัฐบาลไหนที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการจัดการอย่างเป็นรูปธรรมกับความเหลี่ อมล้ำทางรายได้ที่ประเทศของเราต้องเผชิญอยู่ และผมเชื่อว่าพี่น้องส่วนมากที่อยู่ในชนบทจะไม่ยอมรับการละเลยในเรื่องนี้ อีกต่อไป

ในกรณีที่บางท่านได้ลืมไปแล้ว ผมขอเตือนว่าประเทศของเราเป็นหนี้พี่น้องในชนบทมากแค่ไหน ผลผลิตส่วนเกินที่เกษตรกรได้ผลิตในทศวรรษ 2510 และ 2520 ทำให้มีการสะสมเงินทุนในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางอุตสาหกรรมของเราต่อไป ผลผลิตนั้นได้สร้างอาคารสำนักงานและอาคารชุดที่สูงของเราที่ทำงานในโรงงาน และการให้การบริการในโรงแรมและร้านอาหารของเรา พวกเขาเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจเรา และพวกเขาไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม พวกเขาได้เอาหลังสู้ฟ้า และเอาหน้าสู้ดินมาเป็นเวลานานเกินไปแล้ว

ผลจึงขอเสนอว่า การขจัดช่องว่างทางรายได้ การขจัดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างเมืองกับชนบท จะต้องเป็นภารกิจอันดับแรกในวาระแห่งชาติ สำหรับกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ สำหรับพรรคการเมืองที่กำลังปรับตัวและปรับจุดยืนสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อ ไปสำหรับท่านผู้แทนสื่อทั้งหลายในการนำเสนอข้อมูลและการกระตุ้นหารือภายใน ประเทศ และสำหรับประชาชนชาวไทยทั้ง 64 ล้านคน

ทั้งนี้ เป็นที่น่าเสียดายว่าเราไม่มีประสบการณ์ของการมีกรอบนโยบายที่ใช้ปฏิบัติได้ และที่ยั่งยืนอันจะสามารถจัดการกับปัญหาเร่งด่วนนี้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งกรอบนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาได้ปฏิบัติ-การจ่ายเงินเพื่อกระตุ้นการบริ โภค ซ่อนค่าใช้จ่ายที่แท้จริงนอกงบประมาณ และการใช้ประโยชน์จากความนิยมทางการเมืองที่ได้มาเพื่อโค่นระบบการตรวจสอบ ถ่วงดุลที่ดีที่บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ในลักษณะที่แท้จริง หรือยั่งยืน

เราจำเป็นต้องคิดอีกครั้งหนึ่ง ผมต้องการให้พวกท่านได้รับทราบถึงแนวคิดของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งผมเห็นว่าประเด็นหลักที่เราต้องเผชิญ เราคงไม่สามารถกำจัดความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ที่ได้สะสมมาเป็นเวลาหลาย ทศวรรษภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน แต่เราสามารถพยายามวางรากฐานทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่จะทำให้ความไม่เท่าเทียมกันอย่างร้ายแรงนี้ได้รับการจัดการภายใน เวลาอันใกล้

เมื่อตอนเข้ารับตำแหน่ง ผมได้กำหนดวาระการปฏิรูปใน 4 ด้านหลักๆ ที่ล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ


- การปฏิรูปทางการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล
- การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ
- การขจัดช่องว่างทางรายได้ และ
- การนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา เรา มาดูเรื่องต่างๆ ดังกล่าวในรายละเอียดกันดีกว่า การปฏิรูปทางการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผลหมายความว่าภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญชั่วคราว จะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่การจัดการสำรวจประชามติและการจัดการเลือก ตั้งจน บัดนี้เราได้ดำเนินการตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ แต่ผมยังไม่พอใจเกี่ยวกับระดับของข้อมูลและการถกเถียงกันในสาธารณะเกี่ยวกับ เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญคือกฎหมายพื้นฐานซึ่งกำหนดว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ประชาชนทุกคนมีความรับผิดชอบและจะต้องได้รับอำนาจการได้รับข้อมูลเพื่อที่จะ ได้มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ ผมมีความตั้งใจที่จะผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและมีการถกเถียงกัน เพิ่มขึ้น

การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมายความว่าเราจะต้องขจัดความแตกแยกทาง การเมืองและนำความปรองดองและความยุติธรรมกลับคืนสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของเรา

ผมไม่คิดว่าความแตกแยกทางการเมืองจะสามารถแก้ไขได้จนหระทั่งมีการจัดการกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่อยู่เบื้องหลัง

ในส่วนของสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมไม่เคยมีภาพลวงว่าประเด็นนี้จะสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเราพิจารณาห้วงเวลายาวนานของการละเลยและการบีบคั้น ซึ่งเลวร้ายลงไปอีก จากนโยบายที่ใช้ความรุนแรง และประการที่สองจากเงื่อนไขสถานการณ์ของโลกที่ได้ช่วยหล่อเลี้ยงการฟื้นฟู แนวคิดทางศาสนาแบบอนุรักษ์นิยมเพื่อเป็นการป้องกันสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็น การโจมตีต่อความเชื่อทางศาสนา

การใช้ความรุนแรงที่มีพื้นฐานในหลักศาสนาที่ถูกบิดเบือนเป็นเรื่องที่จัดการได้ ยาก ผมเชื่อมั่นว่าไม่สามารถระงับได้โดยการกดดัน แต่ในเวลาเดียวกัน เหยื่อของการกระทำดังกล่าวก็ควรได้รับความยุติธรรม

ผมมีความตั้งใจที่จะดำเนินนโยบายสมานฉันท์ต่อไป และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นตลอดไปกับ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา

ผมได้กล่าวถึงนโยบายการปฏิรูปที่สำคัญประการที่สามคือ การจัดช่องว่างด้านรายได้ไปมากพอสมควรแล้วแต่องค์ประกอบที่จำเป็นคือการยึด หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นนโยบายการ พัฒนาหลักของรัฐบาล

สภาร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงมาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่า หลายประเทศจะได้นำแนวคิดของความยั่งยืนที่ฝังรากอยู่ในหลักปรัชญานี้มาปรับใช้ในไม่ช้านี้ ในความเป็นจริง ผมเชื่อว่า “การใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน” จะเป็นประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาโต้แย้งกันมากในโลกในช่วงทศวรรษข้างหน้า นี้ ดังนั้น ประเทศไทยควรได้รับการชมเชยในการเป็นผู้นำหลักปรัชญาดังกล่าวมาใช้เป็น ประเทศแรก ๆ ซึ่งในท้ายที่สุดจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด

นโยบายการปฏิรูปที่สำคัญประการที่สี่คือ “การนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา” ซึ่งรัฐบาลมีการดำเนินการที่รอบคอบ แต่เป็นไปอย่างมั่นคง

คุณทักษิณ ชินวัตร ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Time ว่า “การคอรัปชั่นจะไม่หมดไปจากประเทศไทย ด้วยเหตุว่าการคอรัปชั่นได้ฝังอยู่ในระบบเสียแล้ว” หากพวกเราคิดว่าคำกล่าวของ คุณทักษิณ เป็นจริงเราก็ไม่สมควรที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นคนไทยที่รักความเป็นธรรม

หากปราศจากหลักนิติธรรม สิ่งอื่นใดก็ไม่มีความหมาย เนื่องจากจะไม่มีความยุติธรรม ความเท่าเทียมกันและแน่นอนที่สุด ความเป็นประชาธิปไตย

พวกท่านหลายคนได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้ว่า ดำเนินการสืบสอบสวนกรณีการคอรัปชั่นและการใช้อำนาจในทางที่ผิดของบุคคลที่ ผิดในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีความเชื่องช้า บางท่านเรียกร้องให้มีการใช้อำนาจบริหารเพื่อลัดกระบวนการยุติธรรม แต่หากเรานำแนวดังกล่าวมาใช้ เราจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้หลักนิติธรรมได้อย่างไรและเมื่อใด

ผมเชื่อว่า เราสามารถคาดหวังผลที่เป็นรูปธรรมจาการสืบสวนสอบสวนได้ในอนาคตอันใกล้นี้ และผมเชื่อมั่นในคุณธรรมความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรมของเรา ขณะเดียวกัน เราก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อยกเครื่องกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับ ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ในภาคราชการ และการปฏิรูปตำรวจครั้งใหญ่ที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา

แม้ว่ารัฐบาลนี้จะได้เน้นการปฏิบัติตามวาระการปฏิรูปที่สำคัญใน 4 ด้านแต่ผมได้กล่าวตั้งแต่ต้นนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งว่า ผมจะให้ความสำคัญแก่ภาพในประเทศและภาพต่างประเทศอย่างสมดุล และในความเป็นจริงในประเทศไทยก็เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของภาพต่างประเทศ โดยมีบทบาทแข็งขันในการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศมาโดยตลอด เราต้องการให้หุ้นส่วนจากต่างประเทศมาร่วมมือกับเราในการกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประเทศดังที่ผมได้กล่าวข้างต้น เราต้องการประเทศเพื่อนบ้านของไทยให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุดคือหุ้นส่วนของเราในอาเซียน ปีนี้เป็นปีฉลองครบรอบ 40 ปี ของการก่อตั้งอาเซียนและเรากำลังยกร่างกฎบัตรสำหรับสมาคมของเราเป็นครั้งแรก โดยกฎบัตรดังกล่าวจะเป็นการแสดงออกถึงความคาดหวังของประชาชนในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ในเวลาเดียวกัน เรากำลังมุ่งไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยภายใน 8 ปี เราจะเป็นสมาคมที่มีการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเมือง และความมั่นคงอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เราจะเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายทางถนนและรถไฟจากตะวันออกสู่ตะวันตก จากเหนือสู่ใต้ โดยมีการเชื่อมโยงทางอากาศและทางทะเลที่ ปลอดภัย โดยเครือข่ายและความเชื่อมโยงดังกล่าวจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ด้านการท่อง เที่ยวและการค้า และเป็นพื้นฐานสำหรับความเจริญมั่งคั่งร่วมกัน แต่ในเวลาเดียวกันประชาชนของเราก็ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างเพียงพอ ซึ่งผมได้เน้นย้ำตลอดมาว่ารัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างเงื่อนไข ให้เรื่องนี้เป็นความจริง

ท่านผู้มีเกียรติ และเพื่อนนักข่าว ประเทศไทยที่รักของเราได้เดินทางมาถึงจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกจุด หนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเรา ผมกล้าบอกว่า จุดนี้จะเป็นจุดที่สำคัญกว่าอีก 2 จุดที่ผมได้กล่าวถึงแล้ว แต่ผมก็ยังเชื่อในประชาชนชาวไทยว่า ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกัน เราจะก้าวไปสู่สังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีความยุติธรรมมากขึ้น และมีความเม่าเทียมกันมากขึ้น

สุดท้ายนี้ ท่านประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้เคยกล่าวกับประชาชนชาวอเมริกันว่า “อย่าได้ถามว่าประเทศชาติให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่จงถามว่าท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติได้บ้าง” ซึ่งในวันนี้ผมขอกล่าวประโยคเดียวกันนี้กับท่าน


ขอบคุณครับ