“กรรมกรข่าว” สวัสดิการบนก้อนอิฐ

“กรรมกรข่าว” สวัสดิการบนก้อนอิฐ

เรียกร้องความเป็นธรรมกันมานานสำหรับสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐานของชีวิตนักข่าวไทยรุ่นแล้ว รุ่นเล่า กับภาพที่เห็นจนชินตา ว่าราคาของนักข่าวในยามที่รุ่งเรื่องและร่วงโรยแตกต่างกันมากเพียงใด

ในยามหนุ่มสาวคนทำงานหามรุ่ง ขุดค้นเสาะแสวงหา  มุ่งเจาะข่าวทุจริตโครงการนับโครงการนับพันล้านบาท  เพื่อทำตามปณิธานวิชาชีพ ทำหน้าที่เรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้คนมากมายอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย

หากแต่ในยามที่สังขารร่วงโรย นักข่าวผู้ปลดระวางก็เริ่มเจ็บป่วย  หมดราคา หลายคนยอมจำนนไม่เคยขอเรียกร้องใด ๆ ให้ตัวเองทำได้เพียงแค่ยอมก้มหน้ามุมเล็ก ๆ หลบหลีกกจากผู้คน  เยียวยาอาการป่วยตามมีตามเกิดเท่าที่จะทำได้เท่านั้น มุมมองจากนักข่าวหลายสำนักจึงเป็นเสียงสะท้อนที่คาดหวังตะโกนก้องไปยัง  ผู้บริหารสื่อค่ายต่าง ๆ และองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่พวกเขาฝากชีวิตทุ่มเททำงานให้เข้าถึงความ “กังวลใจ” ของคนข่าววันนี้บ้าง

ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ย่านประชาชื่นรายหนึ่งเปิดใจว่า  ทุกวันนี้บริษัทมีค่ารถ  ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  และประกันชีวิตหมู่  ให้เป็นสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐาน  ซึ่งเมื่อการพูดคุยกันในแวดวงข่าวทีไร  ก็แทบนึกไม่ออกว่าชีวิตหลังเกษียณ  หรือในยามที่เจ็บป่วย  ประสบอุบัติเหตุ  ทำงานไม่ได้กระทันหัน  ถ้าแค่มีเพียงเงินก้อนสำรองเลี้ยงชีพกรณีหากออกจากงานที่ทำงานมาสัก 10-20 ปี จะมีวงเงินได้รับประมาณ 2 แสนบาท จะนำไปเลี้ยงชีวิตตัวเอง  และครอบครัวให้อยู่รอดในระยะยาวได้อย่างไร

“เรานึกไม่ออกว่าเงินเท่านี้  จะเลี้ยงครอบครัวได้สักกี่วัน  นักข่าวทุกวันนี้ก็เลยทำงานเหมือนหนูถีบจักรยานไปวัน ๆ มองไม่เห็นชีวิตที่มีความมั่นคงเลย เวลาคุยกันเราก็พูดถึงคนในวงการที่เจ็บป่วยในช่วงอายุที่มีไฟ  หรือบางคนแก่ตัวสังขารไม่ดี  ก็ต้องยอมพ่ายแพ้เก็บข้าวของออกจากวงการไปทีละคน  ไม่มีใครที่จะคิดการใหม่มาช่วยสร้างสวัสดิการให้กับนักข่าวเลย  ทั้งที่เราเรียกร้องสิทธิให้คนอื่นมามากต่อมาก ” นักข่าวลูกหนึ่งเล่าถึงสิ่งอึดอัดในใจ

เขายังเห็นด้วยว่า วันนี้องค์กรข่าวควรจะมี “กองทุน” สักหนึ่งองค์กรเพื่อช่วยเหลือกันในยามตกทุกได้ยาก เหมือนเช่น “เครือข่ายศิลปิน” แม้กระทั้งศิลปินตลก ก็ยังสามารถผลักดันจนเกิดองค์กรดูแลกันเองขึ้นมาได้ ความหวังหนึ่งเดียวจึงอยู่ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยที่เขาเห็นว่าควรเร่งสร้าง  กิจกรรมให้นักข่าวเกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด


โอดได้แค่สิทธิประกันสังคม

ผู้สื่อข่าวนสพ.ย่านวิภาวดีฯอีกรายบอกว่าสิทธิสวัสดิการที่ได้รับทุกวันนี้มีเพียงสิทธิประกันสังคมเท่านั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพก็ไม่มีถือเป็นการทำงานที่มองไม่เห็นอนาคตและไม่มีหลักประกันรายได้ใด ๆ อีกทั้งในช่วงการทำข่าวดึกดื่นในชั่วโมงอันตรายที่มีม๊อบปะทะกัน  องค์กรไม่เคยพูดถึงพี่เลี้ยง  หรือค่าสียงภัยจึงเห็นว่าประครองตนเองให้อยู่รอดด้วยเงินเดือนที่น้อยนิด  และไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ  ถือเป็นเรื่องที่บั่นทอนกำลังใจของคนข่าวในระยะยาว

ส่วนเรื่องของการรักษาพยาบาลที่จะต้องใช้สิทธิประกันสังคมนั้นปรากกว่าช่วงหลัง ๆ นี้ นักข่าวคนนี้ยืนยันว่า  ไม่สามารถที่จะเลือกสถานพยาบาลเพื่อไปรักษาในสถานที่สะดวกได้เอง เพราะทางบริษัทจะเป็นผู้เลือกให้ทุกครั้งไป

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์การเมืองอีกราย บอกว่า การทำข่าวการเมืองในยุคนี้ต้องมีความเสี่ยงมากมาย  และจะต้องมีต้นทุนทางการเดินทางมากขึ้นเพราะมีการชุมนุมในช่วงสถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบบ่อยขึ้น  สวัสดิการที่องค์กรมีให้ก็มีเพียงประกันสังคม  และประกันอุบัติเหตุวงเงิน 2 แสนบาทเท่านั้น

“เงินสะสมสำรองเลี้ยงชีพผมไม่รู้จัก  แม่ว่าเราจะมีเงินประกันชีวิตจากอุบัติเหตุคือเบิกได้ครั้งละ 500 บาท (กรณีผู้ป่วยนอก) และกรณีเป็นคนไข้ในไม่เกิน 20,000 บาท ก็ถือว่าดีขึ้นมากหน่อย  แต่ปัญหาก็คือเงินเดือนเราต่ำมาก และค่าโทรศัพท์ 500 บาท ที่ได้รับต่อเดือน  ก็ถือว่าต่ำเกินไป  ไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริงเลย ” เขาระบุ

ด้านผู้สื่อข่าวอาวุโส นสพ.เศรษฐกิจ บอกว่า สวัสดิการนักข่าวในเครือฯ มีประกันสังคม และสำรองเลี้ยงชีพ ไม่มีประกันชีวิต  หรือประกันสุขภาพใด ๆ มีเพียงแค่การเบิกทำฟันได้ปีละ 3,000 บาท

คำถามก็คือ การทำฟันไม่ได้มีการเบิกจ่ายบ่อยเท่ากับเรื่องสุขภาพการเจ็บป่วย อีกทั้งการรวมตัวของคณะกรรมการสหภาพแรงงานก็เป็นแบบหลวม ๆ ไม่สามารถต่อรองสิทธิ์ใด ๆได้ ที่สำคัญมีแนวโน้มตัวเลขอายุเฉลี่ยของนักข่าวที่น่าเป็นห่วง เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ก็ย่อมหมายถึงการเจ็บป่วยที่ย่อมร่วงโรยไปตามวัย ค่าบำรุงสุขภาพ และรักษาพยาบาลก็ย่อมมาเยือนหลายต่อหลายคนมากขึ้น

“การที่บอกว่าไม่มีกำไรอยู่ตลอด  ถือเป็นการเอาเปรียบกันเกินไป เพราะองค์กรจะอยู่ได้อย่างไรท้าเป็นแบบนั้นอยู่ตลอด  เราอยากให้มีการลงทุนโดยให้คุณค่าของคนทำข่าว ให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงของชีวิตด้วย ไม่ควรมองข้างอย่างทุกวันนี้ ” เขาระบุ

#


ข้อมูลจากจุลสารราชดำเนินเสวนา  เล่มที่ 18