ปรีชา พบสุข

นักหนังสือพิมพ์ภูธรที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของสื่อ

อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์

แบบอย่างของนักหนังสือพิมพ์ที่ยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีอุดมการณ์ที่มุ่งมั่นในการปกป้องรักษาผลประโยชน์สาธารณะ และยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพสื่อนั้น หลายต่อหลายคนอาจเป็นที่รู้จัก แต่นักต่อสู้ที่เป็นตัวแทนของนักหนังสือพิมพ์ต่างจังหวัดหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคงมีไม่มาก แต่ชื่อของลุงปรีชา พบสุข อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางแสนน่าจะได้รับการจัดขึ้นทำเนียบของสื่อนักต่อสู้ เพราะต้องฟันฝ่าก้าวผ่านมรสุมต่างๆ โดยเฉพาะการต่อสู้กับยุคเผด็จการเพียงเพื่อให้หนังสือพิมพ์ได้วางจำหน่ายบนแผง แม้วัยจะล่วงเข้าสู่ปีที่ 81 แต่เขาก็ยังยืนหยัดเป็นนักเขียนฝให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอีก 2 -3 ฉบับ ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของนักหนัง อพิมพ์ที่ควรจะได้รับคำชื่นชม

ลุงปรีชา เล่าว่า เริ่มต้นชีวิตการทำงานนักข่าวเมื่อปี 2495 เริ่มจากเป็นนักข่าวท้องถิ่น ก่อนที่จะผันตัวเองขึ้นมาเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางแสงราย 5 วัน ในปี 2498 พร้อมกับทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ส่วนกลางในกรุงเทพที่ชื่อว่าพิมพ์ไทยด้วย จึงนับได้ว่าเป๋นจุดเริ่มต้นในอาชีพนักหนังสือพิมพ์อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นยุคเผด็จการครองเมือง โดยเฉพาะสมัยที่จอมพลสฤษ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้หนังสือพิมพ์ต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างมาก การทำหน้าที่ของสื่อจึงต้องควบคู่ไปกับการปกป้องและเรียกร้องสิทธิเสรีภาพด้วย

การทำข่าวของหนังสือพิมพ์ในต่างจังหวัดนั้นต้องใช้ความสามารถสูงมาก เพราะเครื่องมือติดต่อสื่อสารใม่ได้ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน ข่าวสารที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ซึ่งห่างไกลระหว่างตัวจังหวัดกับอำเภอ การเนทางเป็นไปอย่างยากลำบาก ที่ทำได้ต้องอาศัยรถของแหล่งข่าว ส่วนราชการหรือตำรวจ ทำให้นักข่าวต้องวางตัวให้ดี ยิ่งเป็นนักข่าวที่ต้องทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง การทำงานยิ่งยาก ไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือแฟกซ์เหมือนยุคนี้ คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก การส่งข่าวในกรณีเร่งด่วนจากต่างจังหวัดเข้าสู่กรุงเทพฯจึงต้องอาศัยข่ายสายโทรศัพท์ท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งจังหวัดชลบุรีมีเพียง คู่สาย จึงต้องยอมเสียสตางค์เหมาจองคิวเพื่อล็อคคู่สาย โทรศัพท์กันไว้ทีเดียว หากเป็นภาวะปกติก็ใช้วิธีฝากส่งผ่านมากับรถแท็กซี่ที่เข้ากรุงเทพ ค่าจ้างซองละ 20 บาท และมาปรับเพิ่มเป็น 40 บาทหลังปี 2500 แล้ว

นักข่าวในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันจากหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว การทำข่าวในอดีตจึงมีความยากลำ บาก เพราะการเดินทางติดต่อระหว่างอำเภอนั้นเป็นไปด้วยความลำบาก ระยะ ทางห่างไกลมาก และรถที่จะออกมีกำหนดช่วงเวลาในแต่ละวัน เพราะข่าวไม่ได้เกิดที่อำเภอ ที่เกิดขึ้นได้ทุหนแห่ง ทำให้นักข่าวต้องพยายามสร้างความสนิทสนมกับแหล่งข่าว ในยุคที่เครื่องมือสื่อสารยังไม่พัฒนา การหาข่าวจึงต้องใช้วิธีการไปดักรอตำรวจเดินสารที่จะเดินทางนำข้อมูลบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มารายงานที่กองกำกับการเมื่อได้ข้อมูลก็ต้องใช้วิธีจดเพราะไม่มีเครื่องซีรอกซ์ ไม่มีที่พิมพ์ ส่วนการหาภาพข่าวยิ่งลำบาก ต้องใช้วิธีการฝากกล้องไว้กับเจ้าหน้าที่หรือแหล่งข่าวที่เราสนิท

การทำข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในยุคอดีตนั้น แม้จะมีข้อจำกัดอยู่ในวงแคบ เพราะบ้านเมืองยังไม่เจริญมาก จุดหนึ่งที่ทำให้เกิดความคิดของการทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพราะได้เล็งเห็นว่าแม้จะอยู่ในสังคมที่แคบ แต่คนในสังคมก็ควรจะรู้ความเคลื่อนไหวว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะผู้ที่เข้ามาปกครองบ้านเมืองมีลักษณะอย่างไร จึงเป็นที่มาของหนังสือพิมพ์บางแสนราย 5 วัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ขนาดแทบลอยด์ความหนา 20 หน้า จำหน่ายใสนราคาฉบับละ 3 บาทเท่านั้น<ซึ่งรายได้หลักมาจากโฆษณาเล็กๆน้อยๆ ในขณะที่ต้นทุนกระดาษผลิตหนังสือพิมพ์ไม่สูงมากนัก จึงทำให้ธุรกิจหนัง สือพิมพ์สามารถยืนหยัดอยู่ได้ แต่ต้นทุนที่สูงคือกระบวนการจัดพิมพ์ต้องเดินทางเพื่อนำต้นฉบับมาส่งพิมพ์ที่โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บางลำพู กรุงเทพ ใช้เวลาในการพิมพ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ พิมพ์ครั้งละ 1,000 ฉบับ

มีข้อน่าสังเกตุว่าการทำข่าวท้องถิ่นในอดีตกับปัจจุบันจะแตกต่างกันมาก เพราะนักข่าวท้องถิ่นจะต้องต่อ

สู้กับกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ นักข่าวที่ถูกชกต่อยฟ้องร้องมีมาก มีคดีความที่ถูกฟ้องร้องรวมกว่า 21 คดี ไม่ว่าจะเป็นคดีหมิ่นประมาทนักการเมืองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน ชาวบ้านตลอดจนเจ้าของซ่องโสเภณี ซึ่งเป็นผลจากการนำเสนอข่าวที่เข้าไปตรวจสอบการทำหน้าที่การทำงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ ส่วนที่ตกลงไม่ได้ก็จะถูกปรับ บางคดีถูกปรับ 10 บาท หรือเจรจาให้ลงข้อความขอโทษก็มีหากเกิดจากการนำเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อน แต่พอเปลี่ยนมายุคที่คุณอานันทน์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีก็มีการแก้ไขกำหมายหมิ่นประมาท เพิ่มบทสูงขึ้นเป็นหมื่นเป็นแสนทีเดียว

ต้องสู้กับยุคเผด็จการที่สั่งปิดหนังสือพิมพ์

สำหรับประสบการณ์ที่ตื่นเต้นมากที่สุดเรื่องหนึ่งที่จำได้ คือการต่อสู้เพื่อให้ได้เปิดหนังสือพิมพ์ ของตัวเอจำได้ว่าเป็นช่วงที่มีการปฏิรูป (ปฏิวัติ)ในสมัยของพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2519 จำได้ว่ามีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศ ดังนั้นการออกหนังสือพิมพ์จึงต้องได้รับอนุญาตจากทางกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะ กรรมการมที่ทางคณะปฏิวัติได้ตั้งขึ้นจะเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี่และจะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางรายการวิทยุ ทำให้ต้องตั้งใจรอฟังอยู่ทุกวัน จนใกล้ครบกำหนดอีก 2 วันที่หนังสือพิมพ์บางแสนจะต้องออกวางจำหน่ายก็ยังไม่มีการออกประกาศเสียที เมื่อทนไม่ไหว จึงได้ตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพ บุกมาที่สนามเสือป่าเพื่อทวงถามในเรื่องนี้ด้วยตัวเอง

นับว่าเป็นความโชคดีที่เลขานุการคณะปฏิรูปในขณะนั้นคือพลเรือเอกกวี สิงหะ เคยเป็นผู้บังคับบัญชามาก่อนเมื่อครั้งที่ยังรับราชการทหาร เรือ จึงช่วยเป็นใบเบิกทางให้เข้าไปสอบถามจนได้ความกระจ่างว่าต้นเหตุเกิดจากหนังสือพิมพ์บางแสนมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเรื่องประเทศจีนมาก เพราะประเทศจีนเป็นคอมมิวนิสต์และยังไม่ได้มีการเปิดสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศไทย จึงต้องถูกจับตาเป็นพิเศษ จากนั้นจึงได้รับอนุญาตประกาศให้เปิดหนังสือพิมพ์บางแสนได้อีกครั้ง พร้อมกับถูกขอร้องให้ลดการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวกับประเทศจีนลงบ้าง

ตลอดระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ในอาชีพนักหนังสือพิมพ์นั้น ลุงปรีชาบอกว่าต้องต่อสู้กับคำสั่งของคณะปฎิวัติฉบับที่ 17 และ ฉบับที่ 42 มาโดยตลอด ต่อสู้มาทุกยุคทุกสมัยเพื่อเรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อ บางยุคก็สู้ได้ บางยุคก็สู้ไม่ได้ ไม่เคยท้อ พยายยามสู้เรื่อยมาจนกระทั่งสามารถประกาศยกเลิกไปได้ แต่สิ่งที่จะต้องต่อสู่หลังจากนี้ คือยุคปัจจุบันที่สื่อจะต้องร่วมกันต่อสู้ให้กับพระราชบัญยัติจดแจ้งการพิมพ์ 2550 ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 ที่ผ่านมา พบว่า ยังมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อในการทำหน้าที่ โดยเฉพาะข้อ กำหนดที่ว่า การขออนุญาติดำเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์จะต้องยื่นเรื่องเพื่อขอจดแจ้งมิเช่นนั้นจะมีความผิดได้รับโทษทางแพ่งและอาญา และหาดทำผิดอย่างต่อเนื่องจะต้องถูกลงโทษเป็นรายวันอีกด้วย และการขอจะต้องได้รับอนุญาติก่อนจึงจะดำเนินการได้

 พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์เป็นสิ่งที่สื่อยุคนี้จะต้องร่วมกันต่อสู้กับความคิดเห็น เพราะหากเสรีภาพที่ต้องขออนุญาติจากใคร ก็ถือว่าไม่ใช่เสรีภาพที่ ดังนั้นจึงควรกำหนดให้แค่จดแจ้งเท่านั้น ไม่ต้องได้รับอนุญาติให้สามารรถออก นสพ.ได้ เพื่อให้รู้ว่าใครจะต้องรับผิดชอบเมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องขออนุญาติก่อน   ลุงปรีชากล่าว

ผู้ริเริ่มและร่วมร่าง กรอบจริยธรรมของสื่อ

ในเรื่องของจริยธรรมของวิชาชีพหนังสือพิมพ์นั้น ลุงปรีชาเล่าด้วยความภาคภูมิใจว่าเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับนักหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นที่มีความคิดริเริ่มในการสร้างและวางรากฐานของกรอบจริยธรรมของวิชาชีพสื่อหนังสือ พิมพ์ ตั้งแต่ก่อนเดือน ส.ค. 2518 จนออกมาเป็นข้อกำหนดของบทที่ว่าด้วยจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ รวม 7 ข้อ ก่อนที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจะขยายผลออกมาเป็น 30 ข้อ

ลุงปรีชา ให้ความเห็นว่า นักหนังสือพิมพ์สมัยเก่ามีความเป็นสภาพบุรุษมาก มีจิตวิญญาณในการทำหน้า ที่ของสื่อเพื่อรักษาผลประโยชขน์สาธารณะ เป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก ทำให้เขาทำหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจมาก ทำให้การวางตัวเมื่อเข้าสังคมมีความระมัดระวัง แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าอาจมีกลุ่มนักข่าวที่แอบแฝงเข้ามาใช้วิชาชีพสื่อในการแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งมีจำนวนน้อย ซึ่งคนเหล่านี้มักจะถูกเพ่งเล็งจากนักข่าวด้วยกันเอง และถูกรังเกียจ แม้แต่การนำเสนอข่าวที่ผิดพลาดก็จะมีการแก้ไขเองด้วย

อย่างไรก็ตาม ลุงปรีชา ยอมรับว่ามีกลุ่มที่ใช้วิชาชีพของสื่อในการแสวงหาผลประโยชน์ ส่งผลให้การทำอาทชีพนักข่าวยขาดความน่าเชื่อถือ แม้แต่การติดสติกเกอร์ชื่อหนังสือพิมพ์ไว้ท้ายรถหรือคำว่านักข่าวก็เป็นสิ่งที่ไม่ ถูกต้อง ยกเว้นสายส่งหนังสือพิมพ์เท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการแสดงอิทธิพลของนักข่าว ทำให้ตำรวจไม่กล้าเรียกจับ แม้แต่การไป หรือการไปกินข้าวกับแหล่งข่าวยังต้องระวังว่าเป็นช่วงเทศกาลหรือไม่

สิ่งสำคัญที่ลุงปรีชาฝากทิ้งท้ายให้กับนักข่าวรุ่นหลังๆว่า คนที่ทำอาชีพนักข่าวต้องมีจิตวิญญาณในการทำหน้าเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อผู้บริโภค นั่นก็คือการขายความจริง ยิ่งอยู่ในยุคที่โลกของการสื่อสารเจริญ ก้าวหน้า การทำข่าวให้รอบด้านจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องไปบ้างก็เพราะยังขาดจริยธรรม จึงขอให้คนที่จะต้องทำหน้าที่ของสื่อได้พึงตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่า หากผู้บริโภคสื่อไม่ได้รับความจริงทั้งหมด เท่ากับเป็นการปิดกั้นการรับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นในยุคที่การสื่อสารไร้พรหมแดนดังเช่นปัจจุบัน

  จริยธรรมเป็นเรื่องของสามัญสำนึกของแต่ละบุคคล อะไรที่ถูกที่ควรจะรู้อยู่ที่ตัวเอง ทุกอย่างจึงอยู่ที่สามัญสำนึก เพราะตัวเองจะรู้ดีที่สุดว่าอะไรที่ถูกที่ควร นั่นก็คือจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นสื่งที่ผมให้ความสำคัยและเคร่งครัดมากในเรื่องเหล่านี้มาก   ลุงปรีชากล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ให้ทุกคนได้ขบคิดกัน