อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์
น้าเต็ม หรือ พี่เต็ม ชื่อนี้อาจะเป็นที่คุ้นเคยของบรรดาเพื่อนพ้องพี่น้องนักข่าวและข้าราชการประจำกระทรวงมหาดไทยในอดีต ชื่อจริงของเขาก็คือ เต็มศักดิ์ ไตรโสภณ เป็นนักข่าวที่ใช้เวลาเกือบค่อนชีวิตโลดแล่นอยู่ในแวดวงการหนังสือพิมพ์กว่า
44 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจอำลาละทิ้งจากวงการสื่อไปอย่างเป็นการถาวรเมื่อปี พ.ศ.2547 ที่ผ่านมา ในวัย 67 ปี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของนักสื่อสารมวลชนที่ทำงานอย่างทุ่มเท มุ่งมั่นและตั้งใจจริง ยึดมั่นในอุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เป็นอีกแบบของการวางตัวของนักข่าวเพื่อนักข่าวรุ่นหลังๆไม่ควรพลาดที่จะได้มีโอกาศในการเรียนรู้น้าเต็ม เล่าให้ฟังว่าเริ่มเข้าสู่อาชีพนักข่าวตั้งแต่ปี 2503 ประจำหนังสือพิมพ์จีนระยะหนึ่ง ก่อนจะผันตัว เองมาอยู่หนังสือพิมพ์บางกอกเวิลด์ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับภาษากฤษ และปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเป็นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ การทำงานในขณะนั้นต้องรับผิดชอบงานข่าวหลายสายงาน แต่งานหลักจะเน้นบกระทรวงมหาด ไทย ซึ่งในอดีตต้องรับผิดชอบงานหนักมาก ทั้งงานที่เกี่ยวกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรมแรงงานและกรมตำรวจก่อนที่จะถูกแยกออกไป โดยเฉพาะการทำงานในช่วงปี 2518 มีการเรียกร้องเรื่องของแรง งานและกลุ่มสหภาพแรงงานได้นัดประท้วงกันไปทั่วและยังได้และลุกลามเกิดขึ้นทุกแห่งหน มีการนัดชุมนุมกันข้ามวันข้ามคืน แต่ละจุดของโรงงานตั้งอยู่ไกลถึงนอกเมือง การเดินทางจึงค่อนข้างลำบากมาก
ข่าวหายาก แต่ภาคภูมิใจเมื่อได้ลงตีพิมพ์
การทำงานของนักข่าวในสมัยก่อน นักข่าวคนหนึ่งต้องทำข่าวได้ทุกสาย เพราะจำนวนนักข่าวของหนังสือ พิมพ์แต่ละฉบับจะมีไม่มาก การหาข่าวก็ทำได้ยากและลำบากมาก เพราะหน่วยงานราชการในสมัยก่อน จะไม่มีฝ่ายประ ชาสัมพันธ์ที่จะให้ข้อมูลหรือข่าวเผยแพร่เหมือนในปัจจุบัน ดังนั้นผลงานข่าวดีๆสักชิ้นที่นักข่าวแต่ละคนสามารถหามาได้และได้รับการตีพิมพ์ลงบนหน้าหนังสือพิมพ์จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจได้มากที่สุด
การหาข่าวในสมัยก่อนทำได้ยากมาก ใครได้ข่าวมาสักชิ้นหนึ่งจะถือว่ามีค่ามาก แต่ละข่าวที่ได้ลงตี พิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์จึงเป็นความภาคภูมิใจมากที่สุด แต่ข่าวในปัจจุบันหาง่ายกว่า เพราะหน่วยราชการในสมัยก่อนไม่มีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ในขณะที่หน่วยราชการระดับกรม กอง มีการแข่งกันทำข่าวประชาสัมพันธ์กันมาก น้าเต็มกล่าว
น้าเต็มยอมรับว่า การที่ต้องทำงานข่าวประจำในสายงานกระทรวงมหาดไทยมานานหลายสิบปีนั้น ทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยของบรรดาข้าราชการทั้งหลาย หลายคนทำงานข่าวมาตั้งแต่รุ่นพ่อเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยจน เปลี่ยผ่านมาถึงรุ่นลูก ข้าราชการหลายคนรู้จักตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการใหม่ๆจนมีตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับที่สูงขึ้นมา ข้าราชการหลายต่อหลายคนอาจให้ความเกรงใจเรียกพี่บ้าง น้าบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเหนือใคร สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการวางตัว ต้องไม่ถือตัว และให้เกียรติข้าราชการที่เป็นผู้ใหญ่อยู่เสมอแม้ว่าวัยวุฒิจะน้อยกว่าก็ตาม การวางตัวของนักข่าวที่ดีก็ต้องรู้จักถ่อมตัวและทำให้เป็นนิสัย ต้องไม่คิดว่าเป็นนักข่าวแล้วงใหญ่โตหรือมีอภิสิทธิ์เหนือใครได้
สำหรับเทคนิคการที่จะทำให้แหล่งข่าว หรือข้าราชการให้ความไว้วางใจได้นั้น ยอมรับว่าต้องใช้เวลานานมาก หรืออาจคิดเป็น 1 ใน 5 ของระยะเวลาในการทำงานทั้งหมด เพราะความที่เห็นหน้าค่าตากันมาจนเริ่มเกิดความคุ้นเคยสิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมก็ถือ แหล่งข่าวไม่ได้มาจากรัฐมนตรีหรือข้าราชการผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ข้าราชการในระดับผู้อำนวย การ หัวหน้าแผนกจะมีข้อมูลบางเรื่องรู้รายละเอียดมากกว่าในฐานะที่เป็นคนทำงาน ดังนั้นต้องเข้าหาแหล่งข่าวเหล่านี้เพื่อได้ข้อมูลและข้อเท็จจริง
นักข่าวต้องขยัน ซื่อสัตย์ ไม่รับสินบน
นอกจากนี้ น้าเต็มยังได้เล่าย้อนหลังเมื่อครั้งอดีตว่า เคยถูกนักการเมืองเข้ามาถามว่าชีวิตลำบากหรือไม่ ซึ่งเป็นนัยที่เข้าใจได้ทันทีว่า คงจะเสนอผลประโยชน์อะไรบางอย่างให้ รู้สึกได้ทันทีในตอนนั้นว่าหน้าร้อนวูบขึ้นมาทันที แต่ก็ตอบกลับไปตรงๆว่า เราไม่ลำบากอะไร เพราะโรงพิมพ์ให้เงินเดือนที่ทำให้เราอยู่ได้ หลังจากนั้นปรากฎว่านักการเมืองคนนี้มีอะไรก็มักจะเข้ามาปรึกษาหารือพูดคุยกันตลอ ด ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวและเอกสารลับเรื่องสำคัญๆอยู่บ่อยครั้ง จากจุดนี้แสดงให้เห็นว่า การวางตัวของนักข่าวแต่ละคนนั้นจะมีผลต่อการประเมินของแหล่ง ข่าว หากนักข่าวรู้จักวางตัวดีก็จะเกิดผลดีตามมานั่นเอง
อีกตัวอย่างที่ยังพอจำได้ มีครั้งหนึ่งเป็นกรณีที่เลขานุการของรัฐมนตรีคนหนึ่งเดินทางไปต่างประเทศและได้ซื้อนาฬิการาคาแพงมาฝากให้กับนักข่าว และเพื่อนนักข่าจากสายกระทรวงอื่นก็นำมาให้ แต่ก็ได้ปฎิเสธและไม่รับ ปรากฏว่าหลังจากนั้นแหล่งข่าวคนนี้มีข่าวอะไรมักจะมาบอกเล่าให้ฟังก่อนเสมอ ซึ่งไม่รู้ว่าการปฏิเสธไม่รับสิน
บนหรือของมีค่าจากแหล่งข่าวจะทำให้เกิดผลดีที่ตามมาในการทำงานเช่นนี้
สิ่งที่อยากฝากไปถึงนักข่าวรุ่นหลัง ทุกคนและทุกสายงานข่าวได้จำไว้เป็นตัวอย่างก็คือ หากนักข่าวที่ไปรับสินบนหรือมีผลประโยชน์กับแหล่งข่าวมักจะถูกแหล่งข่าวคนนั้นดูถูกเหยียดหยาม ไม่ให้เกียรติและไม่เกรงใจ จากตัวอย่างหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงก็คือ มีนักข่าวคนหนึ่งเมื่อถามคำถามกับรัฐมนตรีท่านหนึ่ง มักจะถูกดุและต่อว่าอยู่เสมอ พูดจากแบบไม่ให้เกียรติ ไม่เกรงใจและไม่ไว้หน้า จนเกิดความสงสัยและได้ข้อสรุปว่า นักข่าวคนนี้เมื่อมีงานส่วนตัว งานวันเกิดตัวเองหรือวันเกิดลูกมักจะไปขอของขวัญจากรัฐมนตรีท่านนี้นี่ เอง โดยเฉพาะในสมัยก่อนนักข่าวมีจำนวนไม่มาก นักข่าวที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ก็มีอยู่บ้าง บางคนทำจนติดเป็นนิสัยตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานจนเติบโตมีตำแหน่งใหญ่โต บางคนก็ใช้วิชาโจรในการลักลอบขโมยดูข้อมูล ใช้ทุกวิถีทางในการให้ได้มาซึ่งข่าวก็มี
นอกจากนี้ การทำงานข่าวจะต้องเจอกับแหล่งข่าวหรือนักการเมืองที่มีอุปนิสัยที่แตกต่างกันไป บางคนอาจพูด จาเสียงดัง เสียงใหญ่มักใช้คำในลักษณะข่มขู่ให้นักข่าวเกิดควาเมกรงกลัว หรืออยามโมโหก็อาจด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคายหรือไร้มารยาท สิ่งเหล่านี้นักข่าวต้องอดทนและต้องตั้งสติในการตั้งคำถาม ไม่ควรใช้คำถามที่เหมือนเป็นยั่วยุให้เกิดแรงโมโหทเพิ่มมากขึ้น เพราะจะทำให้ถูกด่าและไม่ได้ข่าวอีกด้วย แต่หากรู้จักตั้งคำถามในลักษณะของการแสดงความเห็นใจแทนก็อาจได้คำตอบหรือประเด็นข่าวใหญ่ได้
หลักปฏิบัติของนักข่าวต้องจำไว้เสมอว่ามีเรื่องหรือประเด็นอะไรที่จะต้องทำข่าว หรือวันใดจะมีประชุมอะไรเพื่อจะได้ติดตามไปทำข่าวได้ ข้อมูลต่างๆต้องจดจำไว้เสมอ แต่ส่วนตัวเวลาทำข่าวจะไม่ค่อยจด แต่จะชอบจำและใช้วิธีโทรศัพท์ส่งข่าว ซึ่งข้อมูลจะตรงกับข้อเท็จจริงตลอดซึ่งเป็นพื้นฐานการทำงานเฉพาะบุคคล ไม่มีการจัดเก็บเป็นล์ข้อมูล แต่จะมีสมุดจดข่าวเก่าๆที่ไว้ติดตัวเมื่อต้องการค้นหาข้อมูลก็นำมารื้อดู แต่ส่วนใหญ่จะจำได้มากกว่าว่าข่าวแต่ละเรื่องมีความเป็นมาอย่างไร
สิ่งที่อยากจะฝากบอกไปถึงนักข่าวรุ่นหลังว่าจะต้องรู้จักถ่อนตัว ขยัน แม้จะไม่ฉลาด ขาดไหวพริบ แต่ต้องขยันในการติดตามงานอยู่ตลอดเวลา ให้คิดเสียว่าหากขาดงานวันเดียวจะทำให้โง่ไปหนึ่งอาทิตย์ ทำให้ไม่รู้เรื่องหลายอย่าง ซึ่งที่ผ่านมา ผมทำงานไม่เคยลาพักร้อนเลย น้าเต็มเล่าให้ฟัง
สุดท้ายนี้ น้าเต็มบอกว่า นักข่าวที่ดีต้องขยัน อดทนและต้องซื่อสัตย์ในวิชาชีพเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ประจำตัว ควรจะต้องระวังและวางตัวให้ดี ไม่ควรใช้วิชาชีพนักข่าวเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์หรือทำมาหากิน แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ปฏิเสธได้ยาก มีอยู่และเกิดขึ้นในทุกยุคสมัย แต่รูปแบบและวิธีการที่อาจแตกต่างกันไป หนังสือพิมพ์บางฉบับทึกหน้าเป็นเงินได้หมด เขียนโดยมีการจ่ายค่าจ้างตอบแทนพิเศษให้ หรือจ้างให้เขียน อยากให้สิ่งเหล่านี้หมดไปจากวงการหนังสือพิมพ์เสียที